29/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 5


มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )

ข้อนี้สุดท้ายละครับ แต่ไม่ใช่ว่าข้อดีของการเป็น CPA จะมีแค่นี้นะ!



7. โอกาสในการได้มาซึ่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอันล้ำค่า  CPA License ! ! !

Cr. https://www.shutterstock.com/image-illustration/cpa-certified-public-accountant-word-cloud-575389123?src=Ux7FtAbFxiSfXWwLkKUgDg-2-7



ครับหลายคนอาจงงๆว่า อ้าวออดิทที่เดินดุ่มๆ ตรวจนี่นู่นนั่น ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้กันทุกคนหรอกหรอ ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่ครับ ในทีมออดิทแต่ละทีม จะประกอบด้วยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนรับผิดชอบงานตรวจสอบ หรือใน Big4 ก็จะเป็นพี่พาทเนอร์ในแยกกันไปในแต่ละบริษัทที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งแน่นอนว่าระดับพาทเนอร์ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หรือ CPA นี้แน่นอน(ก็แน่สิครับ เพราะในBig4เหล่านี้ คนที่จรดปากกาเซ็น ก็คือพาทเนอร์ครับ) ส่วนผู้ปฏิบัติงานตามบริษัทลูกค้านั้นๆ ที่เข้าไปฝังตัว อาทิตย์นึงบ้าง เดือนนึงบ้าง จะมีทั้งคนที่มี CPA แล้ว และยังไม่มีครับ(ซึ่งส่วนมากมักจะยังไม่มีนะ)



ใบอนุญาติ CPA นี้กำหนดให้ คนที่จบด้านบัญชีมา ต้องผ่าน "การทดสอบ" จากสภาวิชาชีพบัญชีของไทยครับ ซึ่งล่ำลือ กล่าวขาน อื้ออึง ขนานนามกันว่าโหดมาก โดยจะประกอบไปด้วย 3 วิชาคือ บัญชี, กฏหมาย และการตรวจสอบบัญชีครับ และแต่ละวิชา จะจำแนกย่อยเป็น 1 และ 2 ดังนั้นเบ็ดเสร็จคือ 3 วิชาหลัก 6 ฉบับการสอบครับ (ถ้างงก็เช่น บัญชี จะแตกเป็น บัญชี1 และ บัญชี2 ครับ) ซึ่งออดิทจำเป็นต้องผ่านการสอบทั้ง 6ฉบับนี้ โดยแต่ละฉบับจะมีอายุ 4 ปี ดังนั้น คุณจะต้องทำตัวเหมือนนักวิ่งมาราทอน เมื่อใดที่คุณเริ่มสอบได้ตัวแรก คุณจะต้องอ่านตัวถัดๆไป ในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้ ไอ้ตัวแรกที่คุณได้มา มันหมดอายุตายไปสะก่อน (ทางสภาวิชาชีพบัญชี จัดการสอบปีะ 3 ครั้ง) นอกจากการสอบที่ว่านี้แล้ว ยังมีเงื่อนไขอีกอย่างคือ "ต้องทำงานด้านการตรวจสอบ 3ปีหรือ 3,000ชั่วโมง" โอวแม่เจ้า ดังนั้นการที่จะได้มาซึ่ง CPA License คุณต้องจมปลัก ไม่สิต้องเรียกว่า อยู่ท่ามกลาง การทำงานการตรวจสอบอย่างเบาะๆก็ต้อง 3 ปีครับ เพราะมันเป็นข้อกำหนด นั่นเอง
ปล.ที่จริงแล้วออดิทที่ยังใสๆหรือทำงานไม่ถึง 3 ปี ทางสภาวิชาชีพบัญชี จะเรียกกลุ่มนี้ว่า "ผู้รับการฝึกงาน" ครับ (บอกเฉยๆเป็นความรู้มั้งนะ)



แต่ถามว่า 3 ปีมันนานไปป่าวกว่าจะได้มา (สมมุติว่าคุณสอบผ่านเร็วกว่า 3 ปี) ก็ต้องตอบว่าไม่นานหรอกครับ เพราะ 3 ปีแรกของชีวิตออดิทอย่างที่บอกคุณจะได้เรียนรู้ ได้รับหน้าที่การตรวจสอบ ครบวงจร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของธุรกิจและมันก็มีน้อยคนมากๆ ที่มักจะสอบผ่านทั้ง 6 ฉบับภายใน 3 ปี (แต่เคยเห็นสอบผ่านหมด ภายในปีหรือสองปีแรกก็มีนะครับ) และทางสภาวิชาชีพบัญชี คงเล็งเห็นแหละครับว่าสามปีนี่คือ เบาะๆสุดแแล้วที่จะทำให้ผู้ตรวจสอบทุกท่าน มีความรู้ ความชำนาญที่เพียงพอ ต่อหน้าที่ในการตรวจสอบครับ ดังนั้นแล้วออดิททั้งหลายที่อยู่ในสายงานนี้ก็พยายามที่จะสอบ พยายามที่จะเอาเวลาหลังเลิกงานที่มีอยู่น้อยนิดมาอ่านหนังสือ ซึ่งขอบอกเลยครับว่า ไม่ง่ายแต่ไม่ยาก และคู๋ต่อสู้สำคัญที่สุดของ เกมส์นี้ ไม่ใช่เพียงความหินของข้อสอบ แต่เป็น จิตใจคุณเองนั่นแหละครับที่เป็นคู่ต่อสู้ตัวดี(ก็เราต้องบังคับตัวเองนิเนอะ) เหมือนกับคำกล่าว อ่อนแอก็แพ้ไป ถ้าเอาไหวก็ ...CPA



และคำถามต่อมา อ้าวถ้าได้มาแล้วซึ่ง CPA License + ทำงานในสายงานครบเงื่อนไขแล้ว ผลดีคืออะไร
อันดับแรก แว้บเข้ามาในหัว ออดิทจะสามารถรับรองงบการเงินนั้นๆได้ด้วย ลายเซ็นคุณเอง มันไม่ได้หมายถึงคุณเซ็นกริ๊กๆแล้วจบ แต่แน่นอนคุณจะต้องรับผิดชอบต่องานตรวจสอบ ,ทำงานตามมาตรฐานหรือประกาศนู่นนี่นั่น ให้เหมาะสม ซึ่งในกลุ่ม Big4นั้น กลุ่มพาทเนอร์ทั้งหลายจะเป็นคนเซ็นดังกล่าวนี้ ครับ เท่ปะละ



อันดับสอง CPA สามตัวนี้ จะกลายเป็นพยางค์เท่ๆ ต่อท้ายชื่อคุณไปตลอดชีวิต (หรือจนกว่าคุณไปทำอะไร ไม่ดีเข้าจนถูกเพิกถอน) และใช่แน่นอนว่า เหล่า CPA สามารถพิมพ์สาวตัวอักษรนี้ต่อชื่อคุณในนามบัตร, ท้ายอีเมลล์ หรือในทุกๆที่ที่มีชื่อคุณไปโผล่ โคตรเท่เลยเนอะ นึกดูสิครับผมยื่นนามบัตรให้ครูอนุบาล ระหว่างทางเดินไปหาลูกที่โรงเรียนแล้วมีคำว่า CPA ต่อท้าย ...คุณครูยิ้มปริ และคงมีความคิดว่าคุณนี่เจ๋งจริงๆสำหรับ Certified Papa Accountant ..ไม่ใช่ว้อย



อันดับสาม เพิ่มดีกรีให้การทำงานในตัวคุณ ในมิติ Mobility & Career Prospect ซึงผมมองว่าการได้มาซึ่ง CPA จะทำให้คุณมีดีกรีในการทำงานที่เป็นที่ยอมรับเลยล่ะ เพราะมันเหมือนกับการที่ถ้าเรามีความสามารถ แต่เราไม่มีอะไรมาพิสูจน์ คนที่ไม่รู้จักคุณที่ไหนจะมาเชื่อ (อันนี้ผมพูดตามเบสิคสุดๆ สามาัญชนทั่วไปนะ) และพอคุณได้มาซึ่ง CPA มันก็อารมณ์ว่า การันตี ความสามารถระดับหนึ่งและมานะ วิระยะ ของออดิทคนนั้นๆ ว่าเจ๋งระดับนึงเลย และที่สำคัญคุณสามารถโยกย้ายงาน หรือเลือกสมัครงานที่ใหม่ๆได้ โดยสามารถถูกเรียกสัมภาษณ์ รวดเร็วกว่า ผู้สมัครระดับเดียวกันที่ไม่มี CPA นะ (ผมถามมาจาก HR นะ ไม่ได้คิดเอง) และงานที่ว่ามันไม่ใช่แค่ในประเทศ เพราะทุกประเทศบนโลกที่มีภาคธุรกิจที่สตรอง  ฝรั่งเหล่านั้นรู้จัก CPA แน่นอนครับ เพราะบ้านเค้าก็มีเหมือนกันน่ะสิ! (CPA จะทำงานข้ามประเทศไม่ได้นะครับ เพราะเราใช้มาตรฐานต่างกัน และในบางประเทศเช่น อเมริกา CPA จะแบ่งแยกตาม รัฐ ครับ แต่คนไทยสามารถไปสอบเพื่อเป็นCPA ในหลายๆประเทศได้ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย บอกไว้เผื่ออยากรู้วว วู้วว วู้วว)



อันดับสี่ รายได้ที่ค่อนข้างดี! จากข้อบนๆได้กล่าวไปแล้วถึงรายได้ที่สวยงามของเหล่า พาทเนอร์ แต่อย่างไรก็ตามความจริงแล้วมีคนเพียงหยิบมือครับที่จะ อดทน และมีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ใน Big4 ได้จนถึงระดับนั้น แต่ยังไงก็นะ ในตำแหน่งรองๆลงมาก็ยังถือว่า เป็นอาชีพที่มีอัตราการ จ่ายตังค์ที่สูงงง เพราะออดิทเพิ่มเงินเดือนกันที เรียกได้ว่าเพื่อนคุณอิจฉาแน่นอน หรือถ้าคุณลาออกมาตั้งบริษัทรับตรวจสอบบัญชีเอง คุณจะกลายเป็นพาทเนอร์ด้วยตัวคุณเอง อย่างทันท่วงที แล้วรายได้ค่าตรวจสอบจะไปไหนได้ล่ะครับ แหม่



อันดับห้า สุดท้ายละนะ คุณจะได้มาซึ่งความน่าเชื่อถือ (A Position of TRUST) ซึ่งมันก็แน่นอนเพราะงานออดิท ต้องรับรองงบการเงิน รวมถึงข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าจัดทำขึ้น ว่ามันโอเค หรือมีอะไรที่จะต้องบอกกล่าวผู้ใช้ข้อมูลนั้นหรือไม่ งานการตรวจสอบนี้จะไม่เพียงแต่แค่งบการเงินนะครับ Big4 บางที่เรียกงานออดิทนี้ว่า Assurance ซึ่งคือการให้ความเชื่อมั่น เห็นมั้ยครับว่ามันกว้างกว่าแค่การตรวจงบการเงิน ตัวอย่างน่ะหรอเช่น ปีที่แล้วกรุงเทพเรามีการจัดงานปั่นจักรยาน คุ้นๆมั้ยครับ บริษัทเหล่านี้ก็ได้รับการว่าจ้างประมาณว่า เออยูวๆ มาช่วยไอคอนเฟิมหน่อยว่า ไอนับจำนวนคนมาปั่นจักรยานถูกต้องป่าว เดี๋ยวไอจะเอาไปลงกินเนสบุ๊ค อะไรประมาณนี้ นั่นแหละครับ ถึงบอกว่า CPAจะทำให้ข้อมูลต่างๆ ดูสตรองขึ้นมาและส่งผลไปยัง CPA เหล่านั้นให้มีภาพลักษณ์ที่ เวรี่เรสเปค นั่นเอง





นั่นแหละครับทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จะเป็นภาพในแง่ สว่าง ของการทำงานออดิท ที่ผมอยากนำมาแชร์ว่ามันไม่ได้แย่ไปกว่าด้าน ดาร์คๆ ที่หลายๆคนชอบโพสต์ในเฟซบุ๊ค หรือเพื่อนคุณชอบมาบ่นให้ฟังว่ามันทรหดแค่ไหน งานนี้ถือเป็นงานวิชาชีพซึ่งไม่ใช่ใครไหนมานั่งแล้วทำเป็นนะครับ นอกจากเรามีมาตรฐานที่เป็นตัวบทกฏหมายให้เดินตาม สิ่งสำคัญของวิชาชีพนี้คือ จรรยาบรรณ ที่ออดิททุกคนจะตอกหมุดฝังลงไปในใจ เช่นการรักษาความลับของลูกค้า, การรับผิดชอบต่องานให้เสร็จแม้จะลำบากหรือ การอัพเดทความรู้เชิงวิชาการให้ใหม่ตลอดเว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ด้านดาร์ค ๆ ในการเป็น ออดิทหรือCPA มันก็มีครับ และผมเชื่ออย่าง"สมเหตุสมผล" (ศัพท์ที่ชาวออดิทใช้กัน) ว่าความดาร์คมันมีในทุกอาชีพ ทุกๆระดับงานไม่ว่าจะพนักงานปกติ หรือผู้บริหารชั้นฟ้า แต่สิ่งที่ จะพยุง ดึงรั้ง ให้เราเดินต่อในสายงานเราได้อย่างมีประสิทธิภาพเนี่ย อันดับแรกคุณต้อง ..ศรัทธา.. ในงานคุณก่อนครับ(ตัวผมนะ คนอื่นไม่รู้เป็นไง) เพราะพอคุณศรัทธาแล้ว ไม่ว่าจะดาร์คแค่ไหน ปัญหามะรุมมะตุ้มขนาดไหน เราจะเอาตัวรอดได้ และ Solution มาจะตามมาเสมอๆ



ขอบคุณมากเหลือเกินครับที่ติดตามอ่าน
และขอบคุณเพื่อนร่วมวิชาชีพหลายท่านที่สร้างคอมเมนท์ ที่ผมว่ามีประโยชน์มากกว่าบทความก๊งๆของผมซะอีก
รวมถึงอินบอคซ์เข้ามาเยอะมากกว่าที่คาด จากทั้งนิสิต คนที่สนใจ ขอบคุณมากครับแล้วจะตอบให้อย่างเร็วฝุดๆ
สงสัยหรืออยากให้แนะนำอะไรเม้ท์หรืออินบอคซ์ได้นะครับ จะตอบด้วยความเต็มใจครับ

28/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 4



มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )



6. รู้จักคนเยอะ ม า ก จนอาจกลายเป็น Super Connection !!



Cr. http://talknerdy2me.org/1-17



ใช่ยิ่งกว่าใช่ และก็เดาๆว่าหลายคนคงพอนึกภาพออกได้ ก็เพราะเหล่าออดิทเนี่ย นอกจากความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับพวก มาตรฐานการบัญชีหรือการตรวจสอบ แล้วสิ่งที่สำคัญ ผมว่าสำคัญพอกันนะ คือการที่ ออดิทจะต้องติดต่อสื่อสารกับ คนอื่นๆ ตลอดเวลา (Interpersonal Skill) เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปตามคติประจำใจของเราชาวออดิทคือ ...ต้องเสร็จ



คนอื่นๆที่ว่า เป็นได้ทั้งลูกค้าที่เราไป "ออกจ้อบ" หรือไปตรวจสอบนั่นเอง คุณลองนึกภาพดูนะครับว่า ถ้าสมมติคุณๆกำลังทำงานตาม ปกติ(Routine) เช่น ฉันทำรายงานจ่ายเงินทุกวัน, ฉันทำหน้าที่วางบิลทุกวัน บลาๆๆๆ แล้วอยู่ดีๆ มีชนกลุ่มน้อยที่ไหนไม่รู้ มานั่ง มาสถิตในออฟฟิตของเรา แล้วก็มาขอนู่นนี่นั่น เอกสารบ้าง, ถามเหมือนเด็กอนุบาลไม่รู้เฮียไรเลยบ้างล่ะ(มักจะเกิดขึ้นในออดิท เพิ่งจบใหม่ทั้งหลาย) หรือ แม้แต่มาขอยืมอุปกรณ์สำนักงานบ้างในออฟฟิตอันเป็นที่รักของคุณ (ก็แน่นิ ออฟฟิตคุณคือออฟฟิตของออดิท ส่วนออฟฟิตออดิทคือ..ไม่ค่อยได้อยู่หรอกเพราะอยู่ออฟฟิตคุณมากกว่า งงปะ) มิหนำซ้ำยังมาปลักปลำว่าฉันบันทึกบัญชีไม่ถูกบ้างล่ะ ระบบความคุมไม่ค่อยจะดีบ้างล่ะ อ้าาาววววน้อง !



คำถามคือ คุณรู้สึกยังไงล่ะครับ เมื่อมี สิ่ง Amazing People เหล่านี้ คลืบคลานเข้ามาอย่างไม่ระแคะระคาย รปภ ของออฟฟิตคุณเลย แถมยังหาเรื่องสารพัดสาะเพ นี่น่ะสิครับคือเหตุผลว่าทำไม ทักษะการติดต่อสื่อสารของ ออดิทผมจึงเห็นว่ามีความสำคัญขั้นแมกซิมั่ม เพราะสุดท้ายยังไงเหล่าออดิทก็ต้องได้มาซึ่ง เอกสารการตรวจสอบ ที่"น่าพอใจ" แต่กว่าจะได้มา กว่าจะเข้าถึงได้นี่เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็นกันเลยทีเดียว ลูกค้าบางรายก็ค่อนข้างเข้าใจออดิทในจุดนี้ แต่บางรายก็นะครับ มองเรายังกะคนที่... คนที่ไรดีล่ะ คนที่ยืนขวางประตู BTS ที่สถานีสีลมตอนหกโมงเย็น โดยไม่ขยับ และกระเถิบ (พอเก็ทมั้ย ไม่รู้จะอธิบายสายตาคู่นั้นที่มองยังไงดี +.+)



การติดต่อกับคนอื่นๆยังไม่หยุดแค่นั้น มันยังรวมถึงผู้บริหารระดับสูงงง งง  งง ง ง สูงสะจนผมเกร็งในบางที (แต่ผมชอบการพูดคุยกับท่านๆมากนะครับ เพราะคนเหล่านี้มักจะมีของเด็ดที่เราได้เรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะคุยแค่ไม่กี่นาทีก็ตาม) และนอกจากลูกค้าแล้ว Connection ยังรวมถึง คนในทีมออดิทกันเองด้วย ! ก็แน่นอนว่าบริษัทพวกออดิทเนี่ย จะไปมีทรัพย์สินอะไรมากมาย นอกจาก คน คน คน และ คน (เงินในแบงค์ด้วย แต่ขอพูดคนก่อน) และออดิทเราก็ต้องไปตรวจลูกค้า โดยมีวัฒนธรรมที่เราจะ Mobility โยกย้ายเปลี่ยนทีมตลอดเว ดังนั้นคุณจะได้พาญพบ เผชิญกับคนทำงานหลากหลายรูปแบบ เก่งปานเทพ, เก่งจริงอ๋อ, แต่งหน้าสวย, ใช้เบสผิดเบอร์ โอยเยอะแยะไปหมด แต่ยังไงเราก็ต้องพูด ต้องคุยกันในทีมนั้นๆ เพื่อดันให้งานตรวจสอบ สำเร็จลุล่วงกันไปในที่สุด



ผลลัพธ์จากการที่ต้องไปสำผัส ไปทัชคนในตำแหน่งต่างๆ บางทีออดิทมักจะได้คำแนะนำดีๆ ดีมากๆทั้งจากลูกค้าที่ไปตรวจ หรือคนในทีมที่เจอ เช่นคำแนะนำการทำงาน, กาารไปเรียนต่อ, การย้ายบริษัท, ความก้าวหน้าทางอาชีพ หรือการทำกับข้าวให้อร่อยต้องใส่อะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้มันกลายเป็น Connection ให้เราในเวลาถัดมาครับ ผมมีคนรู้จักหลายท่านที่ ออกจากวงการออดิทไปทำธุรจกิจเองบ้างล่ะ ไปเรียนต่อเมืองนอก รวมถึงเข้าไปพนักงานในบริษัทของลูกค้าที่ไปออกตรวจ ด้วยอิทธิพลของการแนะนำจาก คนต่างๆที่เราเจอ เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้แนะนำมักจะเป็นสิ่งที่ เค้าผ่านมาจริงๆ เค้าเป็นผู้เล่นจริงๆไม่ใช่แสตนด์อิน ดังนั้น ประสบการณ์ที่พี่ๆเพื่อนๆแนะนำเรา มีค่ามาก มากจนบางทีผมรู้สึกว่า โหถ้าเราต้องหาประโยคหรือคำแนะนำนี้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่เนี่ย



ตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น Connection จากลูกค้าที่ไปออดิทไปทำการตรวจสอบ แล้วเค้าเข้าตาเรา เค้าก็จะแนะนำและอาจถึงขั้นดำเนินการยื่น ใบสมัครเพื่อที่จะดูดออดิท เข้ามาทำงานในบริษัท หรือผู้บริหารบางท่านถูกชะตาเรา ถูกใจในลักษณะการทำงาน ก็อาจถูกยื่นข้อเสนอให้ออดิทโดยไม่รู้ตัว หรือคนในทีมบางคน เทพมากๆสอบอะไรได้หลายๆอย่าง ก็มาแนะนำวิธีปฏิบัติ แชร์กันเพื่อให้แต่ละคนคิดๆและลองหา เคล็ดลับที่เหมาะกับตัวเองมากสุด หรือ หรือ มีพี่คนนึงได้ทุนไปเรียนต่อเมืองนอก เพราะมีคุณลูกค้าแนะนำว่า ยูวภาษาดีนิ ลองสมัครทุนนี้สิ ทำอย่างนี้นะ 1 2 3 4 จนพี่แกไปอมริกาละครับ แล้วก็เวลาที่ออดิทไปตรวจลูกค้าที่อยู่ ต่างจังหวัด มันเหมือนเป็นจารีตเนอะ (ทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ผิด ผมท่องมาตอน ม3) ที่ลูกค้าจะพาเราไปเลี้ยงข้าว ซักมื้อหรือมากกว่า นั่นเป็นเวลาที่เราจะรู้จักลูกค้า ได้พูดคุยในมุมอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องงาน(แต่บางคนก็ยังหอบงานมาคุยนะ โถ่เอ้ย) และคุณจะได้ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตของเขาเหล่านั้นมาเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว ก็แน่ล่ะครับคนที่จะพาออดิทไปเลี้ยงได้นี่ ก็มักเป็นเบอร์หนึ่ง หรือคนท้อปๆในฝ่ายบัญชีหรือการเงินของแต่ละบริษัท  นี่เป้นส่วนหนึ่งนะที่ผมพอนึกๆออกจาก Benefits of Connection ที่มักเกิดขึ้นตลอดเวลาการทำงานขอออดิท ขออย่างเดียวคือ ออดิทต้องมองมันให้ออกและมองๆมุมอื่นบ้าง นอกจาก.... งานตรูต้องเสร็จว้อย !


24/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 3


มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )



5. เวลาการทำงาน Kod Flexible ! (Kod = Very in Thai)

Cr pic . managersdigest.co.uk

ก่อนอื่น Flexible แปลว่า ยืดหยุ่น หลวมๆ หยวนๆ นะครับ และใช่ครับผมว่าข้อนี้ชาวออดิท หรือคนที่เคยทำงานด้วย มักจะรู้กันดีว่าเวลาการทำงาน (Working Hours) ของออดิทนั้น คือ..... คือเมื่อไหร่แน่ ก็เพราะว่าออดิท (มักจะ) ไม่มีการตอกบัตรเข้าออก หรือฉันต้องรีบตื่นตีห้า มาออฟฟิต 8.298 น. เพื่อทำการแตะบัตรให้ทัน 8.30น คุณจะไม่พบอะไรแบบนี้ที่สำนักงาน สอบบัญชีครับ (เท่าที่ผมทราบมานะ) แต่เรา(ขออนุญาตใช้เรา = ออดิท) จะยึดว่า "งานต้องเสร็จ" และ "ความรับผิดชอบนี่เองที่ทำตัวเป็นนาฬิกาให้เราครับ"



อย่างไรก็ตามคำว่าไม่มีเวลาเข้าออกอย่างเป็นทางการ ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะตื่น  จะเริ่มงานตามใจเฉิ่มแฉะได้ เพราะออดิทจะทำงานโดยแบ่งเป็นทีมๆ (มีตั้งแต่ 2-20คนหรือมากกว่า ตามขนาดหรือความซับซ้อนของลูกค้าที่เข้าตรวจ) ดังนั้นการที่คุณจะมาสายมากเกินควร ก็คงจะไม่ดีตราบใดที่เรายังมี ความแคร์เพื่อนร่วมงานในทีมเนอะ ซึ่งปกติเนี่ยผมก็มักจะถึงออฟฟิตลูกค้าที่เข้าตรวจประมาณ 9.15น (ที่จริง 9.30น. แต่คิดว่าสิบห้านาทีทำให้ตัวเองดูดีขึ้นมาหน่อย) ซึ่งคิดว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ออดิทมักจะเริ่มงานกันนะครับ เพราะบางท่านๆ ก็เข้างานประมาณ 11 โมงก็มี หรือที่พีค เท่าที่เคยทราบคือ บ่าย2 ครับ ครับ 2pm!



แต่การที่ออดิทเข้างาน สายในสายตาบางท่าน มันแฝงด้วยเหตุผล (เราเรียกว่าเหตุผลนะ อิอิ) คือถ้าสมมติว่าลูกค้ารายนั้นๆ เริ่มงาน 8 โมงเช้าโดยปกติ แล้วออดิทเข้างาน 8 โมงเช้าเท่ากัน ผลคืออะไรน่ะหรอครับ กลายเป็นว่าลูกค้าไม่ได้ทำงานของตัวเองในช่วงแรกเลย (ใครพอคลุกคลีจะทราบว่า ช่วงออดิทเข้าตรวจ เค้ามักจะไป วนเวียน ระบบงานปกติของคุณ) และทำให้การเข้างานเช้าของออดิทนั้น ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมาครับ อย่างไรก็ตามบางบริษัท ก็มักจะ กำหนดกฏเกณฑ์มาเลยว่า ออดิท ต้องเริ่มและ เลิกพร้อมกับเวลาทำงานของบริษัท ซึ่งนั่นก็ช่วยไม่ได้จริงๆครับ ถ้าออดิทจะไปสวัสดีคุณบ่อยๆ เพื่อที่จะขอเอกสารให้ทำงานทัน ตามเวลาของเรา



"ดีมากๆเลยล่ะสิ เข้ากี่โมงก็ได้ สบายจัง" กำลังคิดแบบนี้กันใช่มั้ยครับ ซึ่งมันก็ถูกและไม่เถียง แต่เพื่อนๆวนกลับไปดูว่า นาฬิกาของเราคือความรับผิดชอบว่างาน "ต้องเสร็จ"  ดังนั้น เมื่อมันไม่มีการกำหนดเวลา เริ่มต้นตายตัว.. เวลาเลิก มันก็ไม่ตายตัวเช่นกันครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับ ความซับซ้อนธุรกิจ, ความพร้อมของเอกสาร, มุมมองของลูกค้าต่อออดิท รวมถึงความสามารถของออดิทเองด้วย ที่จะเป็นหลายปัจจัยที่กำหนดว่า ลูกค้ารายนั้นๆ เราจะเริ่ม เลิก กันกี่โมงด้วยครับ



และเนื่องจาก ออดิท "มัก" เริ่มทำงานโดย สายกว่า เวลาปกติของพนักงานออฟฟิตทั่วไป ดังนั้นมันก้เหมือนมี กฏที่เรารู้สึกกันเองด้วยจิตวิญญาณ (คือ ความรู้สึกอะครับ) ว่าเราควรกลับบ้านเลทหน่อยนะ เพราะวันนี้เรามาช้า หรือบางทีเราก็ไม่รู้สึกครับ เพราะงานมันเสร็จก่อนเวลา เราก็พร้อมที่จะเข้างานประมาณ 10 โมงเช้า และกลับบ้านเวลาเดียวกับลูกค้า ประมาณ 5 โมงเย็น แม้ว่าคุณลูกค้าจะเริ่มงานก่อนก็ตาม งงมั้ยครับว่าตกลง ออดิท รู้สึกหรือไม่รู้สึก ผมก็งงครับ 555 คือมันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยครับเช่น เรามั่นใจว่างานที่ทำเสร็จทันเวลา / คุณลูกค้าเข้าใจเรา / เพื่อนร่วมทีมไม่คิดว่าการกลับก่อนเป็นการหักหามน้ำใจ หรือการกลับบ้านดึกไปเป็นการแสดงเพาเวอร์ที่ไม่เหมาะสม หลายปัจจัยจริงๆครับ


Cr. pic > https://www.flexjobs.com/jobs/telecommuting-jobs-at-google



และความ หลวมๆ ของเวลานี่เองที่ทำให้ ออดิทสามารถจัดการเวลา ( Time Management) ด้วยตัวเองได้ด้วยความรับผิดชอบที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ถ้าทำไม่เสร็จเราก็ต้องยอมที่จะนำเวลาในวันหยุด มาทำงานให้เป็นไปตาม "ต้องเสร็จ Basis" หรือในกรณีที่งานตรวจสอบของลูกค้า รายหนึ่ง ขออนุญาตยกตัวอย่างจริงของผม เลยละกันครับเพื่อความสมจริงสมจัง ว่า ลูกค้ารายนั้นเป็น โรงแรม 5 ดาวตั้งอยู่ติดหาดไม้ขาวที่ภูเก็ต และทีมมีความคุ้นเคยกับลูกค้า (เคยตรวจมาก่อนแล้วครับจึงเข้าใจภาพรวม) และลูกค้ามองออดิทในทัศนคติที่ดี ทำให้เวลาขอเอกสารหรือ สอบถามสิ่งที่สงสัย เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ผลคือ ทีมเราเริ่มทานอาหารเช้า (ถ้าตรวจสอบกิจการโรงแรม ออดิทมักจะได้ทานอาหารเช้าบุฟเฟ่ และพักในโรงแรมนั้นๆครับ) ของโรงแรม 5 ดาวนั้นเหมือนแขกคนหนึ่งทุกวันเวลา 8.45 - 9.20น (ประมาณนะ) และ ทีมเราจะเลิกงานก่อน 6 โมงเย็นเพื่อดูพระอาทิตย์ หย่อนตัวลงอันดามัน ครับ เป็นไงล่ะครับ แต่การ บริหารเวลานั้นยังรวมไปถึง ออดิทสามารถจะไปลง เรียนปริญญาโท ตอน 6 โมงเย็น ถึง สามทุ่มแล้วทำ thesis ต่อถึงตีสาม แล้ววันรุ่งขึ้น ตื่น 10 โมงมาทำงาน เที่ยง ก็เป็นไปได้เสมอ ตราบเท่าที่คุณบริหารเวลาของตัวเองได้ครับ



ปล ยังมีอีกหลายมุมมองในการบริหารเวลาของเหล่า ออดิทนะครับ เช่น จัดสรรเวลาไป เล่นฟิตเนสให้ล่ำๆ / อ่านหนังสือเพื่อสอบใบอนุญาต CPA หรือ แม้แต่นัดแฟนครับ

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 2

โอเคครับ มาต่อกันเลยดีกว่า จาก Blog ก่อนหน้า >





3. การก้าวกระโดดในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะด้านบัญชีและการเงิน : FAST TRACK !

Cr pic. https://www.solarwindsmsp.com/blog/looking-fast-track-career-think-cloud



ใช่ครับตามที่เพื่อนๆบางคอมเมนท์ ตอบเกี่ยวกับการก้าวกระโดดในหน้าที่การงาน (และการเงิน) ของออดิทนั้น มักจะรวดเร็ว และ Fast Track แซงโค้งเร็วกว่า เพื่อนๆพนักงานในระดับเดียวกันแต่คนละหน้าที่ โดยเฉพาะตำแหน่ง บัญชี และการเงินของบริษัท



ทำไมน่ะหรอครับ ผมขอยกตัวอย่างฝ่ายบัญชีและการเงินที่ชาว ออดิท มักจะไปฝังตัวเมื่อถึงเวลาตรวจสอบ อิอิ คุณๆเพื่อนๆลองนึกภาพดูนะครับ เมื่อเด็กจบใหม่ๆ ที่เข้าทำงานออดิท มักจะได้รับงานตรวจสอบบัญชีที่ ความเสี่ยงต่ำ และวิธีการตรวจสอบไม่ยุ่งยาก และ New Grad เหล่านั้นสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น เงินสด, รายจ่าย หรือ ที่ดินอาคาร  เป็นต้น สังเกตุมั้ยครับว่า แต่ละรายการคุณน่าจะพอ เดาๆแนวการตรวจสอบได้(ก็มันเกี่ยวกับบุคคลที่สามไง บริษัทเลยหลอกลวงได้ยากหน่อย) เช่น เงินสด เราก็ดูเงินที่บริษัทเราลงบัญชี กับตัวเลขในแบงค์ หรือ รายจ่ายทั่วๆไป มันก็ต้องเกี่ยวกับ คนอื่น (พ่อค้า) ก็ตรวจโดยดูบิลส่งของ หรือใบแจ้งหนี้ (เบื้องต้นนะครับ)  ดังนั้นเด็กใหม่เหล่านี้จะใช้เวลา 1 ปีแรกกับการตรวจอะไรก็ตามที่มักจะ เหมือนๆกัน ในทุกๆกิจการ หรือสิ่งที่มันยังไม่ใช่ Core Business นั่นเอง ในขณะเดียวกันพนักงานที่รับผิดชอบในหน้าที่บางอย่างเช่น ถือเงินสดย่อยไว้รับจ่าย, บันทึกบัญชีเวลาเจ้าหนี้มาวางบิล ก็มักจะเจอกับเหตุการณ์นั้นๆตลอดครับ (แต่ข้อดีก็เยอะครับ อ่านต่อไปก่อนนะจ้ะ)



พอมาปีต่อๆมา (ขอรวบยอดนะครับ) ออดิทจะได้สัมผัสการตรวจสอบกับส่วนที่เป็น Key Stream ของธุรกิจ เช่น ตรวจรายการรายได้ (ก็แหงล่ะครับ แต่ละที่ก็บันทึกรายได้คนละเวลา เช่น ขายข้าว, สร้างคอนโด, เมมเบอร์ฟิตเนส, ปล่อยกู้...) หรือ ล้ำๆก็เช่นตรวจสอบมูลค่าของหุ้นที่พวกโบรคเกอร์เอามาคิดค่านายหน้า ว่าโอเคไหม นี่แค่บางส่วนนะครับ ที่เราๆเพื่อนๆพอจะมองแยกออกจาก ธุรกิจทั่วๆไป ได้อย่างชัดเจน



แต่มันยังไม่หยุดแค่นี้ครับ มันยังมีส่วนอื่นของธุรกิจที่ ออดิท ต้องไปทัช และไป รบกวน และจำเป็นต้องใช้ ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ มากขึ้น ดังนั้นเมื่อโตๆขึ้นแล้วทักษะ ทางด้านการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องอิงหลัก ดุลยพินิจ สูงมากๆ สูงจริงๆ ซึ่งตำแหน่งที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆเหล่านี้มักเป็น ออดิทที่ทำงานมามากกว่า 5ปี แล้วหรือ ระดับ เมเนเจอร์ ครับ ส่วนดุลยพินิจที่ผมกล่าวถึงเนี่ย ก็อย่างเช่น บริษัท A ไปซื้อบริษัท B แต่บังเอิญ ซื้อไม่หมด ซื้อมาได้แค่30% ของหุ้นใน B ทั้งหมด อ้าว อ้าว อ้าว แล้วสองบริษัทนี้ต้องนำมาทำ งบการเงินรวม หรือไม่ อันนี้ทางฝ่ายเมเนเจอร์ ขึ้นไปก็มักจะรับผิดชอบในการคิดว่า ไอ้การซื้อขายกิจการแบบนี้เนี่ย เข้าข่ายการ รวมธุรกิจมั้ย แล้วถ้ารวมกันแล้ว ได้ลูกออกมาหน้าตาอย่างไร (บริษัทแม่/ กิจการร่วมค้า/ หรือถือหุ้นเอาไว้เก็งกำไรเฉ้ยเฉย ) อ้าว อ้าว อ้าว ทำไมต้องคิดน่ะหรอครับ ก็เพราะแต่ละรูปแบบ กิจการต้องลงบัญชี รวมถึงทำงบต่างกันน่ะสิครับ



หลายคนคงเริ่มสำลัก และสะอึกว่า อะไรของมันวะ ก็ไม่เป็นไรครับ เอาเป็นว่าจากข้างต้น คงจะพอเห็นภาพของเหล่า ออดิท มากขึ้นนะครับว่า การที่เราทำหน้าที่ออดิทนั้น จะสามารถสัมผัสได้ทุกวงจรของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายจ่าย, รายรับ, การเพิ่มทุน, การขยายกิจการ, การออกหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้แต่ การปิดกิจการต้องลงบัญชีอย่างไร ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งผมมองว่าประมาณ 5 ปีแรกของการทำงานออดิทจะได้สัมผัสแทบครบเลยครับ ซึ่งถ้าเทียบกับเพื่อนพนักงานบัญชีขององกรณ์ จะมีหน้าที่ที่เฉพาะเป็นของตัวเอง เช่น คุณ A ทำหน้าที่บันทึกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ก็จะบันทึกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ตลอด หรือน้องB ทำหน้าที่บันทึกรายได้ ก็จะบันทึกรายได้เป็นประจำ ซึ่งแน่นอนว่าออดิทจะสามารถมองภาพรวมและสามารถ Manage ทั้งแผนกได้ (ถ้ากลายร่างจากออดิทเป็นพนักงานบริษัทนั้น) อย่างไรก็ตามพนักงานบัญชีในบริษัท จะมีความ Specialist มากกว่า ออดิทครับ เพราะแม้จะเผชิญกับการ จ่ายหนี้ แบบเดิมทุกวัน แต่คุณสามารถเจอกับรายละเอียดของงานนั้นๆ เช่น บริษัทซื้อของจากเมืองนอกวันนี้ (ก็มีเจ้าหนี้) แต่จ่ายเงินเดือนหน้า (เจ้าหนี้ก็หาย) แต่! เราจะใช้ เรทแลกเปลี่ยน ไหนมาบันทึกล่ะครับ ก็ในเมื่อมีหลายวันมาเกี่ยวข้อง และถ้าเกิดผลต่างตอนมีเจ้าหนี้ กับตอนจ่ายหนี้ อ้าว อ้าว อ้าว งงเต้ก จะเอาผลต่างไปยัดไว้ในไหน (เชื่อสิ ออดิทบางคนก็ไม่รู้)


เห็นมั้ยครับว่าออดิท สามารถใช้เวลาไม่นานในการ วนเวียน ครบรอบธุรกิจและมันก็เลยทำให้ ง่ายต่อการ เรียนรู้เมื่อก้าวจากออดิทเข้าสู่บริษัทต่างๆ และออดิทมักจะได้ Fast Track ก้าวสู่การเป็น ระดับผู้จัดการ หรือ ระดับบริหารที่ค่อนข้างเร็วกว่าหลายๆตำแหน่งในเวลาเท่ากัน (ผมพูดในภาพรวมส่วนมากนะครับ เพราะมีเพื่อนหลายคนที่ไม่ใช่ออดิทที่โดดเด่นและโตเร็วกว่า ก็เกิดขึ้นได้ครับ) และผลคือบริษัทต้องการออดิทมานั่งอยู่ในตำแหน่งที่กล่าวมานี้ไงครับ ดังนั้นเราจึงมักเห็นออดิทที่ถูกดึงตัว ดึงดูด ลากมา หรือถูกเล่นของจาก บริษัทลูกค้าที่ออดิทนั้นเคยเข้าตรวจ ให้เข้ามาเป็นพนักงานบริษัทนั้นๆแทน  (ก็มันไม่ต้องสอนแล้วไงเล่า !) ด้วยเงินเดือนที่น่าพอใจ เพราะถ้าไม่ คงดูดไม่ไปแน่ๆ จริงมั้ยครับ  ^^








14/9/60

ผู้สอบบัญชี สหรัฐอเมริกา : CPA USA



Creditรูปภาพ : http://www.npmestory.com/2014/08/cost-per-action-cpa.html



นอกจากหลายท่านในประเทศไทย จะคุ้นชื่อหรือ คุ้นกับคำว่า ผู้สอบบัญชี หรือ CPA ในวงการบัญชีในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศ (แทบทุกประเทศ) ก็มีกลไกการควบคุม การจัดทำบัญชีในลักษณะเดียวกันคือมี ผู้ทำ และ ผู้สอบ





สหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นแม่ใหญ่ของ วิชาชีพบัญชี และมีองกรณ์ที่มักคุ้นหู้สำหรับนักบัญชีอย่างเราเช่น AICPA สถิตอยู่ ในการเป็นผู้สอบบัญชี ของประเทศอเมริกานั้น ก็มีการกำหนดให้มีการ ฝึกงานเก็บชั่วโมง และจัดสอบคล้ายๆกับประเทศไทย และที่สำคัญคือ คนไทยสามารถกลายเป็น ผู้สอบบัญชีอเมริกาได้


ในสหรัฐฯ นั้นเงื่อนไขของการเข้าสอบ CPA จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ รัฐ นั้นๆที่คุณต้องการไปสอบ อย่างไรก็ตามเงื่อนไข กว้างๆ ที่คล้ายคลึงกันมักจะกำหนดให้ผู้สอบ



1. มีวุฒิการศึกษาด้านบัญชี 


Credit รูป : http://www.limitstogrowth.org/articles/2012/05/25/census-over-half-of-asians-in-us-have-college-degrees-mexicans-only-9-1-percent/




 บางทีกำหนดปตรี บางที่นับชั่วโมงที่เราเรียนมาว่าเข้าเงื่อนไขไหม ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่คนไทยส่วนมากที่ไปเรียน บัญชี เป็นปริญญาโทที่อเมริกา สามารถเข้าสอบ CPA ได้ และนี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะไปเรียน โทบัญชี ที่อเมริกา อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกๆ ปริญญาโทด้านบัญชี สามารถเข้าสอบได้เลย คุณต้องตรวจสอบเงื่อนไข ของแต่ละรัฐอย่างที่บอก

เรียนไทยอย่างเดียว สามารถเข้าสอบได้หรือไม่ ...เท่าที่ผ่านมาผมไม่เคยเจอ และคิดว่าไม่ได้ ถึงแม้ได้ คุณก็สอบไม่ได้เพราะมีวิชาสอบเกี่ยวกับ กฏหมายของอเมริกาอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องเรียน และวิธีการของคนที่เรียนโทจกไทยไป แล้วอยากไปสอบ CPA US ก็คือไปลงเรียนเพิ่มใน วิทยาลัย หรือ College ท้องถิ่นเพื่อให้ครบชั่วโมงที่รัฐนั้นๆกำหนด


อย่างไรก็ตาม อันดับแรกที่แนะนำถ้าคุณมีปริญญาโทจากไทยก็คือ สมัครสอบเลย ถ้าทางรัฐวิเคราะห์ Transcript คุณแล้วให้สอบ นั่นก็แปลว่าสอบได้นั่นเอง


2. ชั่วโมงการฝึกหัดงาน 



credit รูป : http://wapakymca.org/index.php?src=gendocs&ref=HoursofOperation&category=aboutus




 คล้ายกับไทยที่สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดให้ ผู้สอบบัญชีไทยต้องมีการฝึกหัดงานด้านการสอบบัยชี อย่างน้อย 3 ปีและ 3,000 ชั่วโมง ในขณที่อเมริกา ก็มีการกำหนดเช่นกัน และต่างกันในแต่ละรัฐอีก แต่เท่าที่เคยอ่านมา จะน้อยกว่าที่ไทย โดยจะอยู่ที่ประมาณ 1,000hrs หรือประมาณ 1 ปีโดยต้องเป็นการทำงาน หรือฝึกงานโดยมีผู้สอบบัญชีที่อเมริกา กำกับ นั่นเอง


การที่จะหาที่ฝึกงานกับผู้สอบบัญชีในอเมริกาในแต่ละรัฐ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้าเราถือ ปริญญาจากไทย หรือแม้แต่มี CPA Thailand ไปด้วย เพราะปัจจัยที่มากกวก่านั้นคือ ความรู้ทางบัญชีและที่สำคัญคือภาษีในแต่ละรัฐที่ต่างจากไทยแน่นอน รวมถึง ระดับภาษา เพราะอาชีพนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้อง Contact กับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมทีม อยู่มากทีเดียว


การเลือกเรียนในระดับ University มหาลัย หรือ วิทยาลัย College ก็มีส่วนต่างในการได้รับงานต่อ โดยหลายๆบริษัทใหญ่ๆที่มีชื่อเสียง มักรับนิสิต นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยชั้นต้น ยิ่งเป็นมหาลัยในเมืองใหญ่ ยิ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมทำงานในบริษัทใหญ่ไปด้วยเป็นเงาตามตัว ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจไปเรียนต่อ หรือลงคอร์สเพิ่มเติมเพื่อเข้าสอบ CPA US คุณต้องตระหนักถึง จุดหมายปลายทางข้อนี้ด้วย


3.สอบ 4 วิชา 


credit รูป : http://www.universityex.com/buzz/prepping-up-for-cat-2016-last-minute-tips-to-ace-the-exam/



การสอบ CPA US จะตัดเกณฑ์ผ่านที่ 75% ในขณะที่ไทย ทางสภาวิชาชีพกำหนด 60% คือผ่าน แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูจากสถิติ (ผมจำ resourceไม่ได้นะ โทษทีครับ) อัตราการผ่านของไทย ยากกว่ามาก เทียบได้ประมาณ 1% ของนิสิตที่จบใหม่ในแต่ละปี


วิชาที่ใช้สอบมี 4 วิชาสำหรับ CPA US :
> Financial accounting : FAR 
เป็นการทดสอบเกี่ยวกับพวก มาตรฐานการบัญชี (คงคล้ายๆบัญชี 1 /2 ของไทย) โดยอิงจาก US GAAP/ IFRS โดยสอบ 4 ชั่วโมง มีทั้งช้อยท์ และเขียน


> Regulation : REG
มันคือวิชา ภาษี ดีๆนี่เองทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล (ก็คงเป็น กฏหมาย 1 /2 ของบ้านเรา) มีทั้งช้อยท์ และเขียน แต่วิชานี้สอบ 3 ชม เท่านั้น


>Auditing and attestation : AUD
ก็คือวิชาการสอบบัญชี รวมถึง จรรยาบัญด้วยนะ ก็เป็นวิชาที่ต้องอ่านและ ใช้ความรู้จากประสบการณ์ทำงานอยู่พอตัว มีทั้งช้อยท์ และเขียนเช่ยเดียวกัน


> Business : BEC
วิชานี้จะเน้น บัญชีต้นทุนรวมถึง ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจเช่น หุ้น หลักทรัพย์ เป็นช้่อยสะส่วนมาก (75-8-%) แต่การเขียนก็ต้องมีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามผมไม่มั่นใจ ไกด์ไล ในการเขียนวิชานี้นะครับ คุณอาจต้องถามเพื่อนร่วมขชั้น (ถ้าเรียนอยู่เมืองนอก) ว่าต้องเขียนอย่างไรเพราะ วิชานี้ใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจการเขียน (ถ้าเปลี่ยนแล้ว ก็แจ้งกันได้)





ดังนั้นจะเห็นว่า พื้นฐานวิชาการสอบ ไม่ได้ต่างไปจากของ ไทย เราเลยมีแค่วิชา  BEC ที่แยกออกมา (ไทยมี บัญชี กฏหมาย และสอบบัญชี ทั้งสิ้น 3 วิชา) แต่ผมมองว่าไอ้วิชา BEC มันก็ถูกซึมอยู่ในแต่ละวิชาของไทยพอสมควรอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว สำหรับพื้นฐานวิชา บัญชี และสอบบัญชี แต่คงต้อง อ่านเพิ่มเติมสำหรับกฏหมายของฝรั่ง และต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษกันมากๆ



4. การเก็บชั่วโมง ฝึกฝนความรู้ เมื่อเป็นผู้สอบบัญชีแล้ว


ทาง CPA US ก็มีการกำหนด ให้ผู้สอบบัญชี อเมริกา ต้องมีการ อัพเดท อบรม ความรู้ โดยกำหนดที่ 80 Hrs/ 2 years นะ ซึ่งก็เกือบๆ ค้ลายเรา เพราะทางสภาเราเพิ่งจะเพิ่มให้ CPA ไทยต้องอบรมที่ 40 ชั่วโมงต่อปี อย่างไรก็ตามขอยังไม่พูด ณ จุดนี้มาก เพราะมันคงเป็นเรื่อง .จิ้บๆ. ถ้าคุณสามารถสอบผ่าน CPA ทั้งสี่วิชาได้แล้ว




สรุปสิ่งที่อยากแนะนำ
+ ต้องเลือกสถาบัน หลักสูตรในการเรียนต่อ ทั้งปโท หรือเรียนเพื่อเก็บชั่วโมงเพื่อสอบ CPA US ดีๆ เพราะมีผลต่อการหางาน
+ ถ้าคุณแม่นหลักการบัญชี การสอบบัญชีที่ไทยไป ไม่ต้องกลัวเพราะ เนื้อหาที่เราเรียนๆกันโดยเฉพาะ นิสิตที่จบมาใหม่ๆ แทบจะเป็นเนื้อเดียวกันทั้งโลก (อิง IFRS) แต่ต้องเพิ่ม English skill ให้แน่น
+ CPA สหรัฐทำเงินได้ประมาณ 50k-300k USD / year นี่ก็น่าสนใจ แต่ CPA ไทยเราก็ใช่ว่าขะทำเงินได้น้อย ชั่งใจดีๆถ้ามองแค่เรื่องเงิน ว่าคุ้มมั้ย ใช่เป้าหมายเราหรือไม่
+ มีอีกหลายๆประเทศที่เคยเห็นผู้สอบบัญชี เป็นคนไทย เช่น ออสเตรเลีย ที่นิยมไปกัน
+ ถ้าคุณไปได้ ก็อย่าลืมกลับมาพัฒนาประเทศไทยเราด้วย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนะ




Link ที่แนะนำให้เข้าไปดู เช่น Qualification ของแต่ละรัฐ https://nasba.org/products/nasbainternationalevaluationservices


ขอให้โชคดีนะครับ
#WhollyHall
14 September 2017

13/7/60

การฉ้อฉลผู้บริหาร ผ่านวิธีการ บันทึกบัญชี การด้อยค่า

การตีด้อยค่า และความฉ้อฉลของผู้บริหาร..จากเครื่องมือทางการบัญชี




หลายคนคงได้ยินการที่ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบทางด้านบัญชี มักใช้กลเม็ดทางการบัญชี เป็นศรีธนญชัย ในการตกแต่งตัวเลขมาหลายกรณี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่ค่อยโด่งดังเหมือน กรณีอื่นๆที่จะยกมาเล่าให้ฟังสั้นๆในวันนี้ก็คือการใช้ การตั้งการด้อยค่า ตามมาตรฐานเบอร์ 36 ...





ปกติแล้วในกิจการ หรือในงบดุล(ขอใช้ชื่อเก่า) ในฝั่งสินทรัพย์นั้นถ้ามี ข้อบ่งชี้ ที่มูลค่าที่น่าจะได้ (ไม่ว่าจะขายสินทรัพย์ หรือใช้งานมัน) น้อยกว่า มูลค่าตามบัญชี .... เราก็จะมีการพิจรณาตั้งค่าเผื่อกันปกติ ตามกิจวิสัย




แล้วมันเป็นเครื่องมือ ใช้ในการตกแต่งได้อย่างไร ...




ลองคิดดูในกรณีที่กิจการ (ยิ่งพวกบริษัทในตลาดฯ) ที่มักปล่อยกู้กันในบริษัทในเครือ หรือบริษัทลับแล ที่ตั้งอยู่ไหนไม่รู้ มีตัวหรือมีแค่กระดาษจดทะเบียนหรือปล่าวก็ไม่รู้ โดยที่ผู้บริหารของ บริษัทใหญ่ รู้เห้นเป็นใจ มีสายอำนาจอยู่ในบริษัทที่มาขอกู้นั้นๆ




เมื่อบริษัทใหญ่ปล่อยกู้ไป
Dr. ลูกหนี้เงินกู้ XXX
Cr. เงินสด XXX


วันดีคืนดี ก็นึกอยากจะตั้งหนี้สงสัยจะสูญ หรือร้ายกว่านั้นก็ไม่สงสัยมันละ ก็ตั้งเป็นหนี้สูญมันเลย โดยที่ทึกทักข้อบ่งชี้ ว่าไอ้เงินให้กู้ก้อนี้เนี่ยมัย สูญแน่ๆ โดยชักแม่น้ำทั้งแปดมาพูด

Dr. หนี้สงสัยสูญ YYY
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญ YYY
หรือ
Dr. หนี้สูญ YY
Cr.ลูกหนี้เงินกู้ YY





สุดท้ายแล้ว ผู้ถือหุ้นคนอื่นก็ไม่รู้อะไร เพราะปล่อยกู้แบบเนียนๆ และตัดสูญแบบเนียนๆ ในงบก็ไม่มีให้แกะรอย มิหนำซ้ำผู้สอบบัญชีหลายท่านนน ยังไม่ทึกทักอีก ว่าไอ้ที่ตั้งตัดหนี้สูญนี่ มันมีมูลเหตุที่เหมาะสมไหม  ผลประโยชน์เลยไม่ต้องเดาว่าไปไหน นอกจากไอ้บริษัทที่มีสาย กับผู้บริหารบริษัทแม่





ยังมีอีกหลายช่องทางในการ นำเงินจากบริษัทแม่โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาด ยักย้ายไปโดยไม่สมควร ดังนั้นแล้วไม่ต้องสงสัยว่าทำไม หลายต่อหลายเศรษฐี ถึงตั้งใจปลุกปลั้นบริษัทในมือตัวเอง เพื่อให้เข้าตลาด แบ่งคนอื่นมาร่วมเป็นเจ้าของ...รับความเสี่ยง ด้วยกันนั่นเอง


13.07.2017

11/7/60

ขั้นสอง #2 สู่CPA : การบริหารเวลาในการอ่าน เมื่อมีงานประจำ

EP2 การบริหารเวลา - Time management 








มาต่อกันเลยครับสำหรับวิธีการเตรียมตัวขั้นต่อไปหลังจากที่เรา กำหนดเวลาว่าเราจะ(ตั้งใจ)สอบให้ได้ภายใน x ปีและภายใต้การสอบแต่ละครั้งนั้น เราจะสมัครสอบวิชาใดบ้าง




ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคน พอเรากำหนดวิชาที่จะตั้งใจในการสอบแต่ละครั้งได้แล้วนั้น เราก็จะทราบดีว่า เรามีเวลาเท่าไหร่นับจากวันนี้ถึงวันสอบ เพื่อให้เราได้เตรียมตัวอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาที่พบสำหรับชาวออดิทก็คือ จะเอาเวลาที่ไหนไปอ่าน หรือ จะวางแผนยังไงในเมื่อการทำงานของเรา ไม่ใช่ลักษณะแบบต่ายตัว เช่นตอกบัตร 8 โมงเช้า และงานเลิก 5โมงเย็น นั่นจึงเป็นปัญหาหลักๆ และผมเองก็เผชิญสิ่งนี้เช่นกันครับ



สำหรับผมนั้น ผมมองว่าเราจะไปฝืนตัวเองให้อ่านหนังสือดึกๆไม่ได้หรอกครับ (ผมง่วงและเหนื่อย และเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงเป็นเช่นกัน หลังเลิกงานไม่อยากทำอะไรแล้ว) แต่สิ่งที่ผมทำคือ การบริหารเวลาที่มีอยู่น้อยนิด ให้มันเกี่ยวข้องกับการสอบมากที่สุด ....อย่างไรนะหรอ



1. ตื่น : ทุกๆเช้าผมจะตื่นตอนประมาณ 5.45am ครับเพื่อจะได้มีเวลาว่างสักพักในตอนเช้าโดย 5.45 - 6.00 ผมก็จะเล่น Facebook เหมือนคนทั่วๆไปมั้งครับที่เล่นกันในตอนเช้า แต่พอ 6.00น ผมจะวางมือและไปหากาแฟร้อนกิน + ล้างหน้าที่บ้านครับ เพื่อให้ผมตื่นตัว(วิธีนี้ผมคิดว่าต่างกันไปในแต่ละคน โดยหาเถอะครับว่าทำอะไรแล้วเราจะสามารถตื่นได้) ต่อจากนั้นผมจะอ่านหนังสือ ในส่วนที่เป็น "เนื้อหา" เช่น ในวิชากฏหมายผผมก็จะอ่านหลักกฏหมายส่วนที่ต้องใช้การท่องจำเป็นหลัก หรือในวิชาบัญชี ผมก็จะอ่านหลักการที่ต้องอาศัยการท่องจำ โดยจะแยกการทำโจทย์ หรือวิเคราะห์ ไว้ช่วงเย็นหลังเลิกงานแทน เพราะตอนเช้าผมพบว่าตัวเอง ทำโจทย์หรือวิเคราะห์อะไรได้ช้ากว่าตอนเย็น และตอนเย็นผมไม่สามารถอ่านเนื้อหา ตัวอักษรมากๆได้เพราะ ผมง่วง



ส่วนของ "เนื้อหา" ที่อาศัยการท่องจำ ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าผมหมายถึงอะไร ผมขอยกตัวอย่าง สมมุตว่าผมกำลังอ่าน วิชาการบัญชี1 ในส่วนของเนื้อหา ลูกหนี้การค้าในส่วนของ หนี้สงสัยจะสูญ (มาตรฐานฯ 101) ผมก็ใช้เวลาในช่วงเช้านี้ท่องและอ่าน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การตั้งหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for doubtful account)ว่ามีการตั้งกี่รูปแบบ เช่นการตั้งจากยอดขาย หรือการตั้งจากยอดลูกหนี้, การตัดหนี้สงสัยจะสูญหรือ การได้หนี้สูญรับคืน ว่ามีกี่รูปแบบหลักๆเช่น เป็นไปตามกรมสรรพากร หรือไม่เป็นไปตามกรมสรรพากร อะไรอย่างนี้เป็นต้นครับ โดยส่วนนี้ผมจะท่องเป็นส่วนมาก และยังไม่ทำโจทย์ในช่วงเช้านี้ ทำไมผมต้องท่องก่อนก็เพราะว่าผมเชื่อว่า คนเราจะประยุกต์กับสถานการณ์ในโจทย์ได้ คุณต้องแม่นก่อนน่ะครับ ....Aristotle ก็เคยบอกไว้ว่า You can start thinking only you have memory. แต่ผมมี idol เป็น Jack ma นะ




2. ระหว่างเดินทางไปทำงาน : ผมมักออกจากบ้านช่วง 8.30น หรือ 9.00น แล้วแต่ความใกล้ไกลของลูกค้าที่ไปทำการตรวจสอบครับ โดยในช่วงนี้ผมใช้วิธีการ "ฟังคลิป" ระหว่างการเดินทาง โดยผมทำการดาวน์โหลดไฟล์เสียง ของอาจารย์ที่สอนติว (บริษัทผมมีไฟล์การสอนติวทั้งวิชา กฏหมายและบัญชี) ใส่ลงในมือถือครับ และเปิดใส่หูวนไประหว่างทางไปทำงาน พบว่ามันจำได้จริงๆครับ และหลังจากที่เพื่อนๆฟังคลิปเสียงจากที่อาจารย์ติวเสร็จ หรือเพื่อนบางท่านไม่ได้มีคลิปดังกล่าว สามารถใช้วิธี "อัดเสียงตัวเอง" ลงไปได้ครับ เพราะผมเจอปัญหาที่ว่า เราจะจำ ข้อกำหนด ตัวบทกฏหมาย ยังไงให้มันหมด โดยเฉพาะวิชา กฏหมาย2 ซึ่งคงรู้กันดีว่ามีตัวกฏหมายเยอะมากในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี สิ่งที่ผมทำคืออัดเสียงในส่วนที่ต้องท่องจำหนักๆลงในมือถือ เช่น มาตรา 65ทวิ ประกอบด้วย 65ทวิ วงเล็บ ....ก็พูดไปครับ เอาเป็นภาษาที่ตัวเองเข้าใจ เพราะเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่จำ




ลองสังเกตุสิครับว่า ช่วงนี้ตามห้างต่างๆจะเปิดเพลง พรปีใหม่ ....ผมมักจะฮึมฮัม เพลงนี้บ้างบางทีเพราะมันติดหู ฉันใดฉันนั้น เปิดเสียงตัวเองใส่หูทุกวัน มันก็ต้อง ฮึมฮัม ได้บ้างแน่นอนครับ




  3. ระหว่างทำงาน : ผมว่าเรารู้กันอยู่แล้วครบว่า บางครั้ง ออดิทเรามักจะ "ว่างมาก" เพราะอยู่ในช่วงที่งบการเงินถูกตรวจสอบเสร็จแล้ว โดยเฉพาะเดือน ห้า ถึง เจ็ด ช่วงนั้นซึ่งเป็นช่วงใกล้สอบ รอบที่2 ของปี ดังนั้นโอกาสทองของเราครับ ในระหว่างที่ออกตรวจลูกค้า ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำเสร็จทันเวลา และไม่มีงานคั่งค้างเหลืออยู่ (ผมว่าเราต้องจัดลำดับความสำคัญให้งานมาก่อนนะครับ) ผมก็มักจะเอาไฟล์เสียงโหลดลง Dropbox เพื่อเปิดใส่หูฟังในคอมพิวเตอร์ระหว่างวัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตาม คอนเส็บที่กล่าวไว้ในข้อที่ 2 และผมดาวโหลด ไฟล์ เช่นหนังสือ ตำรา ชีทเรียน หรือแม้กระทั่ง มาตรฐานการบัญชี ไว้ใน Dropbox ของผมครับ เพื่อทำการเปิดมาอ่านได้ระหว่างวันโดยไม่เป็นการให้คนอื่นมองว่าเราหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน มันก็จะดูน่าเกลียดเกินไป



ผมว่าวิธีนี้ไม่ได้เบียดบังเวลางานเลยครับ เพราะออดิทเราเป็นอาชีพที่มีทั้ง การทำงานที่หนักหน่วง งานที่ไม่มีเวลากำหนด แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ผิดหรอครับถ้าเราบริหารเวลา ยามเราว่างหรือ มีปริมาณงานที่น้อยกว่าช่วงหนักๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตัวเอง (สอบได้ CPA) และบริษัท (พนักงานมีความรู้) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ....ไม่มีใครพูดว่า เรามีเวลาว่างอ่านหนังสือ หรอกครับ ดังนั้นเราต้องพลิกทุกอณูให้สอดคล้องกับเป้าหมายให้มากที่สุด




4. หลังเลิกงาน : ส่วนตัวผมหลังเลิกงาน ผมจะพยายามทำให้งานเสร็จไม่เกิน 6 โมงเย็น สำหรับช่วงปกติ และไม่เกิน สามทุ่ม สำหรับช่วงพีค (ถ้าทำได้ และผมทำได้นะ) โดยถ้าช่วงไหนพีคหรือปริมาณงานมันเยอะมากๆ ผมจะแก้ไขระหว่างวันโดย พกข้าวกลางวันไปกิน เพื่อทำงานได้มากขึ้น หรือใช้เวลาตอนกลางวันนั้นแหละ เปิดคลิปที่อัดไว้ในคอมฯ หรือไฟล์ตำราที่ดาวโหลดไว้ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผมได้เวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชม ต่อวันครับ และระหว่างวันก็ตั้งใจทำงานเพื่อที่ให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปอ่านหนังสือต่อ เพราะถ้าคุณเลิกดึกมากเกินไป ผลลัพธ์คือ เราไม่มีทางอ่านหนังสือต่อได้หรอกครับ เราก็ง่วง เหนื่อย เป็นปกติของธรรมชาติ




พอปิดคอม เลิกงาน ผมจะหาร้านกาแฟ ใกล้ๆออฟฟิตลูกค้านั้นๆ ไปฝังตัวหลีกหนีการจราจรที่น่ารัก น่าชังงงง ของมหานครแห่งนี้ ในการ 1.ฟังคลิปเสียงของอาจารย์ต่างๆที่บริษัทผมแจกให้พนักงาน หรือ 2.ฝึกโจทย์สำหรับวิชาต่างๆ (หลังจากที่ผม ฟังคลิปเรียนเสร็จแล้ว) ...ผมฟังคลิปติวสอนทุกวิชาเลยครับจากที่บริษัทผมให้มา(ผมซื้อหนังสือเพิ่มเติมเองบ้าง และลงคอร์สวิชาการสอบบัญชี 2 ครับ) เพราะผมคิดว่าอาจารย์ต่างๆมีเทคนิคและวิธีการที่เก็บมาจากประสบการณ์ ซึ่งทำให้เราย่นเวลาในการอ่านเองไปได้เยอะ โดยเฉพาะวิชา กฏหมายและ การสอบบัญชี ที่ค่อนข้างหนักไปทางเนื้อหาที่มากเหลือเกิน โดยระหว่างการฟังคลิปผมจะทำการ จดโน้ตย่อ หรือถ้าวิชาไหนมีชีท ก็ทำการเขียนลงไปในชีทเหมือนตอนเรียนมหาลัยนั่นแหละครับ และพอเราเรียนจบ ผมก็ทำการฝึกฝนโจทย์ ใครจะหาที่เรียนสามารถอินบ้อคมาถามได้ ผมได้แต่แนะนำและคุณเพื่อนๆไปตัดสินใจเอาเองครับ อย่ามองว่ามันเปลืองเงินเลยครับเพราะบางที เรา Credit เงินสด ออกไป แต่เรากำลัง Debit สินทรัพย์ใส่ตัวเองอยู่ก็เป็นได้



โดยวิชาการบัญชี 1+2 ผมใช้หนังสือที่รวบรวมโจทย์ของ อาจารย์ สศ (ไปหากันดูเองครับว่าใคร ผมว่ามีคนเดียวนะที่แต่งหนังสือขายและรู้จักกันแพร่หลาย) โดยเราต้องตั้งเป้าว่าวันนี้ต้องทำบทนี้ให้จบ อย่า! ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่าน x ชั่วโมง เพราะเชื่อเถอะว่าเพื่อนๆจตั้งตารอให้หมดเวลาและเดินกลับบ้านไปพร้อมความรู้สึก บอกตัวเองว่า วันนี้ทำได้ดี อ่านหนังสือไปแล้ว ทั้งที่จริงแล้วการตั้งเป้าว่าอ่านจบบทไหนๆบ้างจะมีประสิทธิผลมากกว่าครับ เพราะมันจะสะท้อนการก้าวหน้าในการอ่านที่แท้จริง



วิชากฏหมายผมอ่านจาก ชีทสรุปหลักกฏหมายของอาจารย์ พกว (หาเอาเองครับว่าใคร อิอิ) โดยอ่านตามที่อาจารย์ท่านบรรยายและ ฝึกโจทย์เก่าไปมากๆครับ เพราะผมคิดว่าข้อสอบมันออกมาจนพรุน ทุกประเด็นแล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ในการสอบแต่ละครั้งเท่านั้นเอง



วิชาการสอบบัญชี 1 ซึ่งออกสอบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบต่าง ตรงส่วนนี้ผมว่าเราชาวออดิทต้อง อาศัยสิ่งที่ทำงานมาในการตอบครับ เพราะประสบการณืเราจะบอกเองว่า ตรงจุดหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไรดี


วิชาการสอบบัญชี 2 ซึ่งมักออกเกี่ยวกับการเขียนหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีฯ ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้หาคลิปติวมาฟังเพราะจะช่วยสรุป (ผมลงเรียนคอร์สสดในวิชานี้วิชาเดียวครับ) หน้ารายงานในแบบต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือถ้าไม่อยากเรียนผมเห็นเพื่อนบางคน ใช้วิธีดาวโหลด มาตรฐานการสอบบัญชีจากเว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งฟรี และค่อนข้างตรง มาอ่านเองครับ บวกกับ ดาวโหลดหน้ารายงานของจริงซึ่งหาได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆมาดู เพราะมันจะคล้ายคลึงกันแทบทุกที่ ลองดาวโหลดมาเปรียบเทียบกันดูนะครับผม (ในเว็บของสภาวิชาชีพบัญชี จะบอกเกี่ยวกับขอบเขตการสอบ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะในแผ่นนั้น จะบอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อๆก็ดาวโหลดมาอ่านได้ตามนั้นเลยครับ เหมือนเรามีสารบัญไว้ให้ฟรีๆ อยู่แล้ว)




*ตรงนี้สำหรับใครที่มี อุปนิสัยต่างกัน ก็ลองปรับใช้ดูนะครับ เคยมีลูกค้าของผมท่านนึง ใช้เวลาหลังเลิกงานนั่งต่อไปในออฟฟิตของตัวเองนั่นแหละ ในการอ่านหนังสือสอบ ปโท ของเขา ผมว่าก็เป็นเทคนิคที่เวิคทีเดียว




5.กลับถึงบ้าน : ผมกลับถึงบ้านประมาณ สี่ทุ่ม ถึงห้ามทุ่มแล้วแต่วัน ซึ่งผมถือว่าช่วงนี้คือการพักผ่อน หรือถ้าจะอ่าน จะอ่านเฉพาะของเก่า ในส่วนเนื้อหาที่เราแม่นแล้ว เพราะสมองเหนื่อยแล้วครับ จากการพาญพบ การทำงาน การทบทวนที่ร้านกาแฟ มาทั้งวัน ดังนั้นจุดนี้ผมมัก เล่น Faacebook, IG หรือ ทบทวนเฉพาะสิ่งที่ตนเองพอแม่นๆแล้ว เพื่อไม่เป็นการลืม แต่จะไม่แตะเนื้อหาใหม่ๆเด็ดขาด และผมจะเข้านอนไม่เกิน เที่ยงคืน เพื่อให้ลุกไหวในตอนเช้าครับ



สรุป
1. ขอย้ำว่าต้องรู้ครับว่าเราจะสอบอะไร เมื่อไหร่ ไม่งั้นจะไม่มีทางบังคับตัวเองให้อ่านได้แน่นอน
2. ตื่นนอน / เดินทาง / ระหว่างทำงาน / หลังเลิกงาน มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น หาให้เจอครับ
3. รู้ขอบเขต > หาอาวุธ (หนังสือ คลิปติว)
4. อ่าน > เข้าใจ > ท่อง > ฝึกแบบฝึกหัด
5. ทำข้อ 4 อีกอย่างน้อยสามรอบ


เดี๋ยวมาต่อนะครับ มาแน่ๆ อดใจหน่อยนะครับ พอดีช่วงนี้ พีค ครับคงรู้กันดี ^^
ขอบคุณครับ

ต่อยอด จาก CPA ....ผู้บังคับหลักประกัน



หลายๆท่านคงสงสัยว่า การได้รับใบประกอบวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือ CPA แล้วนั้น เราสามารถประกอบวิชาชีพอื่นหรือ ต่อยอด จากใบประกอบนี้ได้หรือไม่ ซึ่งนอกเหนือจากการสอบบัญชีแล้ว การเป็นผู้บังคับหลักประกัน ฏ้เป็นอีกหน่ึงอำนาจหน้าที่ที่ CPA สามารถเป็นได้...



ก่อนอืื่นคงต้องทำึวามรู้จักกับ ผู้บังคับหลักประกันกันก่อนว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และ เกี่ยวอะไรกับ CPA



ที่มาที่ไปของผู้บังคับหลักประกัน : 

สืบเนื่องจาก กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่กำหนดให้กิจการต้องมี ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อตรวจสอบและประเมิน กำหนดวงเงินหลักประกัน รวมถึงการจัดแจงการจำหน่าย กิจการนั้นๆ



ซึ่งถ้าจะพูดตามภาษาเข้าใจง่าย ก็คือผู้ที่จะมายืนยันว่า กิจการที่จะทำธุรกรรมต่างๆนั้น ที่เกี่ยวข้องกับการที่ต้องมีหลักประกัน ก็ต้องมีคนกลางหรือ บคคลที่3 มายืนยันว่า เออหลักประกันนี้ถูกวัดมูลค่า เหมาะสม และรวมถึงเป็นผู้เดินเรื่อง ถ้าเกิดเหตุที่ต้องจำหน่าย หลักประกันนั้นอีกด้วย




คุณสมบัติของผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้บังคับหลักประกัน” ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
 1) ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ หรือผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี

 2) ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับหลักประกันที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี จากหน่วยงานของรัฐ สมาคม หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อนุญาโตตุลาการ (ขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานศาลยุติธรรม) ผู้เชี่ยวชาญศาล (ด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน) ผู้ประเมินหลัก ผู้ประเมินหลักชั้นวุฒิ ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน




ดังนั้นแล้ว ที่มาที่ไปข้างต้น ก็จะพอเดาได้ว่าเกิดขึ้นจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมี รมว.พาณิชย์เป็นผู้อนุมัติ ใบประกอบผู้บังคับหลักประกันนั่นเอง




หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน



อย่างที่บอกไปส่วนหนึ่งข้างต้น ถึงหน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันคร่าวๆแล้วนั้น ... หน้าที่ตามประกาศของกรม พัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้บอกไว้ตามด้านล่างนี้






สรุปโดยภาพรวมก็คือ CPA เป็นหนึ่งในสาขา อาชีพที่เมื่อคุณๆ ต่อใบอนุญาตครบหรือมากกว่า 3 ปีแล้วนั้นสามารถเป็นผู้บังคับหลักประกันได้ ตามประกาศกรมพัฒ นั่นเอง



ดังนั้นใครที่ว่างๆ หรืออยากหาอาชีพเสริมเพิ่มเติมเพื่อความ น่าเชื่อถือ และไดความรู้ใหม่ๆก็สามารถสมัครเป็นผู้บังคับหลักประกันได้ เพราะไม่ต้องสอบใหม่แต่อย่างใด เพียงเข้าอบรม 2 วิชาตามกรมพัฒฯ กำหนด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมี ข้อจำกัดเช่น ไม่เป็นผู้ล้มละลายเกี่ยวกับทุจริตมาก่อน หรือผู้เป็นข้าราชการประจำก็ไม่มีสิทธิ ถ้าสนใขสามารถหาอ่าน


และติดตามการรับสมัครได้ที่ลิงค์นี้ >> https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1063&filename=index




สวัสดีครับ


3/7/60

ภาษีร้านทอง...

ภาษีร้านทอง...





ปีนี้หลายท่านคงสังเกตุเห็นถึงการ รุก ของกรมสรรพากรต่อความตั้งใจที่จะทำให้การจัดเก็บภาษี เป็นตามไประบบระเบียบมากที่สุด ซึ่งมีหลายต่อหลายเครื่องมือที่เห็นได้ชัดที่ช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ สมใจมากขึ้น




ไม่ว่าจะเป็นการคลอดกฏระเบียบสนับสนุนการจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างๆ เช่น การจดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การสนับสนุนให้จัดทำบัญชีเล่มเดียว การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเย้ายวนใจผู้ประกอบการมากมายให้กลายร่างจาก บุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล




และธุรกิจที่ค่อนข้างเป็น เป้าหมาย และ ความตั้งใจของท่านๆคงหนีไม่พ้น ... ร้านทอง ร้านยา และร้านค้าออนไลน์





ในมิติของร้านทองนั้น มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ รวมถึงการทำบัญชีอยู่พอสมควร เพราะใน 1 ร้านทองสามารถมองลึกลงไปได้หลายธุรกิจที่ซ้อนกันอยู่ไม่ว่าจะเป็น

1. ซื้อทองจากผู้ขายส่ง และขายให้ผู้บริโภคอย่างเรา
2. ซื้อทองเก่าจากผู้บริโภคอย่างเรา ไปขายให้ร้านขายส่ง
3.รับจำนำทองคำ
4. รับฝากขายทองคำ
5. ให้กู้โดยมีทองคำมาค้ำ
6. อื่นๆ

และยังคงมีอื่นๆอีกที่ซ่อนอยู่ในร้านค้าขายที่ธรรมดาแต่ราคาไม่ธรรมดาแห่งนี้





แค่ลองนึกถึง ขั้นตอนแรก ของการจดทะเบียนนิติบุคคลก็เริ่ม ปวดหัว เพราะแน่นอนว่าผู้ประกอบการก็ต้องอยากอยู่ในเกณฑ์ ธุรกิจขนาดกลางและขาดย่อม หรือ sme แต่นี่คือทองคำ ดังนั้นเมื่อแรกเราโอน ทองคำเข้าสู่ ร้านค้า(นิติบุคคล) แน่นอนว่าฝั่ง ทุนก็ต้องเกิน 5 ล้านบาทตามเกณฑ์ sme แน่นอน






แต่จะว่าไปก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีทางหนีซะทีเดียว เพราะเราสามารถ ตั้งให้ อาเตี่ย อากง อาม่า หรือใครๆเป็น เจ้าหนี้ แก่ร้านทองนั้นๆได้ เสมือ ร้าน ยืม ทอง จาก อาๆทั้งหลายนั่นเอง ...คำแนะนำคือ หาสำนักงานบัญชีเก่งๆ หรือพอจะมีประสบการณ์การทำบัญชีร้านทอง ก็น่าจะช่วยท่านๆได้นะดับหนึ่ง







ความปวดหัวยังไม่จบ ถ้ามองมิติของ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT เพราะทองก็จะถูกคิด VAT ไม่เหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ






ปกติเราซื้อข้าว 107 บาทจะแบ่งเป็น ราคาข้าว 100 บาทและ ภาษี(ซื้อ) 7 บาท
แต่กับทองนั้นไม่ใช่ เพราะร้านทองแต่ละร้านที่ขายทอง รูปพรรณให้แก่ผู้ซื้อต้องนำ ราคาขายรวมค่ากำเหน็จ หักด้วย ราคารับซื้อทองที่สมาคมประกาศ ได้เท่าไหร่ผลลัพธ์จึงมาคิด VAT






เมื่อมีการจดเป็นนิติบุคคล อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การจัดทำบัญชีสินค้าคเหลือ หรือทองคำนั่นเอง เพราะสรรพากรก็อยากให้แจงให้ได้ว่า งวดๆหนึ่งเราขาย ซื้อ แลก ทองคำมีที่มาที่ไปอย่างไร ทั้งทางด้านจำนวน และมูลค้า ซึ่งการจะทำบัญชีสินค้า(Stock) นี้ขึ้นมาก็ต้องสอดคล้องกับบัญชีที่ยื่นในการจ่ายชำระภาษีอีกด้วย






เจ๊เจ้าของร้านหลายคงได้ยินเพียงเท่าน้ถึงกับกุมขมับ ว่าจะจดไม่จดดี เพราะภาระมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็มีข้อดีที่แฝงอยู่ เช่น เป็นการทำให้ร้านมีระบบจัดการที่ดีขึ้น, ระดับการคำนวณอัตราภาษีที่ต่ำลงกว่าบุคคลธรรมดา, ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น







สิ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ก็คือ ทางร้านทองควรหาสำนักงานบัญชีดีๆ สักที่ ที่มีประสบการณืในการทำบัยชีร้านทอง เพื่อที่คุณจะได้ คำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารบัญชีและภาษี ผมคิดว่าไม่ควรฝืนว่าจะทำบัญชีด้วยตัวท่านเอง เพราะมันยุ่งยาก ...สู้ดีเอาเวลาไปหาเงินหาทองดีกว่าครับ




9/5/60

ขั้นแรก #1 สู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ขั้นแรก สู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต










สวัสดีครับ สืบเนื่องจากที่ผมเคยพูดไปแล้วก่อนหน้า เกี่ยวกับข้อดี หรือ สิ่งที่น่าสนใจในสาขาวิชาชีพ ผู้สอบบัญชี (CPA) หรือที่เราๆคุ้นหูกับคำว่า ออดิท (Auditor) นั่นเองครับ หลังจากนั้นผมก็คิดอยู่นานว่าจะตั้งกระทู้ ด้านมืด ของออดิทอย่างเราดีมั้ย แต่ผมก็เขียนไม่จบนะ เพราะผมคิดว่าหลายๆคนคงรู้กันว่าอาชีพ ออดิท นี้มีความทรหด อดทน หนักหนามากกันดีอยู่แล้ว จะให้ผมมาพูดอีกก็อาจจะรู้ไม่ดีเท่าท่านๆก็เป็นไปได้



สำหรับกระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาแชร์วิธีการ วางแผน เตรียมตัว ในการสอบ License ที่หลายคนพูดว่าเป็นที่สุดของสายงานวิชาชีพบัญชี นั่นคือ CPA (Certified Public Accountant) นั่นเองครับ และผมคิดว่าเพื่อนๆร่วมวิชาชีพย่อมรู้กันดีว่า ไม่ค่อยมีกระทู้รีวิว หรือแชร์ประสบการณ์การสอบ เรียกได้ว่าแทบไม่มีเลยดีกว่า ในโลกออนไลน์เหล่านี้ เพราะผมก็เหมือนเพื่อนๆแหละครับ ที่มาหาแนวทาง การเตรียมตัวสอบในเว็บไซต์ต่างๆ แต่ก็หาไม่ค่อยจะได้ จนมาวันที่ผมมายืนตรงจุดนี้ เลยอยากมาแบ่งบันความรู้นี้ครับ



ก่อนอื่นผมขอเกริ่นเกี่ยวกับตัวเองนิดนึงครับ เดี๋ยวจะหาว่าเป็นใครอะไรอย่างไร คือผมก็ทำงานในสายงานตรวจสอบตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย ชื่อดังย่านบางเขน ที่ชอบจัดงานแฟร์บ่อยๆ คงไม่มีใครไม่รู้นะครับ ^^ แน่นอนว่าผมต้องจบในสาขาการบัญชี และเข้าสู่สมรภูมิการตรวจสอบ ในสำนักงานตรวจสอบบัญชีข้ามชาติหรือที่หลายท่านรู้จักในนาม BIG4



ผมสอบ CPA License ได้โดยการสอบ 4 ครั้งติดกัน ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 ปี 3 เดือนครับ (ปกติแล้ว CPA เปิดสอบปีละ 3 ครั้งครับ) โดยผมเริ่มสอบได้จากวิชา กฏหมาย 1 ในครั้งแรก, และตามมาด้วย กฏหมาย 2 ในครั้งถัดมา, วิชาการบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สาม, และสุดท้ายกับวิชาการสอบบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สี่ครับ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้น 1 ปีกว่าหลังเรียนจบ ปตรี ครับผม



แน่นอนว่าปัญหาที่เพื่อนร่วมวิชาชีพหลายต่อหลายคน พบเจอในการสอบมหาหินนี้คงเป็นเรื่องของ เราจะแบ่งเวลาอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร ในเมื่อ ออดิท อย่างที่รู้กันว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีเวลาการทำงานตายตัว และปริมาณงานก็มักสวนทางกับปริมาณคนทำคืองานหนักมากนั่นเอง รวมถึงเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่รับการตรวจสอบ เพื่อนร่วมทีม หัวหน้าสายงาน หรือองค์กรณ์ต่างๆเช่น แบงค์ชาติ สภาวิชาชีพบัญชีหรือ กลต เป็นต้น ดังนั้น ผมขออนุญาตแชร์ขั้นตอนวิธีการเตรียมตัวในมุมของผมครับ โดยจะแบ่งเป็นหลายๆตอนนะครับ และขอเริ่มด้วยขั้นแรกคือ




1. ต้องมีเป้าครับ





ใช่ครับอันดับแรกเราต้อง ตั้งเป้าหมายของเราว่า เราจะสอบ CPA นี้อย่างไรทั้งในมุมของ เวลาว่าจะสอบภายในกี่เดือน กี่ปี รวมถึง ในแต่ละครั้งการสอบเราจะลงสอบวิชาใดบ้าง



สำหรับผม  ผมตั้งเป้าหมายโดยเริ่มจากภาพกว้างก่อนครับ ภาพกว้างที่สุดของผมคือ บอกตัวเองว่า ตรูต้องได้ CPA แน่นอน เพราะผมเชื่อนะครับว่าถ้าเราไม่เชื่อมั่นว่าเราทำได้ตั้งแต่ต้น หรือไม่มีภาพความสำเร็จอยู่ในใจ เราจะขาดแรงจูงใจ และพลังในการเดินต่อครับ เพราะมันแน่อยู่แล้วว่าอุปสรรครอคุณอยู่เต็มทางเดินเลย อย่างที่เราๆทราบกันดีว่า ออดิท มักมีปัจจัยภายนอกมาก เช่น ลูกค้าที่ออกตรวจ หัวหน้างาน เพื่อนร่วมทีม หรืออะไรก็แล้วแต่ ปัญหาเหล่านี้มันจะจิ้บจ้อยมาก ถ้าเพื่อนๆยืนอยู่บน ทัศนคติที่ว่าเรา ต้องสอบ CPA ให้ได้ เพราะมันจะคิดค้น วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นมาตามสัญชาตญานของมนุษย์ครับ ทำให้เราไม่แพ้ไปก่อนระหว่างทาง





พอเรามีภาพในหัวแล้วว่า ตรูต้องสอบได้แน่นอน เป้าลำดับถัดมาคือ เพื่อนๆต้องกำหนดเวลาครับ (Specific Time)




การกำหนดเวลานี้คือ เพื่อนๆจะต้องกำหนดไปเลยว่า เราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน X ปี และเขียนมันเอาไว้ในห้องนอน หรือถ่ายรูปเอาไว้หน้าจอโทรศัพท์ หรืออะไรก้ได้ที่จะคอยเตือนคุณว่าคุณได้ สัญญา กับตัวเองแล้วว่าจะสอบ CPA ให้สำเร็จภายในกี่ปี เพื่อไม่เป็นการทรยศตัวเองไงครับ



การตั้งเวลาว่าจะสอบให้ได้ภายในกี่ปีนั้น ต้องอย่างตั้งให้ตึงเกินไปหรือหลวมไป เพราะถ้าตึงเกินไป ผลดีคือคุณสอบได้เร็ว (ในกรณีคุณสอบได้) ส่วนผลเสียคือคุณจะเครียด ครับ แต่ถ้าช้าเกินไป ผลดีคือจะสอบได้สบายๆ เรื่อยๆ แต่ผลเสียคือคุณจะเฉื่อย และขี้เกียจ และอาจรวมถึง เสียเวลาในการทำเป้าหมายต่อไปครับ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เอาเป็นว่าเพื่อนๆก็ลองหาช่วงเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ เป้าหมาย ถัดไป เช่น เราจะไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือ เราจะเปลี่ยนสายงาน หรืออะไรก็ตามครับ มีอีกหลายๆปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละคน ว่าเราควรสอบ CPA ได้ภายในเมื่อไหร่ดี




พอเราได้แล้วว่า เราจะสอบ CPA ภายใน X ปีนะ ขั้นถัดมาคือ วางแผนการสอบแต่ละครั้ง ว่าเราจะต้องได้วิชาใดบ้าง ในครั้งนั้นๆ




CPA เปิดสอบ 3 ครั้งใน 1 ปีนั่นคือช่วง มีนาคม, กรกฎาคม และ พฤศจิกายน ซึ่งในแต่ละครั้งก็อย่างที่เพื่อนๆทราบกันว่า ประกอบด้วย 6 วิชานั่นคือ บัญชี1  บัญชี2 กฏหมาย1 กฏหมาย2 การตรวจสอบ1 และ การตรวจสอบ2 ดังนั้นสิ่งที่อยากแนะนำคือ เอาปากกาขึ้นมาเขียนโพสอิตแปะหัวเตียงว่า ครั้งหน้าที่จะถึงนี้ เราจะต้องอ่านวิชา XX นะ ....ในส่วนของการเลือกรายวิชาว่า จะสอบวิชาใดก่อนหลัง ผมคิดว่าเป็นดุลยพินิจ หรือตามใจเพื่อนๆครับ แต่ในส่วนของผมนั้นที่ผมเลือกวิชา กฏหมาย1 ก่อนนั้น เพราะเป็นวิชาที่หลายๆคนพูดว่าง่ายที่สุด ดังนั้นผมจึงต้องการกำลังใจในวิชาแรกครับ 555 เพื่อนๆหลายคนเลือกวิชาบัญชีเป็นการสอบตัวแรกก่อน เพราะยังมีพื้นความรู้จากที่จบมาใหม่จากมหาวิทยาลัย หรือสอบวิชานี้ก่อนเพราะกังวลเรื่องมาตรฐานการบัญชีจะมีการอัพเดท ก็สุดแล้วแต่วิจรณญานส่วนบุคคลครับ ซึ่งผมขอแนะนำว่าให้ลองถามคนที่ผ่านการสอบมาแล้วหรือค้นหาข้อสอบเก่าๆว่าแต่ละรายวิชา ประกอบด้วยเนื้อหามากน้อย หรือเนื้อหานั้นๆเกี่ยวกับอะไรบ้าง เพื่อจะได้วางแผนถูกครับ





สรุปในขั้นแรก
1. บอกตัวเองว่า เราทำได้ เราทำได้ เราทำได้ (เอาให้มีภาพ มีความรู้สึกในหัวด้วยนะครับ)
2. กำหนดแผนระยะยาว ว่าเราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน XX ปี
3. กำหนดแผนระยะสั้นในแต่ละครั้งการสอบ ว่าเราจะต้องสอบวิชาใดบ้างในการสอบแต่ละครั้ง


ติดตามตอนต่อไปนะครัช เดี๋ยวมาต่อ

6/4/60

Professional Judgement กับ Auditor


Professional Judgement กับ Auditor







ดุลยพินิจนั้นเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ มากๆ และ เพิ่มขึ้นมากอย่างเป็นสาระสำคัญในสายวิชาชีพบัญชี เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็น ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีก็ตาม


เราอาจเห็นได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีมีการพัฒนา และปรับใช้หลายฉบับที่อ้างอิงไปถึงสิ่งที่เรียกว่าดุลยพินิจ เช่น การเพิ่มขึ้นของการวัดมูลค่าจาก มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) หรือ การประยุกต์ใช้ Principles base มากกว่าก่อนที่เราใช้ Rule Base กันซะมาก


จึงมีคำถามต่อมาว่า (ผมก็เป็นคนนึงที่เคยสงสัย) ว่าอะไรคือ ดุลยพินิจที่ดี หรือมีตัวอย่างบ้างมั้ยว่า ฉัน ควรทำอย่างไรถึงให้อยู่ในกลุ่มนักบัญชีที่มี ดุลยพินิจเหมาะสม


ICAS ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการบัญชีของประเทศอังกฤษ แต่ปัจจุบันมีพนักงานอยู่ทั่วโลกราวๆ 20,000กว่าคน (ผมอ่านมาจาก google) ก็เคยออก Framework มาให้ นักบัญชีได้รู้ขอบเขต และรวมถึงยกตัวอย่าง แนวทางที่จะทำให้ เราๆท่านๆเข้าสู่ การมีดุลยภินิจที่เหมาะสม



ดุลยพินิจในด้านบัญชีนั้นมิใช่เพียงแค่ในมิติ ของผู้สอบบัญชีเท่านั้น แต่ใน FRamework นี้ยังรวมถึง Preparer & Regulator อีกด้วย




เท่าที่อ่านภาพรวมๆ มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง
> ทั้ง Preparer & Auditor ต้องมี Professional judgement ซึ่งคือการที่สามารถ "อธิบาย" ความเห็นต่อ กากระทำต่องบการเงินได้ โดยยืนอยู่บน หลักการบัญชี


> Regulator ควรมี Judgement โดยยึดข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่ใช่พวก ข้อมูลสีเทาที่ได้มาอย่างลับๆ


> ความรู้ และ ประสบการณ์ของ นักบัญชีมีผลต่อ Professional Judgement มาก


> .การมีคุณธรรม. ของนักบัญชี (Prepare/ Auditor/ Regulator) เป็นข้อกำหนดที่ต้องมีเป็นอย่างแรกของ Framework นี้


> ในเนื้อหายังกล่าวถึง Professional Skepticism (การสงสัยเยี่งผู้ประกอบวิชาชีพ) ถือเป็นส่วนสำคัญของ High Quality Audit



ในบทความยังแถมตัวอย่างการมี Judgement ที่ดีอีกด้วย (ตั้งแต่หน้า 11 ในลิงค์) ในรูปแบบ รูปธรรม เพราะสงสัยคงเข้าใจหัวอก นักบัญชี (โดยเฉาพะคนไทย) ว่าอะไรอะไร ที่อิงกับดุลยพินิจนั้น ฉัน มักไม่รู็จะเริ่มตรงไหนดี ....ลองอ่านกันได้ในลิงค์ 

24/1/60

สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA : TA & Dip-TFR

สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA : TA & Dip-TFR





สวัสดีครับ หลังจากที่ผมตั้งกระทู้ก่อนหน้าไปบ้างเกี่ยวกับเทคนิค ส่วนตัวรวมถึง ที่เคยได้ยินมาในกระทู้ก่อนหน้าไป 2 หัวข้อแล้ว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พอดีเพิ่งมีเวลามาเขียนต่อครับเพราะคงรู้กันดีว่าชาว ออดิทอย่างเรา ช่วงนี้ชีวิตมีค่ามากขนาดไหน คือ.... ห้ามป่วยห้ามตายครับ เพราะช่วงนี้ที่เรารู้จักกันดีคือ Year End! หรือ Final Audit นั่นเอง




เอาเป็นว่ากระทู้ที่ผมจะมาต่อวันนี้ก็ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัว วางแผนการสอบ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครับ หรือ CPA แต่หัวข้อนี้อาจจะมีข้อมูลที่ผมไม่มั่นใจว่าจะเรียกเทคนิค หรือปล่าว แต่ความคิดผมคือ มันอาจจะช่วยให้เพื่อนๆหลายท่านมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการสอบครับ เพราะจะพูดเกี่ยวกับการสอบอื่นๆที่สามารถต่อยอด ได้จากการสอบ CPA จึงตั้งชื่อ EP นี้ว่า




EP3 ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ครับผมม




อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า CPA มีหน้าที่ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จากการตรวจสอบซึ่ง CPA ท่านนั้นๆจะใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ซึ่งรวมถึงดุลยพินิจ ในการเลือกใช้วิธีการตรวจสอบครับ แต่ก็ยังมี License หรือ ประกาศยณียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเนื้อหาการสอบ และสามารถใช้ประสบการณ์การตรวจสอบนี้ ไปต่อยอด หรือไปสอบเพิ่มเติมได้นั่นเอง (ไหนๆก็อ่านแล้วนี่เนอะ) ดังนั้นผมจะยกตัวอย่างการสอบสองชนิดที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความรู้ที่ใช้สอบ CPA ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสิ่งแนะนำก็สามารถ คอมเมนท์เพิ่มเติมได้นะครับ ผมก็ยังอยากรู้เพิ่มเติมครับ




1. Tax Auditor - TA






อย่างแรกที่จะมานำเสนอก็คือ Tax Auditor ครับหรือ TA นั่นเอง โดยผมค่อนข้างเชื่อมั่นอย่างสมเกตุสมผล ว่าเพื่อนๆหลายท่านคงคุ้นเคย หรือรู้จัก TA นี้ไม่มากก็น้อย เพราะ License นี้พูดง่ายๆก็สามารถถือได้ว่าเป็น ซับเซ็ต หนึ่งของ CPA ครับถ้ามองในมุม เนื้อหาที่สอบ และหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงิน แต่สำหรับ TA นั้นจะขึ้นอยู่กับทาง กรมสรรพากร เป็นหลักครับ




ส่วนนี้เป็นสิ่งแตกต่างใน ภาพรวมสำหรับ TA / CPA ครับ





Tax Auditor จะทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยต่าจาก CPA ที่ทำการแสดงความเห็นจากการตรวจสอบครับ อย่างไรก็ตามผมมองว่าการตรวจสอบนั้นยังอาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งความรู้ทางบัญชี กฏหมายภาษีอากร และวิธีการตรวจสอบ ซึ่งถ้ามองใน รายวิชาที่ใช้สอบแล้ว TA จะประกอบด้วย 3 วิชาเช่นเดียวกับ CPA ครับ แต่ไม่มีการแตกย่อยแต่ละวิชาเป็น 2 ฉบับ (TA 3 รายวิชา และ CPA 6 รายวิชา) อย่างไรก็ตามเนื้อหาการสอบโดยเฉพาะส่วนของ กฏหมายและภาษีอากร ของ TA นั้นจะมีขอบเขตที่จำกัดอยู่ที่ ห้างหุ้นส่วน ครับ 




เพราะ Tax Auditor สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้เฉพาะ ห้างหุ้นส่วน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) และ มีขนาดเล็กครับ ในขณะที่ CPA จะสามารถเซ็นรับรองแสดงความเห็นได้ทั้ง ห้างหุ้นส่วน และบริษัท ครับดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เนื้อหาการสอบ ของ TA จะค่อนข้างน้อยกว่า CPA ครับ แต่ในมุมมองของผม การสอบ TA ไม่ได้ง่ายกว่า CPA เลยครับ อาจเป็นเพราะตอนที่เราๆเรียนวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย เรามักจะไม่ค่อยได้แตะส่วนของ ห้างหุ้นส่วน เท่าใดนัก นั่นจึงอาจทำให้เกิดความไม่คุ้นชินก็เป็นได้ครับ (ส่วนตัวผมสอบ กฏหมาย1 + 2 ของ CPA ผ่านในรอบเดียว แต่กฏหมายของ TA ผมสอบไป 2 รอบครับ





แต่ในรายวิชาบัญชีที่ใช้ในการสอบ TA นั้นผมมองว่าค่อนข้างเบากว่า CPA อาจเป็นเพราะมีเพียงฉบับเดียวและ ไม่ได้อิงตามมาตรฐานฉบับใหญ่ (TFRS) เต็มรูปแบบดังนั้น เพื่อนๆที่กำลังอ่านวิชาบัญชี หรือมีความตั้งใจจะสอบวิชาบัญชีของ CPA สามารถลงสมัครสอบวิชานี้ของ TA ได้ครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ วิชาบัญชี2 CPA อยู่ เพราะเนื้อหาข้อเขียนของ TA มักจะหรือค่อนข้างแน่ที่จะออก การคำนวณต้นทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบัญชี 2 ของ CPA ครับ  ส่วนวิชาการสอบบัญชีผมมองว่าค่อนข้างเหมือนกัน ยกเว้นหน้ารายงานที่ต่างกันอย่างชัดเจน ลองเสิจหาเอาดูนะครับ ซึ่งถ้ามองแล้วเพื่อนที่สอบ วิชาการตรวจสอบหรือ Audit ของ CPA ก็สามารถที่จะสมัคร TA ในรายวิชานี้ได้เช่นกันเพียงแต่เตรียมตัวเพิ่มเติมในส่วนของหน้ารายงานที่ใข้กับ TA ครับผม





2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR 




อันดับต่อมาที่จะแนะนำก็คือ Diploma in Thai Financial Standard ครับหรือมีขื่อเล่นว่า Dip-TFR เพื่อนๆหลายคนอาจงงว่าทำไมในรูปข้างบนเป็น Dip-IFR นั่นก็เพราะการสอบนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศก่อนหน้าที่จะถูกนำเข้ามาโดยสภาวิชาชีพบัญชีครับ ซึ่งเป็นการสอบที่จัดโดย ACCA นั่นเองโดยประกาศนียบัตรนี้จะไม่เกี่ยวกับ ออดิทครับ (อ้าาววว แล้วมาบอกทำไม) แต่จะใช้ความรู้ด้านการบัญชีที่ลึกซึ้ง (มาก) โดยการสอบ Dip-IFR และ Dip-TFR นั้นมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ ภาษา ที่ใช้ในการสอบนั่นเอง




ประกาศนียบัตรนี้เกี่ยวกับฝั่งผู้ ทำบัญชี นั่นเองโดยการสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐานฉบับเต็ม หรือ TFRS ครับซึ่งเหมาะมากสำหรับ ผู้ทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานฉบับใหญ่ ซึ่งส่วนมากคือ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือ บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือครับ หลายๆคนอาจสงสัยว่าแล้วจะสอบไปทำไม ....คือประโยชน์ของประกาศนียบัตรนี้สามารถรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และเป็นที่ยอมรับและรู้จักกว้างขวางในต่างประเทศครับ โดยผมมองว่าเปรียบเหมือน CPA ที่จะสามารถเซ็นตรวจสอบงบการเงินของ บริษัทมหาชน ได้นั้นจะต้องได้การยอมรับจาก กลต บ้านเราก่อน ดังนั้นในส่วนของผู้ทำบัญชีของบริษัทมหาชน ก็ควรที่จะมีการทดสอบความรู้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสภาวิชาชีพจึงนำการทดสอบนี้มาใช้ในไทยครับ อย่างไรก็ตามในประเทศเรายังไม่มีการบังคับใช้ว่าถ้าจะทำบัญชีในบริษัทมหาชนนั้น จะต้องมีใบประกาศใบนี้ครับ












ถ้าสอบได้จะเกิดอะไรขึ้น ? แน่นอนว่าคุณจะได้รับการยอมรับโดยเฉพาะความก้าวหน้าในสายงานในบริษัทมหาชน หรือบริษัทที่ต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม ครับเพราะความรู้ทางบัญชีที่ถูกใช้ในการสอบ Dip-TFR นี้เรียกได้ว่าหินมากกว่า ลึกมากกว่า และเครียดมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ วิชาบัญชี ของ CPA ครับ และประโยชน์อย่างอื่นคือ คุณสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย 





ประโยชน์อีกมิติหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้างต้นคือ ถ้าคุณสอบในประกาศฉบับนี้ได้คุณจะได้รับการ เชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องครับ *0* มากกว่านั้นคือคุณจะได้ถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมาครับ ^^






ถ้าเพื่อนคนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบวิชาบัญชีของ CPA อยู่พอดีก็อยากจะเชื้อเชิญให้ไปสอบ Dip-TFR กันต่อนะครับ เพราะในอนาคตเราๆท่านๆก็คงต้องยุ่งเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางเงิน ไม่มากก็น้อย และยังเป็นเหมือนตรารับรองว่า ความรู้ทางมาตรฐานฯนั้น มากพอที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ทางบัญชีหนักๆด้วยครับ ซึ่งสำหรับเนื้อหาการสอบก็จะล้อตามมาตรฐานที่ใช้ในการสอบวิชา บัญชีของ CPA ทั้งวิชาบัญชี 1 + 2 ครับแต่จะค่อนข้างลึกลับซับซ้อน และอาศัยความคิดที่หนักกว่า โดยข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองจะมาพร้อมกัน 4 ข้อโดยผู้สอบสามารถเลือกทำ 3 ข้อครับ ซึ่งทั้งหมดคือการสอบแบบ เขียนล้วนๆ โดยปัจจุบันการสอบนี้จัดสอบปีละ 2 ครั้งและมีผู้ผ่านการทดสอบ ไม่ถึง 20 คนทั้งประเทศครับ (ธันวาคม 2559) 




สำหรับกระทู้นี้ผมเรียกว่า แวะมาแนะนำ สิ่งที่เปรียบเสมือนผลพลอยได้จากการอ่าน CPA อันหนักหน่วง เพื่ออาจจะกระตุ้นหรือเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆได้ครับ หัวข้อถัดไปเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ ในสิ่งที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ CPA ในแต่ละรายวิชา




ปล สำหรับใครที่สนสมัครสอบ Tax Auditor สามารถแวะดูข้อมูลได้ที่ (กำลังเปิดรับสมัครรอบ 1/2560) >>>http://www.rd.go.th/publish/16532.0.html


ส่วนการสมัคร Dip-TFR นั้นสามารถเยี่ยมชมได้ที่ เว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีครับหรือ โทรไปสอบถามก็ได้ครับ >>> http://www.fap.or.th/index.php

15/1/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part1


ด้านล่างเป็นกระทู้ที่เขียนไว้สักพัก ใน Pantip.com ครับเลยจะเอามาแบ่งปันกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ผมพบเจอ และคิดว่าเป็นข้อดีของสายงานในอาชีพนี้ครับ ยังไงลองกันดู 


อันนี้เป็นลิงค์ Part อื่นๆต่อจาก นี้นะครับผม คอมเมนท์กันได้ฮะ

Part2 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-2.html
Part3 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-3.html
Part4 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-4.html
Part5 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-5.html

ลิงค์กระทู้เต็มในพันทิปคือ >> pantip.com/topic/35809887 



สวัสดีครับผม ผมเป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพ สอบบัญชี หรือที่คนทั่วๆไป เรียกว่า ออดิท (Auditor)  ส่วนผู้ที่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้จะมีชื่อว่า Certified Public Accountant (CPA) นั่นเองครับ 




แต่เพื่อนบางคนอาจจะงงว่า ออดิท นั้นหมายถึง ผู้ตรวจสอบบัญชี ทุกคนเลยหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่า ออดิทเนี่ยแบ่งเป็น Internal Audit และ External Audit ครับ ซึ่งในส่วนของ Internal Audit จะเป็นคนในบริษัทนั้นๆที่ทำหน้าที่ดูว่า ไอ้ระบบที่ ท่านๆ ในองกรณ์วางไว้เนี่ย ได้รับการปฏิบัติตามมากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงอะไรที่จะเกิดได้บ้าง เพื่อให้บริษัทอยู่ได้อย่าง Smoothly




ส่วน External Audit ก็จะเป็น คนนอก ครับ(ก็ชื่อก็บอกเนอะ) ที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทนั้นๆ เพื่อมาตรวจสอบในมุมของ งบการเงิน เป็นหลัก ซึ่งออดิทประเภทนี้มักจะ วนเวียนมาที่บริษัท สามเดือนครั้ง หกเดือนครั้ง หรือปีละครั้งบ้างก็แล้วแต่ ขึ้นกับหลายๆอย่าง




เอาล่ะครับ เพื่อนๆหลายคนคงพอทราบถึงแง่ของ มุมดาร์ค ของสายงานนี้จากหลายๆแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นคำบ่นหรือเพื่อนที่ทำอาชีพนี้ในเฟซบุ๊ค ,เสียงลือเสียงเล่าอ้าง หรือเห็นการทำงานของพวก "ออดิท" เหล่านี้ที่แวะเวียนมาที่ออฟฟิตตัวเอง ว่าอาชีพนี้นี่คนจะมาทำต้อง ดึก ถึก และห้ามตาย* รวมถึงสภาพการทำงานก็มักจะเลิกกันดึกๆดื่นๆ เรียกได้ว่าวันไหนที่ ออดิทเลิกแล้วยังเห็นพระอาทิตย์ เรียกว่าชีวิตเหมือนได้มงกุฏมิสเวิลในวันนั้น *.*




แน่นอนครับผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบเหตุการณ์ เรียกว่าพ าญพบน่าจะดู Adventure มากกว่า กับเหตุการณ์นั้นๆ 




แต่ในกระทู้นี้ ผมอยากมาเล่าสิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นประโยชน์ในวิชาชีพนี้บ้างครับ เพราะผมคิดว่ามันไม่ได้ด้อยไปกว่าด้าน ดาร์คๆ เหมือนที่หลายๆคนทราบแน่นอน เรามาเริ่มกันเลย! ! ! ! 




1. เงินดีหนิ 


Cr.http://time.com/money/3557545/do-you-have-a-money-related-ethical-dilemma-tell-us-about-it/


ใช่ครับหลายคนพอนึกถึงออดิท นอกจากงานที่หนักหน่วงแล้วในมิติของ งานที่ค่อนข้างได้รับผลตอบแทนดี ก็มักเป็นที่รับรู้ของคนทั่วๆไป ผมยอมรับเลยครับว่าอาชีพนี้ ค่อนข้างเห็นผลตอบแทนที่ ดีกว่า ในระดับเดียวกัน (ผมวัดดูจากคุณวุฒิที่จบมาทางธุรกิจและ วัยที่เท่าๆกันนะครับ) 




ผลตอบแทนนอกจากจะ เริ่มต้น ย้ำว่าเริ่มต้นสำหรับนิสิตจบใหม่(์New Grad) ที่ค่อนข้างสูง กว่าสาขาอื่นในสายงานธุรกิจ เงินเดือนของออดิท ยังเป็นที่ยอมรับในแง่ที่ว่ามีการ เพิ่มขึ้นในแต่ละรอบที่ สูงมากอีกด้วย (แอบกระซิบว่า ปีละไม่ต่ำกว่า 10%-20% ครับ (แต่ปีที่แล้วรอบๆตัวผมเงินเดือนขึ้นมา 30%นะ* )) และการเพิ่มขึ้นจะเพิ่มทุกๆปี (ผมยังไม่เคยปีไหนไม่เพิ่มนะครับ) แม้ปีนั้นบริษัทเพื่อนคุณจะบอกว่า ปีนี้บริษัทผลประกอบการไม่ดี ของดการเพิ่มเงินเดือน ก็ตาม




เงินเดือนนี่ยังจะยิ่งเข้มข้นและ จำนวนจะมีนัยสำคัญ* มากขึ้นถ้าคุณทำงานใน ออดิทเฟิม (สำนักงานตรวจสอบบัญชี) ที่มีชื่อเสียงหรือที่เราเรียกว่า BIG4 (KPMG/ Deloiite/ EY/ PwC) และจะจ่ายดี มากขึ้นไปอีกถ้าคุณทำงานมามากกว่า 10ปี และก้าวสู่ตำแหน่ง หุ้นส่วน หรือ Partner ในบริษัทเหล่านั้น แต่เงินเดือนของเหล่า "พาทเนอร์" จะถูกเก็บเป็นความลับมากๆ และมีการคาดเดากัน(อย่างค่อนข้างแม่นยำ) ว่าสามารถซื้อรถ Toyota Camry ได้ทุกเดือนและอาจมากกว่าเดือนละ 1 คัน...





2. ประสบการณ์ที่เรียนรู้ แทบทุกอณูความเคลื่อนไหวของ "ลูกค้า"

Cr.http://www.investopedia.com/articles/professionals

ใช่ครับ "ออดิท" จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำงบฯ เท่านั้นแต่ในขั้นตอนกว่าจะได้มาเป็นงบนี่น่ะสิครับ ออดิทเราจะต้องทั้ง ทำความเข้าใจกิจการ เพื่อวางแผลว่าเราจะตรวจสอบอย่างไรดี




การวางแผนการตรวจนั้น ออดิทต้องทำความรู้จักใน Core Business หรือลักษณะธุรกิจหลักๆของ ลูกค้า(คนที่มาจ้างเรา) ไม่ใช่เพียงแต่อ่านเอกสาร หรือหนังสือ วีดีทัศน์แนะนำบริษัท แต่เราจะมีการ จัดประชุมกับผู้บริหารระดับบึ้ม ขององกรณ์เพื่อสอบถาม วิถีชีวิตของบริษัท ทั้งที่ผ่านมาแล้ว และแพลนว่ากำลังจะทำอะไร (แน่นอนครับว่าต้องเก็บเป็นความลับขั้นสุด) เพื่ออะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะการบัญชีในปัจจุบันไม่ได้แค่บันทึก รับเงิน จ่ายเงิน ซื้อของ แต่บัญชีในปัจจุบัน จะต้องมีการรับรู้ "สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น" เข้าไปหรือเอาไปบอกไว้ในงบการเงินอีกด้วย เช่น! บริษัทมีคดีความกับลูกค้า แล้วผู้บริหารดูเหมือนบริษัทจะแพ้ ไอ้แบบนี้ออดิท ก็จะเป็นคนรู้ แล้วดูต่อว่าสมควร เปิดเผย อย่างไรดี (คนนอกหรือแม้แต่พนักงานบริษัทเอง ผมว่าอาจไม่มีทางรู้เลยด้วยซ้ำ)



โครงสร้างของบริษัท ออดิทก็ต้องทำความเข้าใจครับ ไม่ว่าจะเป็น ใครใหญ่กว่าใคร การทำงานเป็นอย่างไร จะจ่ายเงินระดับสิบล้านต้องมีใครเซ็นบ้าง หรือรวมถึง เงินเดือนของแต่ละคน! 



ใช่ครับออดิทจะทราบถึงโครงสร้างภาพรวมเหล่านี้ เพื่อมาออกแบบวิธีการตรวจแล้วก็ดูๆว่า ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นจากตรงไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นทุจริต หรือข้อผิดพลาด การที่กิจการต้องเปิดเผยสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งและ ผู้บริหารปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องจัดเตรียมข้อมูลให้ออดิทครับ เพราะมันเป็นข้อตกลงขั้นแรกๆในการที่ออดิทจะตอบรับงานเลย! แม้ว่าผู้บริหารจะบอกว่าข้อมูลนั้นลับแค่นั้น แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการตรวจสอบ ก็ต้องเอาให้ออดิท ยืมมาดู หน่อยเช่น เงินเดือน! เป็นต้น 



เห็นมั้ยครับว่าการที่จะได้มาในข้อมูลแต่ละส่วน ออดิทจะต้อง ติดต่อกับฝ่ายต่างๆแทบจะทั้งองกรณ์ เช่น ผู้บริหารชั้นท้อป, ฝ่ายHR, ฝ่ายกฏหมาย และแน่นอน ฝ่ายการเงินและบัญชี