13/7/60

การฉ้อฉลผู้บริหาร ผ่านวิธีการ บันทึกบัญชี การด้อยค่า

การตีด้อยค่า และความฉ้อฉลของผู้บริหาร..จากเครื่องมือทางการบัญชี




หลายคนคงได้ยินการที่ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบทางด้านบัญชี มักใช้กลเม็ดทางการบัญชี เป็นศรีธนญชัย ในการตกแต่งตัวเลขมาหลายกรณี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่ค่อยโด่งดังเหมือน กรณีอื่นๆที่จะยกมาเล่าให้ฟังสั้นๆในวันนี้ก็คือการใช้ การตั้งการด้อยค่า ตามมาตรฐานเบอร์ 36 ...





ปกติแล้วในกิจการ หรือในงบดุล(ขอใช้ชื่อเก่า) ในฝั่งสินทรัพย์นั้นถ้ามี ข้อบ่งชี้ ที่มูลค่าที่น่าจะได้ (ไม่ว่าจะขายสินทรัพย์ หรือใช้งานมัน) น้อยกว่า มูลค่าตามบัญชี .... เราก็จะมีการพิจรณาตั้งค่าเผื่อกันปกติ ตามกิจวิสัย




แล้วมันเป็นเครื่องมือ ใช้ในการตกแต่งได้อย่างไร ...




ลองคิดดูในกรณีที่กิจการ (ยิ่งพวกบริษัทในตลาดฯ) ที่มักปล่อยกู้กันในบริษัทในเครือ หรือบริษัทลับแล ที่ตั้งอยู่ไหนไม่รู้ มีตัวหรือมีแค่กระดาษจดทะเบียนหรือปล่าวก็ไม่รู้ โดยที่ผู้บริหารของ บริษัทใหญ่ รู้เห้นเป็นใจ มีสายอำนาจอยู่ในบริษัทที่มาขอกู้นั้นๆ




เมื่อบริษัทใหญ่ปล่อยกู้ไป
Dr. ลูกหนี้เงินกู้ XXX
Cr. เงินสด XXX


วันดีคืนดี ก็นึกอยากจะตั้งหนี้สงสัยจะสูญ หรือร้ายกว่านั้นก็ไม่สงสัยมันละ ก็ตั้งเป็นหนี้สูญมันเลย โดยที่ทึกทักข้อบ่งชี้ ว่าไอ้เงินให้กู้ก้อนี้เนี่ยมัย สูญแน่ๆ โดยชักแม่น้ำทั้งแปดมาพูด

Dr. หนี้สงสัยสูญ YYY
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญ YYY
หรือ
Dr. หนี้สูญ YY
Cr.ลูกหนี้เงินกู้ YY





สุดท้ายแล้ว ผู้ถือหุ้นคนอื่นก็ไม่รู้อะไร เพราะปล่อยกู้แบบเนียนๆ และตัดสูญแบบเนียนๆ ในงบก็ไม่มีให้แกะรอย มิหนำซ้ำผู้สอบบัญชีหลายท่านนน ยังไม่ทึกทักอีก ว่าไอ้ที่ตั้งตัดหนี้สูญนี่ มันมีมูลเหตุที่เหมาะสมไหม  ผลประโยชน์เลยไม่ต้องเดาว่าไปไหน นอกจากไอ้บริษัทที่มีสาย กับผู้บริหารบริษัทแม่





ยังมีอีกหลายช่องทางในการ นำเงินจากบริษัทแม่โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาด ยักย้ายไปโดยไม่สมควร ดังนั้นแล้วไม่ต้องสงสัยว่าทำไม หลายต่อหลายเศรษฐี ถึงตั้งใจปลุกปลั้นบริษัทในมือตัวเอง เพื่อให้เข้าตลาด แบ่งคนอื่นมาร่วมเป็นเจ้าของ...รับความเสี่ยง ด้วยกันนั่นเอง


13.07.2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น