3/7/60

ภาษีร้านทอง...

ภาษีร้านทอง...





ปีนี้หลายท่านคงสังเกตุเห็นถึงการ รุก ของกรมสรรพากรต่อความตั้งใจที่จะทำให้การจัดเก็บภาษี เป็นตามไประบบระเบียบมากที่สุด ซึ่งมีหลายต่อหลายเครื่องมือที่เห็นได้ชัดที่ช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ สมใจมากขึ้น




ไม่ว่าจะเป็นการคลอดกฏระเบียบสนับสนุนการจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างๆ เช่น การจดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การสนับสนุนให้จัดทำบัญชีเล่มเดียว การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเย้ายวนใจผู้ประกอบการมากมายให้กลายร่างจาก บุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล




และธุรกิจที่ค่อนข้างเป็น เป้าหมาย และ ความตั้งใจของท่านๆคงหนีไม่พ้น ... ร้านทอง ร้านยา และร้านค้าออนไลน์





ในมิติของร้านทองนั้น มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ รวมถึงการทำบัญชีอยู่พอสมควร เพราะใน 1 ร้านทองสามารถมองลึกลงไปได้หลายธุรกิจที่ซ้อนกันอยู่ไม่ว่าจะเป็น

1. ซื้อทองจากผู้ขายส่ง และขายให้ผู้บริโภคอย่างเรา
2. ซื้อทองเก่าจากผู้บริโภคอย่างเรา ไปขายให้ร้านขายส่ง
3.รับจำนำทองคำ
4. รับฝากขายทองคำ
5. ให้กู้โดยมีทองคำมาค้ำ
6. อื่นๆ

และยังคงมีอื่นๆอีกที่ซ่อนอยู่ในร้านค้าขายที่ธรรมดาแต่ราคาไม่ธรรมดาแห่งนี้





แค่ลองนึกถึง ขั้นตอนแรก ของการจดทะเบียนนิติบุคคลก็เริ่ม ปวดหัว เพราะแน่นอนว่าผู้ประกอบการก็ต้องอยากอยู่ในเกณฑ์ ธุรกิจขนาดกลางและขาดย่อม หรือ sme แต่นี่คือทองคำ ดังนั้นเมื่อแรกเราโอน ทองคำเข้าสู่ ร้านค้า(นิติบุคคล) แน่นอนว่าฝั่ง ทุนก็ต้องเกิน 5 ล้านบาทตามเกณฑ์ sme แน่นอน






แต่จะว่าไปก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีทางหนีซะทีเดียว เพราะเราสามารถ ตั้งให้ อาเตี่ย อากง อาม่า หรือใครๆเป็น เจ้าหนี้ แก่ร้านทองนั้นๆได้ เสมือ ร้าน ยืม ทอง จาก อาๆทั้งหลายนั่นเอง ...คำแนะนำคือ หาสำนักงานบัญชีเก่งๆ หรือพอจะมีประสบการณ์การทำบัญชีร้านทอง ก็น่าจะช่วยท่านๆได้นะดับหนึ่ง







ความปวดหัวยังไม่จบ ถ้ามองมิติของ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT เพราะทองก็จะถูกคิด VAT ไม่เหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ






ปกติเราซื้อข้าว 107 บาทจะแบ่งเป็น ราคาข้าว 100 บาทและ ภาษี(ซื้อ) 7 บาท
แต่กับทองนั้นไม่ใช่ เพราะร้านทองแต่ละร้านที่ขายทอง รูปพรรณให้แก่ผู้ซื้อต้องนำ ราคาขายรวมค่ากำเหน็จ หักด้วย ราคารับซื้อทองที่สมาคมประกาศ ได้เท่าไหร่ผลลัพธ์จึงมาคิด VAT






เมื่อมีการจดเป็นนิติบุคคล อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การจัดทำบัญชีสินค้าคเหลือ หรือทองคำนั่นเอง เพราะสรรพากรก็อยากให้แจงให้ได้ว่า งวดๆหนึ่งเราขาย ซื้อ แลก ทองคำมีที่มาที่ไปอย่างไร ทั้งทางด้านจำนวน และมูลค้า ซึ่งการจะทำบัญชีสินค้า(Stock) นี้ขึ้นมาก็ต้องสอดคล้องกับบัญชีที่ยื่นในการจ่ายชำระภาษีอีกด้วย






เจ๊เจ้าของร้านหลายคงได้ยินเพียงเท่าน้ถึงกับกุมขมับ ว่าจะจดไม่จดดี เพราะภาระมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็มีข้อดีที่แฝงอยู่ เช่น เป็นการทำให้ร้านมีระบบจัดการที่ดีขึ้น, ระดับการคำนวณอัตราภาษีที่ต่ำลงกว่าบุคคลธรรมดา, ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น







สิ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ก็คือ ทางร้านทองควรหาสำนักงานบัญชีดีๆ สักที่ ที่มีประสบการณืในการทำบัยชีร้านทอง เพื่อที่คุณจะได้ คำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารบัญชีและภาษี ผมคิดว่าไม่ควรฝืนว่าจะทำบัญชีด้วยตัวท่านเอง เพราะมันยุ่งยาก ...สู้ดีเอาเวลาไปหาเงินหาทองดีกว่าครับ




1 ความคิดเห็น:

  1. http://acseso.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AD/ เอกสารจากสรรพากร เอามาแบ่งเผื่อเจ้าของร้านทองว่างๆอ่านได้ครับ

    ตอบลบ