24/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 3


มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )



5. เวลาการทำงาน Kod Flexible ! (Kod = Very in Thai)

Cr pic . managersdigest.co.uk

ก่อนอื่น Flexible แปลว่า ยืดหยุ่น หลวมๆ หยวนๆ นะครับ และใช่ครับผมว่าข้อนี้ชาวออดิท หรือคนที่เคยทำงานด้วย มักจะรู้กันดีว่าเวลาการทำงาน (Working Hours) ของออดิทนั้น คือ..... คือเมื่อไหร่แน่ ก็เพราะว่าออดิท (มักจะ) ไม่มีการตอกบัตรเข้าออก หรือฉันต้องรีบตื่นตีห้า มาออฟฟิต 8.298 น. เพื่อทำการแตะบัตรให้ทัน 8.30น คุณจะไม่พบอะไรแบบนี้ที่สำนักงาน สอบบัญชีครับ (เท่าที่ผมทราบมานะ) แต่เรา(ขออนุญาตใช้เรา = ออดิท) จะยึดว่า "งานต้องเสร็จ" และ "ความรับผิดชอบนี่เองที่ทำตัวเป็นนาฬิกาให้เราครับ"



อย่างไรก็ตามคำว่าไม่มีเวลาเข้าออกอย่างเป็นทางการ ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะตื่น  จะเริ่มงานตามใจเฉิ่มแฉะได้ เพราะออดิทจะทำงานโดยแบ่งเป็นทีมๆ (มีตั้งแต่ 2-20คนหรือมากกว่า ตามขนาดหรือความซับซ้อนของลูกค้าที่เข้าตรวจ) ดังนั้นการที่คุณจะมาสายมากเกินควร ก็คงจะไม่ดีตราบใดที่เรายังมี ความแคร์เพื่อนร่วมงานในทีมเนอะ ซึ่งปกติเนี่ยผมก็มักจะถึงออฟฟิตลูกค้าที่เข้าตรวจประมาณ 9.15น (ที่จริง 9.30น. แต่คิดว่าสิบห้านาทีทำให้ตัวเองดูดีขึ้นมาหน่อย) ซึ่งคิดว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ออดิทมักจะเริ่มงานกันนะครับ เพราะบางท่านๆ ก็เข้างานประมาณ 11 โมงก็มี หรือที่พีค เท่าที่เคยทราบคือ บ่าย2 ครับ ครับ 2pm!



แต่การที่ออดิทเข้างาน สายในสายตาบางท่าน มันแฝงด้วยเหตุผล (เราเรียกว่าเหตุผลนะ อิอิ) คือถ้าสมมติว่าลูกค้ารายนั้นๆ เริ่มงาน 8 โมงเช้าโดยปกติ แล้วออดิทเข้างาน 8 โมงเช้าเท่ากัน ผลคืออะไรน่ะหรอครับ กลายเป็นว่าลูกค้าไม่ได้ทำงานของตัวเองในช่วงแรกเลย (ใครพอคลุกคลีจะทราบว่า ช่วงออดิทเข้าตรวจ เค้ามักจะไป วนเวียน ระบบงานปกติของคุณ) และทำให้การเข้างานเช้าของออดิทนั้น ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมาครับ อย่างไรก็ตามบางบริษัท ก็มักจะ กำหนดกฏเกณฑ์มาเลยว่า ออดิท ต้องเริ่มและ เลิกพร้อมกับเวลาทำงานของบริษัท ซึ่งนั่นก็ช่วยไม่ได้จริงๆครับ ถ้าออดิทจะไปสวัสดีคุณบ่อยๆ เพื่อที่จะขอเอกสารให้ทำงานทัน ตามเวลาของเรา



"ดีมากๆเลยล่ะสิ เข้ากี่โมงก็ได้ สบายจัง" กำลังคิดแบบนี้กันใช่มั้ยครับ ซึ่งมันก็ถูกและไม่เถียง แต่เพื่อนๆวนกลับไปดูว่า นาฬิกาของเราคือความรับผิดชอบว่างาน "ต้องเสร็จ"  ดังนั้น เมื่อมันไม่มีการกำหนดเวลา เริ่มต้นตายตัว.. เวลาเลิก มันก็ไม่ตายตัวเช่นกันครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับ ความซับซ้อนธุรกิจ, ความพร้อมของเอกสาร, มุมมองของลูกค้าต่อออดิท รวมถึงความสามารถของออดิทเองด้วย ที่จะเป็นหลายปัจจัยที่กำหนดว่า ลูกค้ารายนั้นๆ เราจะเริ่ม เลิก กันกี่โมงด้วยครับ



และเนื่องจาก ออดิท "มัก" เริ่มทำงานโดย สายกว่า เวลาปกติของพนักงานออฟฟิตทั่วไป ดังนั้นมันก้เหมือนมี กฏที่เรารู้สึกกันเองด้วยจิตวิญญาณ (คือ ความรู้สึกอะครับ) ว่าเราควรกลับบ้านเลทหน่อยนะ เพราะวันนี้เรามาช้า หรือบางทีเราก็ไม่รู้สึกครับ เพราะงานมันเสร็จก่อนเวลา เราก็พร้อมที่จะเข้างานประมาณ 10 โมงเช้า และกลับบ้านเวลาเดียวกับลูกค้า ประมาณ 5 โมงเย็น แม้ว่าคุณลูกค้าจะเริ่มงานก่อนก็ตาม งงมั้ยครับว่าตกลง ออดิท รู้สึกหรือไม่รู้สึก ผมก็งงครับ 555 คือมันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยครับเช่น เรามั่นใจว่างานที่ทำเสร็จทันเวลา / คุณลูกค้าเข้าใจเรา / เพื่อนร่วมทีมไม่คิดว่าการกลับก่อนเป็นการหักหามน้ำใจ หรือการกลับบ้านดึกไปเป็นการแสดงเพาเวอร์ที่ไม่เหมาะสม หลายปัจจัยจริงๆครับ


Cr. pic > https://www.flexjobs.com/jobs/telecommuting-jobs-at-google



และความ หลวมๆ ของเวลานี่เองที่ทำให้ ออดิทสามารถจัดการเวลา ( Time Management) ด้วยตัวเองได้ด้วยความรับผิดชอบที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ถ้าทำไม่เสร็จเราก็ต้องยอมที่จะนำเวลาในวันหยุด มาทำงานให้เป็นไปตาม "ต้องเสร็จ Basis" หรือในกรณีที่งานตรวจสอบของลูกค้า รายหนึ่ง ขออนุญาตยกตัวอย่างจริงของผม เลยละกันครับเพื่อความสมจริงสมจัง ว่า ลูกค้ารายนั้นเป็น โรงแรม 5 ดาวตั้งอยู่ติดหาดไม้ขาวที่ภูเก็ต และทีมมีความคุ้นเคยกับลูกค้า (เคยตรวจมาก่อนแล้วครับจึงเข้าใจภาพรวม) และลูกค้ามองออดิทในทัศนคติที่ดี ทำให้เวลาขอเอกสารหรือ สอบถามสิ่งที่สงสัย เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ผลคือ ทีมเราเริ่มทานอาหารเช้า (ถ้าตรวจสอบกิจการโรงแรม ออดิทมักจะได้ทานอาหารเช้าบุฟเฟ่ และพักในโรงแรมนั้นๆครับ) ของโรงแรม 5 ดาวนั้นเหมือนแขกคนหนึ่งทุกวันเวลา 8.45 - 9.20น (ประมาณนะ) และ ทีมเราจะเลิกงานก่อน 6 โมงเย็นเพื่อดูพระอาทิตย์ หย่อนตัวลงอันดามัน ครับ เป็นไงล่ะครับ แต่การ บริหารเวลานั้นยังรวมไปถึง ออดิทสามารถจะไปลง เรียนปริญญาโท ตอน 6 โมงเย็น ถึง สามทุ่มแล้วทำ thesis ต่อถึงตีสาม แล้ววันรุ่งขึ้น ตื่น 10 โมงมาทำงาน เที่ยง ก็เป็นไปได้เสมอ ตราบเท่าที่คุณบริหารเวลาของตัวเองได้ครับ



ปล ยังมีอีกหลายมุมมองในการบริหารเวลาของเหล่า ออดิทนะครับ เช่น จัดสรรเวลาไป เล่นฟิตเนสให้ล่ำๆ / อ่านหนังสือเพื่อสอบใบอนุญาต CPA หรือ แม้แต่นัดแฟนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น