20/11/61

40(2) / 40(6) / 40(7) และ 40(8) ต่างกันอย่างไร


เป็นที่ทราบกันดีว่ารายได้ที่จ่ายให้กิจการ หรือบุคคลทั่วๆไปสามารถแบ่งตามสรรพากรได้หลักๆ 8 ประเภทตามมาตรา 40และทุกๆครั้งที่มีการจ่ายเงินออกจากคนหรือกิจการนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงการ หัก ณ ที่จ่ายด้วยครับ (ผู้จ่ายชักเงินไว้นิดหน่อย เพื่อส่งสรรพากร) แต่ที่สำคัญคือแต่ละประเภทของเงินได้นั้น จะมีการหัก ณ ที่จ่ายไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความสับสนได้ โดยเฉพาะ ประเภท 40(2)การรับจ้าง, 40(6)เงินจากวิชาชีพ, 40(7)เงินจากการรับเหมาและ 40(8)เงินได้จากค้าขายหรืออื่นๆที่ไม่เข้า 7 ข้อ โพสต์นี้เลยจะมาแชร์การมองอย่างคร่าวๆในทางปฏิบัติว่าเราจะแยกได้ยังไง


40(2) การรับจ้าง การรับจ้างที่เข้าประเภทนี้ จะเป็นการทำงานที่ใช้แค่ แรง เท่านั้นและไม่เข้าข่ายวิชาชีพ (ทนาย สถาปัต วิศวะ บัญชี หมอ อะไรแบบนี้) เช่น ค่านายหน้า, ค่าพริตตี้, ต่าเน็ตไอดอลรีวิวสินค้า, ค่าที่ปรึกษา, ฟรีแลนซ์เขียนเว็บ, รับจ้างเขียนบล็อค, ฟรีแลนซ์ทั่วไป สังเหตุมั้ยครับว่ามันจะอารมณ์แบบ คยเดียวก็ทำงานได้เสร็จ


40(6) วิชาชีพ -  ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ครับซึ่งเราต้องมองก่อนว่าเป็นงานที่ ถ้าไม่เรียนจบในสายนั้นๆมาจะทำได้มั้ย ถ้าไม่ได้ก็จะเข้าข้อนี้เลย และถ้าเข้าข้อนี้ข้ออื่นๆก็ไม่ต้องพิจารณาครับ



40 (7) การรับเหมา และ 40(8) ทั่วไป ที่เอาสองข้อนี้มาไว้ด้วยกันเพราะคล้ายกันมาก และบ่อยมากที่คนจะแยกไม่ออกว่าเงินได้หรือจ่ายนั้นเป็นประเภทไหนแน่ สำหรับสอบข้อนี้มักเป็นการว่าจ้างให้ทำ โดยประเภทที่ 7 ผู้รับจ้างต้องมีทั้ง แรง และวัสดุเครื่องมือที่จำเป็น แต่ข้อ 8 มักจะเป็นในเชิงของ ธุรกิจ พานิชย์ โดยไม่มีวัสดุเครื่องมือมาเกี่ยวข้อง แต่จะไม่ถึงขั้นที่คนเดียวทำเสร็จ อาจจะมีทีมหรือมีสถานที่ตั้งของกิจการ



ในโพสต์ได้ทำแผนภาพคร่าวๆให้ในการพิจารณาหวังว่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจนะครับ

รวมหลักสูตร เรียนบัญชี (Accounting) ในอเมริกา (ฉบับคร่าวๆ) by P’Mary Jojo

พอดีผมเห็นบทความของพี่ Mary Jojo เขียนไว้เกี่ยวกับการเรียนบัญชีในอเมริกา แล้วเห็นมีหลายคนสนใจเลยนำมาให้อ่านกันเผื่อเป็นแนวทางครับ ขอบคุณพี่ Mary Jojo ที่อนุญาตให้นำมาแบ่งปันมากๆครับ



รวมหลักสูตร เรียนบัญชี (Accounting) ในอเมริกา (ฉบับคร่าวๆ)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาชีพนักบัญชี ก็คล้ายๆวิชาชีพบางสายงาน เช่น พยาบาล หมอ ทนายความ ที่มันแบ่งเป็นความสามารถเฉพาะทางย่อยไปอีกนะคะ ไม่ใช่หลักสูตรครอบจักรวาล หรือเก่งทุกarea ยกเว้นจะไปลงเรียนเพิ่มมันทุกarea ตย.เช่น หมอ ก็มีหมอเฉพาะทาง หมออายุรศาสตร์ หมอสู หมอผ่าตัดยังแบ่งเป็นผ่าตัดส่วนไหนของร่างกาย ผ่าตัดเพื่อสุขภาพรึผ่าเพื่อเสริมความงาม บัญชีก็เช่นกัน แบ่งเป็นเฉพาะทางไปอีก เช่น ทำภาษี audit bookkeeping payroll ก็ว่ากันไป เวลาที่คุณคิดว่าอยากเป็นนักบัญชี จะเรียนอะไร ยังไง ก็ต้องมาดูเป้าหมายก่อนค่ะ ว่าคุณต้องการอะไร อยากทำบัญชีด้านไหน จะได้แพลนถูก แต่ถ้ายังเลือกไม่ได้ ให้ลงเรียนวิชาพื้นฐานไปก่อน และค้นหาตัวเองให้เจอ ยิ่งเจอเร็วยิ่งดีกับตัวเอง
Degree & certificate ของบัญชีมีเยอะค่ะ จะแบ่งเป็นข้อย่อยๆให้ อย่าลืมว่า ลงทุนไปมากได้มาก ลงทุนน้อยได้น้อยนะคะ ถ้าลงเรียนแค่คอร์สสั้นๆ เอาแค่ certificate ก็จะไปเทียบรายได้ หรือโอกาสในการหางานเท่ากับคนที่จบตรี จบโท ไม่ได้นะคะ
ไม่เคยมีพื้นฐานบัญชีเลย ก็เรียนบช.ได้ ไม่เก่งเลขก็เรียนได้ ขอแค่ บวกลบคูณหาร เป็น ที่เหลือ คอมคิดให้เราค่ะ
1) certificate เป็นคอร์สสั้นๆ เรียนไม่วิชา ใช้เวลาไม่กี่เดือน เช่นเทอมเดียว (3-4ด) ก็ได้ใบเซอร์ไปหางานได้ค่ะ เช่น bookkeeping, payroll, tax preparer, accounting assistant เป็นต้น
คอร์สพวกนี้สามารถหาเรียนได้ตาม community college ค่ะ ราคาจะไม่แพง ส่วนมากเรียนแค่ 1-2เทอม ก็จบ มีอีกที่คือ HR block เรียน tax จบแล้วสมัครงานกับเค้าได้เลย
2) associate degree in accounting เรียน 60 semester units ค่ะ เปิดสอนตาม community college ถ้าลงเรียน full time ใช้เวลา 2ปี จบแล้วหางานได้เลยเช่นกัน และสามารถต่อยอดไปเรียนต่อจนจบ ป.ตรีค่ะ
3) bachelor degree in business/accounting เรียน 120 semester units ค่ะ เปิดสอนตาม university จะเริ่มลงเรียนจากปี1เลยก็ได้ แต่จะลง2ปีแรกที่ community college ก็ได้ แล้ว transfer มาเรียนต่ออีก 2ปี วิธีนี้จะประหยัดเงินกว่า และเราสามารถมี associate degree มากอดรอก่อนได้ (แต่associate degreeที่ได้ อาจไม่ใช่ AS accounting อาจเป็น AS business เพราะวิชาที่จะใช้โอน จะเป็นพื้นฐานbusinessค่ะ กรุณาตรวจสอบรายวิชากับสถาบันที่คุณจะเรียน)
ข้อควรระวังสำหรับคนที่จะ transfer ให้เทียบคลาสที่จะลงเรียนให้ดี ว่าต้องเรียนอะไรที่ต้นทาง ที่ปลายทางยอมรับเทียบโอน เงื่อนไขอะไรยังไง ต้องคุยกับ counselor ให้ดีนะคะ ลงผิด เสียเวลาและเสียเงินเปล่าๆ
การเรียน CC vs university เคยเขียนแชร์แล้ว ลองหาอ่านดูค่ะ
ป.ตรี บางมหาลัยจะมีเมเจอร์ให้เลือก เช่น accounting (general), accounting information system (ไม่แน่ใจว่าที่ไทยเรียกบัญชีคอมรึเปล่า), cooperate accounting (เรียนfinance กับ accounting)
4) master degree (30 semester units) อันนี้จะเริ่มเฉพาะทางละ เช่น master in accountancy or master in taxation เป็นต้น มักเรียนกัน 1-2ปี แล้วแต่หลักสูตรค่ะ ไม่แนะนำให้เรียน MBA ธรรมดา เพราะมันกว้างไป เวลาสมัครงาน คุณจะสู้คนที่เรียนเฉพาะทางไม่ได้
ปกติแล้วต้องสอบเอาคะแนน GRE/GMAT และสำหรับคนที่จบตรีจากนอกเมกา ต้องสอบ toefl or ielts (รายละเอียดเช็คตรงสถาบันที่คุณจะเรียน)
คนที่จบตรีมาจากไทย หรือจบตรีมาจากไหนก็แล้วแต่ ไม่ว่าคุณจะจบเอกอะไรมา ก็สามารถมาต่อยอดเรียนโทบช.ได้ค่ะ ถ้าจบตรีอย่างอื่นมา ต้องลงเรียนวิชาบช.เพิ่ม
5) phd in accounting ก็มีค่ะ แต่เราไม่เคยศึกษารายละเอียด
มาว่าด้วยเรื่อง license ต่างๆของ accounting บ้าง มีหลายตัวให้เลือกนะคะ เช่น CMA, CISA, enroll agent เป็นต้น แต่ที่คนรู้จักอย่างกว้างขวางและนายจ้างให้ความสำคัญมากกว่า มีโอกาสมากกว่า คือ CPA
Qualification ของ CPA ให้หาอ่านรายละเอียดในรัฐที่คุณจะสอบนะคะ แต่หลักๆเลย คือต้องมีวุฒิขั้นต่ำป.ตรี และต้องมีอย่างน้อย 150 semester units คุณอาจสงสัยว่า อ้าว จบป.ตรี เรียนแค่120unitเอง แล้วจะเอา 30unit มาจากไหน อันนี้มีให้เลือกค่ะ เช่น 1) ต่อโทค่ะ 30unit พอดี 2) เรียน minor อะไรก็ได้ ตอนเรียนป.ตรี 3) เรียนอะไรเพิ่มก็ได้ แต่อย่าลืมว่าก่อนจะใช้คำว่า "เรียนอะไรก็ได้" คือคุณได้ลงวิชาบังคับที่ต้องมีครบหมดแล้วนะคะ จะไปเรียนเพิ่มใน community college ก็ได้ ประหยัดเงินกว่า
รายละเอียดหลักสูตร ค่าเรียน จิปาถะ คุณต้องเช็คเองจากท้องที่ที่คุณอยู่ เวลาค้นนะคะ
- google หาที่เรียนก่อน เช่น หา community college ใกล้บ้าน
- จากนั้นเข้าไปในเวปของคอลเลจ แล้วหาหัวข้อ "degree and certificate accounting"
- อยากสมัครเรียน เอาอะไรบ้าง? ต้องสอบอะไรบ้าง? จะเทียบวุฒิจากไทยทำไง? ----> qualification แต่ละสถาบันต่างกัน ตอบให้ไม่ได้ค่ะ คุณต้องเช็คตรงกับสถาบันที่คุณสนใจโดยตรงค่ะ เค้าจะให้คำตอบที่ดีที่สุดกับคุณค่ะ
- พอได้คอร์สที่สนใจ ก็เช็คค่าเทอม เข้าไปในหัวข้อ "tuition and fee" ค่ะ
คนที่อยากได้งานกับ big 4 accounting firm ต้องจบขั้นต่ำ ป.ตรี และ qualify to be a cpaค่ะ คือถ้าจบตรี ก็ต้องมี 150unitแล้ว ไม่งั้นต้องจบโท
สำหรับ Big4 นะคะ จบตรีกับจบโท อาจstart เงินเดือนไม่เท่ากัน แต่มันไม่ต่างมาก แล้วมันจะไปสูสีกันหลังจากทำงานไปสักพัก (เห็นว่า 1-2ปี) สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การมี cpa licenseค่ะ
ขอคร่าวๆก่อนตามนี้นะคะ หวังว่าจะพอเริ่มจับทางได้ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอาชีพอะไร จะเรียนอะไรดี บัญชีก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เราเคยคำนวนเล่นๆ ค่าเทอมทั้งหมดที่เรียนไป ทำงานไม่ถึงปี ก็ได้ทุนคืนค่ะ เราเรียนสถาบันของรัฐ ไม่แพง และได้งานรอก่อนจบ ไม่ต้องเตะฝุ่นหางาน ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับเราค่ะ
*****ฝากนะคะ คนที่คิดแค่คิดว่า จะเรียนอะไรดี ที่เรียนง่าย จบเร็ว หางานง่าย --> there is no such thing without your effort ค่ะ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆถ้าไม่พยายามค่ะ *****
ใครอ่านถึงตรงนี้แล้วมีคำถามเพิ่มถามได้ค่ะ ถามตรงนี้เลยนะคะ "งดตอบหลังบ้าน" เพราะต้องตอบคำถามคล้ายๆกันหลายรอบๆ ตอบตรงนี้ คนอื่นได้อ่านด้วย
(งดตอบคำถามที่แสดงให้เห็นว่าคุณยัง"ไม่ได้อ่าน" - ขอบคุณค่ะ)

10/5/61

นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


.
ถ้าพูดถึงการจดจัดตั้ง นิติบุคคลแล้วนั้น หลายท่านคงพอทราบว่าเราสามารถเลือกได้หลักๆ ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท แต่ทราบไหมครับว่านิติบุคคลที่ต่างประเภทกันนี้ ก้มีหน้าที่ที่ต้อง จัดทำงบการเงิน ที่ต่างกันไป โพสต์นี้เลยจะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นนี้กันครับ

.
ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่า ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามกฏหมายบ้านเรา มีใครบ้าง.. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, บริษัทจํากัด, มหาชนจำกัด, นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ซึ่งประเภทหลังๆเราๆมักจะไม่ได้คุ้นชิน หรือนิยมมากนักเพราะเสมือนๆ เป็นไม้ต่อของการจดนิติบุคคลเริ่มแรกที่ เจ้าของกิจการมักจะเลือกจดกัน ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท ที่เรานิยมก็มีหน้าที่จ้องจัดทำบัญชีกันด้วย

.
พอทราบแล้วว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำบัญชี ..แล้วบัญชีประเภทใดที่เราต้องจัดทำกันบ้าง ผมขออนุญาตแนบตารางจาก กรมพัฒนาธุรกิจฯ ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของกิจการที่ต่างกัน ก็จะมีหน้าที่ทำงบการเงินที่ต่างกัน

.
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ จัดทำงบฯ มากที่สุดคือ บริษัทมหาชน จำกัด นั่นก็เป็นเพราะ หลายๆบริษัทมหาชน ได้อยู่ในตลาดหุ้นนั่นเองครับ หมายความว่า งบการเงินมีผู้ใช้ เช่นคนเล่นหุ้นเอามาวิเคราะห์ นายแบงค์เอามาดูเพื่อพิจรณาการปล่อยกู้ หรือแม้กระทั่งแบงค์ชาตินำมาเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลของประเทศเรา เห็นมั้ยครับว่า งบฯ มีความหมายต่อทั้งตัวกิจการเองและบุคคลภายนอกมากมายในมิติของ บริษัทมหาชน


.
ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่เจ้าของกิจการมักพิจรณาเริ่มจดทะเบียนนั้น จะต้องทำหลักๆคือ งบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล) ,งบกำไรขาดทุน(แสดง รายได้ค่าใช้จ่าย = กำไรหรือขาดทุน) เท่านั้นครับ ส่วนหมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลเปรียบเทียบนั้น จพถูกฝังอยู่ในงบทั้ง 2 แบบข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทจำกัด ต้องยื่น งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งโดยปกติแล้ว งบนี้ก็คือการนำ กำไรหรือขาดทุน (จากงบกำไรขาดทุน) มาบวกเข้าในส่วนทุนของกิจการนั่นเอง หรือพูดง่ายๆว่า งวดนี้เจ้าของรวยขึ้นเท่าไหร่ นั่นเองครับ


.
จะเห็นว่าการเป็นนิติบุคคลประเภทต่างๆ ก็มีหน้าต่างกันในการยื่นงบการเงิน และต้องจัดทำเพราะเป็นกฏหมาย ดังนั้นการหาที่ปรึกษาด้าน บัญชีภาษี หรือพนักงานบัญชีที่เหมาะสม คงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เจ้าของกิจการต้องพิจรณาด้วยนะครับ ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือนนะจ้ะ

8/5/61

Big4 และการเติบโตในธุรกิจ ให้คำปรึกษา




Ref:
https://www.wsj.com/articles/how-did-the-big-four-auditors-get-17-billion-in-revenue-growth-not-from-auditing-1523098800


เมื่อช่วงเดือน เมษายน 2018 มีบทความของ Wall Street Journals ที่บรรยายเกี่ยวกับการที่ Big4 มีรายได้จากธุรกิจให้คำปรึกษา(Conusulting) มากกว่างานสอบบัญชี (Assurance-Auditing)


จากบทความเราจะเห็นว่า Big-4 ที่ประกอบด้วย PwC/ EY/ KPMG และ Deloitte มีหลายได้จากการรวมกันของทั้ง Global ในบริการให้คำปรึกษา เพิ่มขึ้นราวๆ 44% ในขณะที่งานบริการด้านการสอบบัญชี หรือให้ความเชื่อมั่นนั้นเพิ่มเพียง 3% ..น่าคิดนะครับว่า การเพิ่มขึ้นจากรายได้ของบริการให้คำปรึกษานี้ จะกระทบต่อคุณภาพของงานสอบบัญชีมั้ย


เพราะลองนึกภาพว่า 1 บริษัทที่ให้บริการทั้ง ทางด้านให้คำปรึกษา เช่น วางระบบ IT/ วางแผนภาษีข้ามชาติ หรือแม้กระทั่งวางแผนการจ้างพนักงาน(HR) ก็ต้องมีอีกหน้าหนึ่ง ในการตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งคำถามที่คาใจของหลายฝ่ายคือ คุณภาพของงานสอบบัญชี รวมถึงความเป็นอิสระของผู้สอบด้วย เพราะ สิ่งที่ต้องมาพร้อมกับการบริการให้ลูกค้าหลายๆอย่าง ก็คือ ค่าจ้าง ที่เป็นเม็ดเงินไม่น้อย



ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปในเหตุการณ์สำคัญๆ ของสำนักงานสอบบัญชีระดับโลก ชื่อของ Arthur Andersen คงลอยมาเป้นอันดับต้นๆ จากเหตุการณ์ฉาวระหว่างบริษัท และบริษัท Enron แต่จะมีใครรู้ครับว่าภายใต้ รายได้ระหว่างสองบริษัทนี้ รายได้ที่ Arthur Andersen ได้รับจากการให้บริการสอบบัญชีกลับน้อยกว่า ให้บริการให้คำปรึกษาด้วยซ้ำไป ($27millions & $25millions)



หลายๆหน่วยงานในโลกได้มีการพิจรณา การจัดตั้งบริษัทแยกต่างห่าง หรือ Audit-Only firm เพื่อให้มีการคงคุณภาพ และมีความเป้นอิสระไว้ครับ แต่อย่างไรก็ตามการตั้งขึ้นมาของ สำนักงานที่ให้บริการสอบบัญชีอย่างเดียวนั้นอาจจะ มีข้อเสียด้วยเช่น อาจมีข้อมูลที่จำกัดมากขึ้นและทำให้การสอบบัญชีในลูกค้ารายใหญ่ๆ ระดับโลกไม่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว


อย่างไรก็ตามในมิติของพนักงานบัญชี หรือสำนักงานบัญชีบ้านเรานั้นผมคิดว่า เราสามารถหาช่องทางทำเงิน และขยายฐานลูกค้าได้จากการ ให้คำปรึกษา เพราะงานให้คำปรึกษานี้ ต่างกับงานออดิทหรืองานสอบบัญชี ที่มี รายละเอียด (customize) ที่มากกว่า ลึกกว่า และทำเงินได้มากกว่านั่นเอง


29/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 5


มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )

ข้อนี้สุดท้ายละครับ แต่ไม่ใช่ว่าข้อดีของการเป็น CPA จะมีแค่นี้นะ!



7. โอกาสในการได้มาซึ่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอันล้ำค่า  CPA License ! ! !

Cr. https://www.shutterstock.com/image-illustration/cpa-certified-public-accountant-word-cloud-575389123?src=Ux7FtAbFxiSfXWwLkKUgDg-2-7



ครับหลายคนอาจงงๆว่า อ้าวออดิทที่เดินดุ่มๆ ตรวจนี่นู่นนั่น ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้กันทุกคนหรอกหรอ ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่ครับ ในทีมออดิทแต่ละทีม จะประกอบด้วยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนรับผิดชอบงานตรวจสอบ หรือใน Big4 ก็จะเป็นพี่พาทเนอร์ในแยกกันไปในแต่ละบริษัทที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งแน่นอนว่าระดับพาทเนอร์ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หรือ CPA นี้แน่นอน(ก็แน่สิครับ เพราะในBig4เหล่านี้ คนที่จรดปากกาเซ็น ก็คือพาทเนอร์ครับ) ส่วนผู้ปฏิบัติงานตามบริษัทลูกค้านั้นๆ ที่เข้าไปฝังตัว อาทิตย์นึงบ้าง เดือนนึงบ้าง จะมีทั้งคนที่มี CPA แล้ว และยังไม่มีครับ(ซึ่งส่วนมากมักจะยังไม่มีนะ)



ใบอนุญาติ CPA นี้กำหนดให้ คนที่จบด้านบัญชีมา ต้องผ่าน "การทดสอบ" จากสภาวิชาชีพบัญชีของไทยครับ ซึ่งล่ำลือ กล่าวขาน อื้ออึง ขนานนามกันว่าโหดมาก โดยจะประกอบไปด้วย 3 วิชาคือ บัญชี, กฏหมาย และการตรวจสอบบัญชีครับ และแต่ละวิชา จะจำแนกย่อยเป็น 1 และ 2 ดังนั้นเบ็ดเสร็จคือ 3 วิชาหลัก 6 ฉบับการสอบครับ (ถ้างงก็เช่น บัญชี จะแตกเป็น บัญชี1 และ บัญชี2 ครับ) ซึ่งออดิทจำเป็นต้องผ่านการสอบทั้ง 6ฉบับนี้ โดยแต่ละฉบับจะมีอายุ 4 ปี ดังนั้น คุณจะต้องทำตัวเหมือนนักวิ่งมาราทอน เมื่อใดที่คุณเริ่มสอบได้ตัวแรก คุณจะต้องอ่านตัวถัดๆไป ในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้ ไอ้ตัวแรกที่คุณได้มา มันหมดอายุตายไปสะก่อน (ทางสภาวิชาชีพบัญชี จัดการสอบปีะ 3 ครั้ง) นอกจากการสอบที่ว่านี้แล้ว ยังมีเงื่อนไขอีกอย่างคือ "ต้องทำงานด้านการตรวจสอบ 3ปีหรือ 3,000ชั่วโมง" โอวแม่เจ้า ดังนั้นการที่จะได้มาซึ่ง CPA License คุณต้องจมปลัก ไม่สิต้องเรียกว่า อยู่ท่ามกลาง การทำงานการตรวจสอบอย่างเบาะๆก็ต้อง 3 ปีครับ เพราะมันเป็นข้อกำหนด นั่นเอง
ปล.ที่จริงแล้วออดิทที่ยังใสๆหรือทำงานไม่ถึง 3 ปี ทางสภาวิชาชีพบัญชี จะเรียกกลุ่มนี้ว่า "ผู้รับการฝึกงาน" ครับ (บอกเฉยๆเป็นความรู้มั้งนะ)



แต่ถามว่า 3 ปีมันนานไปป่าวกว่าจะได้มา (สมมุติว่าคุณสอบผ่านเร็วกว่า 3 ปี) ก็ต้องตอบว่าไม่นานหรอกครับ เพราะ 3 ปีแรกของชีวิตออดิทอย่างที่บอกคุณจะได้เรียนรู้ ได้รับหน้าที่การตรวจสอบ ครบวงจร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของธุรกิจและมันก็มีน้อยคนมากๆ ที่มักจะสอบผ่านทั้ง 6 ฉบับภายใน 3 ปี (แต่เคยเห็นสอบผ่านหมด ภายในปีหรือสองปีแรกก็มีนะครับ) และทางสภาวิชาชีพบัญชี คงเล็งเห็นแหละครับว่าสามปีนี่คือ เบาะๆสุดแแล้วที่จะทำให้ผู้ตรวจสอบทุกท่าน มีความรู้ ความชำนาญที่เพียงพอ ต่อหน้าที่ในการตรวจสอบครับ ดังนั้นแล้วออดิททั้งหลายที่อยู่ในสายงานนี้ก็พยายามที่จะสอบ พยายามที่จะเอาเวลาหลังเลิกงานที่มีอยู่น้อยนิดมาอ่านหนังสือ ซึ่งขอบอกเลยครับว่า ไม่ง่ายแต่ไม่ยาก และคู๋ต่อสู้สำคัญที่สุดของ เกมส์นี้ ไม่ใช่เพียงความหินของข้อสอบ แต่เป็น จิตใจคุณเองนั่นแหละครับที่เป็นคู่ต่อสู้ตัวดี(ก็เราต้องบังคับตัวเองนิเนอะ) เหมือนกับคำกล่าว อ่อนแอก็แพ้ไป ถ้าเอาไหวก็ ...CPA



และคำถามต่อมา อ้าวถ้าได้มาแล้วซึ่ง CPA License + ทำงานในสายงานครบเงื่อนไขแล้ว ผลดีคืออะไร
อันดับแรก แว้บเข้ามาในหัว ออดิทจะสามารถรับรองงบการเงินนั้นๆได้ด้วย ลายเซ็นคุณเอง มันไม่ได้หมายถึงคุณเซ็นกริ๊กๆแล้วจบ แต่แน่นอนคุณจะต้องรับผิดชอบต่องานตรวจสอบ ,ทำงานตามมาตรฐานหรือประกาศนู่นนี่นั่น ให้เหมาะสม ซึ่งในกลุ่ม Big4นั้น กลุ่มพาทเนอร์ทั้งหลายจะเป็นคนเซ็นดังกล่าวนี้ ครับ เท่ปะละ



อันดับสอง CPA สามตัวนี้ จะกลายเป็นพยางค์เท่ๆ ต่อท้ายชื่อคุณไปตลอดชีวิต (หรือจนกว่าคุณไปทำอะไร ไม่ดีเข้าจนถูกเพิกถอน) และใช่แน่นอนว่า เหล่า CPA สามารถพิมพ์สาวตัวอักษรนี้ต่อชื่อคุณในนามบัตร, ท้ายอีเมลล์ หรือในทุกๆที่ที่มีชื่อคุณไปโผล่ โคตรเท่เลยเนอะ นึกดูสิครับผมยื่นนามบัตรให้ครูอนุบาล ระหว่างทางเดินไปหาลูกที่โรงเรียนแล้วมีคำว่า CPA ต่อท้าย ...คุณครูยิ้มปริ และคงมีความคิดว่าคุณนี่เจ๋งจริงๆสำหรับ Certified Papa Accountant ..ไม่ใช่ว้อย



อันดับสาม เพิ่มดีกรีให้การทำงานในตัวคุณ ในมิติ Mobility & Career Prospect ซึงผมมองว่าการได้มาซึ่ง CPA จะทำให้คุณมีดีกรีในการทำงานที่เป็นที่ยอมรับเลยล่ะ เพราะมันเหมือนกับการที่ถ้าเรามีความสามารถ แต่เราไม่มีอะไรมาพิสูจน์ คนที่ไม่รู้จักคุณที่ไหนจะมาเชื่อ (อันนี้ผมพูดตามเบสิคสุดๆ สามาัญชนทั่วไปนะ) และพอคุณได้มาซึ่ง CPA มันก็อารมณ์ว่า การันตี ความสามารถระดับหนึ่งและมานะ วิระยะ ของออดิทคนนั้นๆ ว่าเจ๋งระดับนึงเลย และที่สำคัญคุณสามารถโยกย้ายงาน หรือเลือกสมัครงานที่ใหม่ๆได้ โดยสามารถถูกเรียกสัมภาษณ์ รวดเร็วกว่า ผู้สมัครระดับเดียวกันที่ไม่มี CPA นะ (ผมถามมาจาก HR นะ ไม่ได้คิดเอง) และงานที่ว่ามันไม่ใช่แค่ในประเทศ เพราะทุกประเทศบนโลกที่มีภาคธุรกิจที่สตรอง  ฝรั่งเหล่านั้นรู้จัก CPA แน่นอนครับ เพราะบ้านเค้าก็มีเหมือนกันน่ะสิ! (CPA จะทำงานข้ามประเทศไม่ได้นะครับ เพราะเราใช้มาตรฐานต่างกัน และในบางประเทศเช่น อเมริกา CPA จะแบ่งแยกตาม รัฐ ครับ แต่คนไทยสามารถไปสอบเพื่อเป็นCPA ในหลายๆประเทศได้ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย บอกไว้เผื่ออยากรู้วว วู้วว วู้วว)



อันดับสี่ รายได้ที่ค่อนข้างดี! จากข้อบนๆได้กล่าวไปแล้วถึงรายได้ที่สวยงามของเหล่า พาทเนอร์ แต่อย่างไรก็ตามความจริงแล้วมีคนเพียงหยิบมือครับที่จะ อดทน และมีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ใน Big4 ได้จนถึงระดับนั้น แต่ยังไงก็นะ ในตำแหน่งรองๆลงมาก็ยังถือว่า เป็นอาชีพที่มีอัตราการ จ่ายตังค์ที่สูงงง เพราะออดิทเพิ่มเงินเดือนกันที เรียกได้ว่าเพื่อนคุณอิจฉาแน่นอน หรือถ้าคุณลาออกมาตั้งบริษัทรับตรวจสอบบัญชีเอง คุณจะกลายเป็นพาทเนอร์ด้วยตัวคุณเอง อย่างทันท่วงที แล้วรายได้ค่าตรวจสอบจะไปไหนได้ล่ะครับ แหม่



อันดับห้า สุดท้ายละนะ คุณจะได้มาซึ่งความน่าเชื่อถือ (A Position of TRUST) ซึ่งมันก็แน่นอนเพราะงานออดิท ต้องรับรองงบการเงิน รวมถึงข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าจัดทำขึ้น ว่ามันโอเค หรือมีอะไรที่จะต้องบอกกล่าวผู้ใช้ข้อมูลนั้นหรือไม่ งานการตรวจสอบนี้จะไม่เพียงแต่แค่งบการเงินนะครับ Big4 บางที่เรียกงานออดิทนี้ว่า Assurance ซึ่งคือการให้ความเชื่อมั่น เห็นมั้ยครับว่ามันกว้างกว่าแค่การตรวจงบการเงิน ตัวอย่างน่ะหรอเช่น ปีที่แล้วกรุงเทพเรามีการจัดงานปั่นจักรยาน คุ้นๆมั้ยครับ บริษัทเหล่านี้ก็ได้รับการว่าจ้างประมาณว่า เออยูวๆ มาช่วยไอคอนเฟิมหน่อยว่า ไอนับจำนวนคนมาปั่นจักรยานถูกต้องป่าว เดี๋ยวไอจะเอาไปลงกินเนสบุ๊ค อะไรประมาณนี้ นั่นแหละครับ ถึงบอกว่า CPAจะทำให้ข้อมูลต่างๆ ดูสตรองขึ้นมาและส่งผลไปยัง CPA เหล่านั้นให้มีภาพลักษณ์ที่ เวรี่เรสเปค นั่นเอง





นั่นแหละครับทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จะเป็นภาพในแง่ สว่าง ของการทำงานออดิท ที่ผมอยากนำมาแชร์ว่ามันไม่ได้แย่ไปกว่าด้าน ดาร์คๆ ที่หลายๆคนชอบโพสต์ในเฟซบุ๊ค หรือเพื่อนคุณชอบมาบ่นให้ฟังว่ามันทรหดแค่ไหน งานนี้ถือเป็นงานวิชาชีพซึ่งไม่ใช่ใครไหนมานั่งแล้วทำเป็นนะครับ นอกจากเรามีมาตรฐานที่เป็นตัวบทกฏหมายให้เดินตาม สิ่งสำคัญของวิชาชีพนี้คือ จรรยาบรรณ ที่ออดิททุกคนจะตอกหมุดฝังลงไปในใจ เช่นการรักษาความลับของลูกค้า, การรับผิดชอบต่องานให้เสร็จแม้จะลำบากหรือ การอัพเดทความรู้เชิงวิชาการให้ใหม่ตลอดเว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ด้านดาร์ค ๆ ในการเป็น ออดิทหรือCPA มันก็มีครับ และผมเชื่ออย่าง"สมเหตุสมผล" (ศัพท์ที่ชาวออดิทใช้กัน) ว่าความดาร์คมันมีในทุกอาชีพ ทุกๆระดับงานไม่ว่าจะพนักงานปกติ หรือผู้บริหารชั้นฟ้า แต่สิ่งที่ จะพยุง ดึงรั้ง ให้เราเดินต่อในสายงานเราได้อย่างมีประสิทธิภาพเนี่ย อันดับแรกคุณต้อง ..ศรัทธา.. ในงานคุณก่อนครับ(ตัวผมนะ คนอื่นไม่รู้เป็นไง) เพราะพอคุณศรัทธาแล้ว ไม่ว่าจะดาร์คแค่ไหน ปัญหามะรุมมะตุ้มขนาดไหน เราจะเอาตัวรอดได้ และ Solution มาจะตามมาเสมอๆ



ขอบคุณมากเหลือเกินครับที่ติดตามอ่าน
และขอบคุณเพื่อนร่วมวิชาชีพหลายท่านที่สร้างคอมเมนท์ ที่ผมว่ามีประโยชน์มากกว่าบทความก๊งๆของผมซะอีก
รวมถึงอินบอคซ์เข้ามาเยอะมากกว่าที่คาด จากทั้งนิสิต คนที่สนใจ ขอบคุณมากครับแล้วจะตอบให้อย่างเร็วฝุดๆ
สงสัยหรืออยากให้แนะนำอะไรเม้ท์หรืออินบอคซ์ได้นะครับ จะตอบด้วยความเต็มใจครับ

28/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 4



มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )



6. รู้จักคนเยอะ ม า ก จนอาจกลายเป็น Super Connection !!



Cr. http://talknerdy2me.org/1-17



ใช่ยิ่งกว่าใช่ และก็เดาๆว่าหลายคนคงพอนึกภาพออกได้ ก็เพราะเหล่าออดิทเนี่ย นอกจากความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับพวก มาตรฐานการบัญชีหรือการตรวจสอบ แล้วสิ่งที่สำคัญ ผมว่าสำคัญพอกันนะ คือการที่ ออดิทจะต้องติดต่อสื่อสารกับ คนอื่นๆ ตลอดเวลา (Interpersonal Skill) เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปตามคติประจำใจของเราชาวออดิทคือ ...ต้องเสร็จ



คนอื่นๆที่ว่า เป็นได้ทั้งลูกค้าที่เราไป "ออกจ้อบ" หรือไปตรวจสอบนั่นเอง คุณลองนึกภาพดูนะครับว่า ถ้าสมมติคุณๆกำลังทำงานตาม ปกติ(Routine) เช่น ฉันทำรายงานจ่ายเงินทุกวัน, ฉันทำหน้าที่วางบิลทุกวัน บลาๆๆๆ แล้วอยู่ดีๆ มีชนกลุ่มน้อยที่ไหนไม่รู้ มานั่ง มาสถิตในออฟฟิตของเรา แล้วก็มาขอนู่นนี่นั่น เอกสารบ้าง, ถามเหมือนเด็กอนุบาลไม่รู้เฮียไรเลยบ้างล่ะ(มักจะเกิดขึ้นในออดิท เพิ่งจบใหม่ทั้งหลาย) หรือ แม้แต่มาขอยืมอุปกรณ์สำนักงานบ้างในออฟฟิตอันเป็นที่รักของคุณ (ก็แน่นิ ออฟฟิตคุณคือออฟฟิตของออดิท ส่วนออฟฟิตออดิทคือ..ไม่ค่อยได้อยู่หรอกเพราะอยู่ออฟฟิตคุณมากกว่า งงปะ) มิหนำซ้ำยังมาปลักปลำว่าฉันบันทึกบัญชีไม่ถูกบ้างล่ะ ระบบความคุมไม่ค่อยจะดีบ้างล่ะ อ้าาาววววน้อง !



คำถามคือ คุณรู้สึกยังไงล่ะครับ เมื่อมี สิ่ง Amazing People เหล่านี้ คลืบคลานเข้ามาอย่างไม่ระแคะระคาย รปภ ของออฟฟิตคุณเลย แถมยังหาเรื่องสารพัดสาะเพ นี่น่ะสิครับคือเหตุผลว่าทำไม ทักษะการติดต่อสื่อสารของ ออดิทผมจึงเห็นว่ามีความสำคัญขั้นแมกซิมั่ม เพราะสุดท้ายยังไงเหล่าออดิทก็ต้องได้มาซึ่ง เอกสารการตรวจสอบ ที่"น่าพอใจ" แต่กว่าจะได้มา กว่าจะเข้าถึงได้นี่เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็นกันเลยทีเดียว ลูกค้าบางรายก็ค่อนข้างเข้าใจออดิทในจุดนี้ แต่บางรายก็นะครับ มองเรายังกะคนที่... คนที่ไรดีล่ะ คนที่ยืนขวางประตู BTS ที่สถานีสีลมตอนหกโมงเย็น โดยไม่ขยับ และกระเถิบ (พอเก็ทมั้ย ไม่รู้จะอธิบายสายตาคู่นั้นที่มองยังไงดี +.+)



การติดต่อกับคนอื่นๆยังไม่หยุดแค่นั้น มันยังรวมถึงผู้บริหารระดับสูงงง งง  งง ง ง สูงสะจนผมเกร็งในบางที (แต่ผมชอบการพูดคุยกับท่านๆมากนะครับ เพราะคนเหล่านี้มักจะมีของเด็ดที่เราได้เรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะคุยแค่ไม่กี่นาทีก็ตาม) และนอกจากลูกค้าแล้ว Connection ยังรวมถึง คนในทีมออดิทกันเองด้วย ! ก็แน่นอนว่าบริษัทพวกออดิทเนี่ย จะไปมีทรัพย์สินอะไรมากมาย นอกจาก คน คน คน และ คน (เงินในแบงค์ด้วย แต่ขอพูดคนก่อน) และออดิทเราก็ต้องไปตรวจลูกค้า โดยมีวัฒนธรรมที่เราจะ Mobility โยกย้ายเปลี่ยนทีมตลอดเว ดังนั้นคุณจะได้พาญพบ เผชิญกับคนทำงานหลากหลายรูปแบบ เก่งปานเทพ, เก่งจริงอ๋อ, แต่งหน้าสวย, ใช้เบสผิดเบอร์ โอยเยอะแยะไปหมด แต่ยังไงเราก็ต้องพูด ต้องคุยกันในทีมนั้นๆ เพื่อดันให้งานตรวจสอบ สำเร็จลุล่วงกันไปในที่สุด



ผลลัพธ์จากการที่ต้องไปสำผัส ไปทัชคนในตำแหน่งต่างๆ บางทีออดิทมักจะได้คำแนะนำดีๆ ดีมากๆทั้งจากลูกค้าที่ไปตรวจ หรือคนในทีมที่เจอ เช่นคำแนะนำการทำงาน, กาารไปเรียนต่อ, การย้ายบริษัท, ความก้าวหน้าทางอาชีพ หรือการทำกับข้าวให้อร่อยต้องใส่อะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้มันกลายเป็น Connection ให้เราในเวลาถัดมาครับ ผมมีคนรู้จักหลายท่านที่ ออกจากวงการออดิทไปทำธุรจกิจเองบ้างล่ะ ไปเรียนต่อเมืองนอก รวมถึงเข้าไปพนักงานในบริษัทของลูกค้าที่ไปออกตรวจ ด้วยอิทธิพลของการแนะนำจาก คนต่างๆที่เราเจอ เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้แนะนำมักจะเป็นสิ่งที่ เค้าผ่านมาจริงๆ เค้าเป็นผู้เล่นจริงๆไม่ใช่แสตนด์อิน ดังนั้น ประสบการณ์ที่พี่ๆเพื่อนๆแนะนำเรา มีค่ามาก มากจนบางทีผมรู้สึกว่า โหถ้าเราต้องหาประโยคหรือคำแนะนำนี้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่เนี่ย



ตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น Connection จากลูกค้าที่ไปออดิทไปทำการตรวจสอบ แล้วเค้าเข้าตาเรา เค้าก็จะแนะนำและอาจถึงขั้นดำเนินการยื่น ใบสมัครเพื่อที่จะดูดออดิท เข้ามาทำงานในบริษัท หรือผู้บริหารบางท่านถูกชะตาเรา ถูกใจในลักษณะการทำงาน ก็อาจถูกยื่นข้อเสนอให้ออดิทโดยไม่รู้ตัว หรือคนในทีมบางคน เทพมากๆสอบอะไรได้หลายๆอย่าง ก็มาแนะนำวิธีปฏิบัติ แชร์กันเพื่อให้แต่ละคนคิดๆและลองหา เคล็ดลับที่เหมาะกับตัวเองมากสุด หรือ หรือ มีพี่คนนึงได้ทุนไปเรียนต่อเมืองนอก เพราะมีคุณลูกค้าแนะนำว่า ยูวภาษาดีนิ ลองสมัครทุนนี้สิ ทำอย่างนี้นะ 1 2 3 4 จนพี่แกไปอมริกาละครับ แล้วก็เวลาที่ออดิทไปตรวจลูกค้าที่อยู่ ต่างจังหวัด มันเหมือนเป็นจารีตเนอะ (ทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ผิด ผมท่องมาตอน ม3) ที่ลูกค้าจะพาเราไปเลี้ยงข้าว ซักมื้อหรือมากกว่า นั่นเป็นเวลาที่เราจะรู้จักลูกค้า ได้พูดคุยในมุมอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องงาน(แต่บางคนก็ยังหอบงานมาคุยนะ โถ่เอ้ย) และคุณจะได้ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตของเขาเหล่านั้นมาเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว ก็แน่ล่ะครับคนที่จะพาออดิทไปเลี้ยงได้นี่ ก็มักเป็นเบอร์หนึ่ง หรือคนท้อปๆในฝ่ายบัญชีหรือการเงินของแต่ละบริษัท  นี่เป้นส่วนหนึ่งนะที่ผมพอนึกๆออกจาก Benefits of Connection ที่มักเกิดขึ้นตลอดเวลาการทำงานขอออดิท ขออย่างเดียวคือ ออดิทต้องมองมันให้ออกและมองๆมุมอื่นบ้าง นอกจาก.... งานตรูต้องเสร็จว้อย !


24/11/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part 3


มาต่อกันสำหรับข้อดีที่หาได้จากอาชีพ ผู้สอบบัญชี !
(จากกระทู้ pantip ที่ผมเคยตั้งไว้ แวะดู คอมเมนท์ได้ครับ > https://pantip.com/topic/35809887 )



5. เวลาการทำงาน Kod Flexible ! (Kod = Very in Thai)

Cr pic . managersdigest.co.uk

ก่อนอื่น Flexible แปลว่า ยืดหยุ่น หลวมๆ หยวนๆ นะครับ และใช่ครับผมว่าข้อนี้ชาวออดิท หรือคนที่เคยทำงานด้วย มักจะรู้กันดีว่าเวลาการทำงาน (Working Hours) ของออดิทนั้น คือ..... คือเมื่อไหร่แน่ ก็เพราะว่าออดิท (มักจะ) ไม่มีการตอกบัตรเข้าออก หรือฉันต้องรีบตื่นตีห้า มาออฟฟิต 8.298 น. เพื่อทำการแตะบัตรให้ทัน 8.30น คุณจะไม่พบอะไรแบบนี้ที่สำนักงาน สอบบัญชีครับ (เท่าที่ผมทราบมานะ) แต่เรา(ขออนุญาตใช้เรา = ออดิท) จะยึดว่า "งานต้องเสร็จ" และ "ความรับผิดชอบนี่เองที่ทำตัวเป็นนาฬิกาให้เราครับ"



อย่างไรก็ตามคำว่าไม่มีเวลาเข้าออกอย่างเป็นทางการ ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะตื่น  จะเริ่มงานตามใจเฉิ่มแฉะได้ เพราะออดิทจะทำงานโดยแบ่งเป็นทีมๆ (มีตั้งแต่ 2-20คนหรือมากกว่า ตามขนาดหรือความซับซ้อนของลูกค้าที่เข้าตรวจ) ดังนั้นการที่คุณจะมาสายมากเกินควร ก็คงจะไม่ดีตราบใดที่เรายังมี ความแคร์เพื่อนร่วมงานในทีมเนอะ ซึ่งปกติเนี่ยผมก็มักจะถึงออฟฟิตลูกค้าที่เข้าตรวจประมาณ 9.15น (ที่จริง 9.30น. แต่คิดว่าสิบห้านาทีทำให้ตัวเองดูดีขึ้นมาหน่อย) ซึ่งคิดว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ออดิทมักจะเริ่มงานกันนะครับ เพราะบางท่านๆ ก็เข้างานประมาณ 11 โมงก็มี หรือที่พีค เท่าที่เคยทราบคือ บ่าย2 ครับ ครับ 2pm!



แต่การที่ออดิทเข้างาน สายในสายตาบางท่าน มันแฝงด้วยเหตุผล (เราเรียกว่าเหตุผลนะ อิอิ) คือถ้าสมมติว่าลูกค้ารายนั้นๆ เริ่มงาน 8 โมงเช้าโดยปกติ แล้วออดิทเข้างาน 8 โมงเช้าเท่ากัน ผลคืออะไรน่ะหรอครับ กลายเป็นว่าลูกค้าไม่ได้ทำงานของตัวเองในช่วงแรกเลย (ใครพอคลุกคลีจะทราบว่า ช่วงออดิทเข้าตรวจ เค้ามักจะไป วนเวียน ระบบงานปกติของคุณ) และทำให้การเข้างานเช้าของออดิทนั้น ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมาครับ อย่างไรก็ตามบางบริษัท ก็มักจะ กำหนดกฏเกณฑ์มาเลยว่า ออดิท ต้องเริ่มและ เลิกพร้อมกับเวลาทำงานของบริษัท ซึ่งนั่นก็ช่วยไม่ได้จริงๆครับ ถ้าออดิทจะไปสวัสดีคุณบ่อยๆ เพื่อที่จะขอเอกสารให้ทำงานทัน ตามเวลาของเรา



"ดีมากๆเลยล่ะสิ เข้ากี่โมงก็ได้ สบายจัง" กำลังคิดแบบนี้กันใช่มั้ยครับ ซึ่งมันก็ถูกและไม่เถียง แต่เพื่อนๆวนกลับไปดูว่า นาฬิกาของเราคือความรับผิดชอบว่างาน "ต้องเสร็จ"  ดังนั้น เมื่อมันไม่มีการกำหนดเวลา เริ่มต้นตายตัว.. เวลาเลิก มันก็ไม่ตายตัวเช่นกันครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับ ความซับซ้อนธุรกิจ, ความพร้อมของเอกสาร, มุมมองของลูกค้าต่อออดิท รวมถึงความสามารถของออดิทเองด้วย ที่จะเป็นหลายปัจจัยที่กำหนดว่า ลูกค้ารายนั้นๆ เราจะเริ่ม เลิก กันกี่โมงด้วยครับ



และเนื่องจาก ออดิท "มัก" เริ่มทำงานโดย สายกว่า เวลาปกติของพนักงานออฟฟิตทั่วไป ดังนั้นมันก้เหมือนมี กฏที่เรารู้สึกกันเองด้วยจิตวิญญาณ (คือ ความรู้สึกอะครับ) ว่าเราควรกลับบ้านเลทหน่อยนะ เพราะวันนี้เรามาช้า หรือบางทีเราก็ไม่รู้สึกครับ เพราะงานมันเสร็จก่อนเวลา เราก็พร้อมที่จะเข้างานประมาณ 10 โมงเช้า และกลับบ้านเวลาเดียวกับลูกค้า ประมาณ 5 โมงเย็น แม้ว่าคุณลูกค้าจะเริ่มงานก่อนก็ตาม งงมั้ยครับว่าตกลง ออดิท รู้สึกหรือไม่รู้สึก ผมก็งงครับ 555 คือมันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยครับเช่น เรามั่นใจว่างานที่ทำเสร็จทันเวลา / คุณลูกค้าเข้าใจเรา / เพื่อนร่วมทีมไม่คิดว่าการกลับก่อนเป็นการหักหามน้ำใจ หรือการกลับบ้านดึกไปเป็นการแสดงเพาเวอร์ที่ไม่เหมาะสม หลายปัจจัยจริงๆครับ


Cr. pic > https://www.flexjobs.com/jobs/telecommuting-jobs-at-google



และความ หลวมๆ ของเวลานี่เองที่ทำให้ ออดิทสามารถจัดการเวลา ( Time Management) ด้วยตัวเองได้ด้วยความรับผิดชอบที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ถ้าทำไม่เสร็จเราก็ต้องยอมที่จะนำเวลาในวันหยุด มาทำงานให้เป็นไปตาม "ต้องเสร็จ Basis" หรือในกรณีที่งานตรวจสอบของลูกค้า รายหนึ่ง ขออนุญาตยกตัวอย่างจริงของผม เลยละกันครับเพื่อความสมจริงสมจัง ว่า ลูกค้ารายนั้นเป็น โรงแรม 5 ดาวตั้งอยู่ติดหาดไม้ขาวที่ภูเก็ต และทีมมีความคุ้นเคยกับลูกค้า (เคยตรวจมาก่อนแล้วครับจึงเข้าใจภาพรวม) และลูกค้ามองออดิทในทัศนคติที่ดี ทำให้เวลาขอเอกสารหรือ สอบถามสิ่งที่สงสัย เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ผลคือ ทีมเราเริ่มทานอาหารเช้า (ถ้าตรวจสอบกิจการโรงแรม ออดิทมักจะได้ทานอาหารเช้าบุฟเฟ่ และพักในโรงแรมนั้นๆครับ) ของโรงแรม 5 ดาวนั้นเหมือนแขกคนหนึ่งทุกวันเวลา 8.45 - 9.20น (ประมาณนะ) และ ทีมเราจะเลิกงานก่อน 6 โมงเย็นเพื่อดูพระอาทิตย์ หย่อนตัวลงอันดามัน ครับ เป็นไงล่ะครับ แต่การ บริหารเวลานั้นยังรวมไปถึง ออดิทสามารถจะไปลง เรียนปริญญาโท ตอน 6 โมงเย็น ถึง สามทุ่มแล้วทำ thesis ต่อถึงตีสาม แล้ววันรุ่งขึ้น ตื่น 10 โมงมาทำงาน เที่ยง ก็เป็นไปได้เสมอ ตราบเท่าที่คุณบริหารเวลาของตัวเองได้ครับ



ปล ยังมีอีกหลายมุมมองในการบริหารเวลาของเหล่า ออดิทนะครับ เช่น จัดสรรเวลาไป เล่นฟิตเนสให้ล่ำๆ / อ่านหนังสือเพื่อสอบใบอนุญาต CPA หรือ แม้แต่นัดแฟนครับ