20/11/61

40(2) / 40(6) / 40(7) และ 40(8) ต่างกันอย่างไร


เป็นที่ทราบกันดีว่ารายได้ที่จ่ายให้กิจการ หรือบุคคลทั่วๆไปสามารถแบ่งตามสรรพากรได้หลักๆ 8 ประเภทตามมาตรา 40และทุกๆครั้งที่มีการจ่ายเงินออกจากคนหรือกิจการนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงการ หัก ณ ที่จ่ายด้วยครับ (ผู้จ่ายชักเงินไว้นิดหน่อย เพื่อส่งสรรพากร) แต่ที่สำคัญคือแต่ละประเภทของเงินได้นั้น จะมีการหัก ณ ที่จ่ายไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความสับสนได้ โดยเฉพาะ ประเภท 40(2)การรับจ้าง, 40(6)เงินจากวิชาชีพ, 40(7)เงินจากการรับเหมาและ 40(8)เงินได้จากค้าขายหรืออื่นๆที่ไม่เข้า 7 ข้อ โพสต์นี้เลยจะมาแชร์การมองอย่างคร่าวๆในทางปฏิบัติว่าเราจะแยกได้ยังไง


40(2) การรับจ้าง การรับจ้างที่เข้าประเภทนี้ จะเป็นการทำงานที่ใช้แค่ แรง เท่านั้นและไม่เข้าข่ายวิชาชีพ (ทนาย สถาปัต วิศวะ บัญชี หมอ อะไรแบบนี้) เช่น ค่านายหน้า, ค่าพริตตี้, ต่าเน็ตไอดอลรีวิวสินค้า, ค่าที่ปรึกษา, ฟรีแลนซ์เขียนเว็บ, รับจ้างเขียนบล็อค, ฟรีแลนซ์ทั่วไป สังเหตุมั้ยครับว่ามันจะอารมณ์แบบ คยเดียวก็ทำงานได้เสร็จ


40(6) วิชาชีพ -  ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ครับซึ่งเราต้องมองก่อนว่าเป็นงานที่ ถ้าไม่เรียนจบในสายนั้นๆมาจะทำได้มั้ย ถ้าไม่ได้ก็จะเข้าข้อนี้เลย และถ้าเข้าข้อนี้ข้ออื่นๆก็ไม่ต้องพิจารณาครับ



40 (7) การรับเหมา และ 40(8) ทั่วไป ที่เอาสองข้อนี้มาไว้ด้วยกันเพราะคล้ายกันมาก และบ่อยมากที่คนจะแยกไม่ออกว่าเงินได้หรือจ่ายนั้นเป็นประเภทไหนแน่ สำหรับสอบข้อนี้มักเป็นการว่าจ้างให้ทำ โดยประเภทที่ 7 ผู้รับจ้างต้องมีทั้ง แรง และวัสดุเครื่องมือที่จำเป็น แต่ข้อ 8 มักจะเป็นในเชิงของ ธุรกิจ พานิชย์ โดยไม่มีวัสดุเครื่องมือมาเกี่ยวข้อง แต่จะไม่ถึงขั้นที่คนเดียวทำเสร็จ อาจจะมีทีมหรือมีสถานที่ตั้งของกิจการ



ในโพสต์ได้ทำแผนภาพคร่าวๆให้ในการพิจารณาหวังว่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น