นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?
.
ถ้าพูดถึงการจดจัดตั้ง นิติบุคคลแล้วนั้น
หลายท่านคงพอทราบว่าเราสามารถเลือกได้หลักๆ ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท
แต่ทราบไหมครับว่านิติบุคคลที่ต่างประเภทกันนี้ ก้มีหน้าที่ที่ต้อง จัดทำงบการเงิน
ที่ต่างกันไป โพสต์นี้เลยจะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นนี้กันครับ
.
ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่า ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามกฏหมายบ้านเรา มีใครบ้าง.. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, บริษัทจํากัด, มหาชนจำกัด, นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ซึ่งประเภทหลังๆเราๆมักจะไม่ได้คุ้นชิน
หรือนิยมมากนักเพราะเสมือนๆ เป็นไม้ต่อของการจดนิติบุคคลเริ่มแรกที่
เจ้าของกิจการมักจะเลือกจดกัน ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท
ที่เรานิยมก็มีหน้าที่จ้องจัดทำบัญชีกันด้วย
.
พอทราบแล้วว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำบัญชี ..แล้วบัญชีประเภทใดที่เราต้องจัดทำกันบ้าง ผมขออนุญาตแนบตารางจาก กรมพัฒนาธุรกิจฯ ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของกิจการที่ต่างกัน
ก็จะมีหน้าที่ทำงบการเงินที่ต่างกัน
.
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ จัดทำงบฯ มากที่สุดคือ บริษัทมหาชน จำกัด
นั่นก็เป็นเพราะ หลายๆบริษัทมหาชน ได้อยู่ในตลาดหุ้นนั่นเองครับ หมายความว่า
งบการเงินมีผู้ใช้ เช่นคนเล่นหุ้นเอามาวิเคราะห์
นายแบงค์เอามาดูเพื่อพิจรณาการปล่อยกู้ หรือแม้กระทั่งแบงค์ชาตินำมาเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลของประเทศเรา
เห็นมั้ยครับว่า งบฯ มีความหมายต่อทั้งตัวกิจการเองและบุคคลภายนอกมากมายในมิติของ
บริษัทมหาชน
.
ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ที่เจ้าของกิจการมักพิจรณาเริ่มจดทะเบียนนั้น จะต้องทำหลักๆคือ
งบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล) ,งบกำไรขาดทุน(แสดง รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรหรือขาดทุน) เท่านั้นครับ ส่วนหมายเหตุประกอบงบการเงิน
และข้อมูลเปรียบเทียบนั้น จพถูกฝังอยู่ในงบทั้ง 2 แบบข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทจำกัด ต้องยื่น
งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งโดยปกติแล้ว
งบนี้ก็คือการนำ กำไรหรือขาดทุน (จากงบกำไรขาดทุน)
มาบวกเข้าในส่วนทุนของกิจการนั่นเอง หรือพูดง่ายๆว่า งวดนี้เจ้าของรวยขึ้นเท่าไหร่
นั่นเองครับ
.
จะเห็นว่าการเป็นนิติบุคคลประเภทต่างๆ ก็มีหน้าต่างกันในการยื่นงบการเงิน
และต้องจัดทำเพราะเป็นกฏหมาย ดังนั้นการหาที่ปรึกษาด้าน บัญชีภาษี
หรือพนักงานบัญชีที่เหมาะสม คงเป็นเรื่องที่สำคัญ
ที่เจ้าของกิจการต้องพิจรณาด้วยนะครับ ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือนนะจ้ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น