20/11/61

40(2) / 40(6) / 40(7) และ 40(8) ต่างกันอย่างไร


เป็นที่ทราบกันดีว่ารายได้ที่จ่ายให้กิจการ หรือบุคคลทั่วๆไปสามารถแบ่งตามสรรพากรได้หลักๆ 8 ประเภทตามมาตรา 40และทุกๆครั้งที่มีการจ่ายเงินออกจากคนหรือกิจการนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงการ หัก ณ ที่จ่ายด้วยครับ (ผู้จ่ายชักเงินไว้นิดหน่อย เพื่อส่งสรรพากร) แต่ที่สำคัญคือแต่ละประเภทของเงินได้นั้น จะมีการหัก ณ ที่จ่ายไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความสับสนได้ โดยเฉพาะ ประเภท 40(2)การรับจ้าง, 40(6)เงินจากวิชาชีพ, 40(7)เงินจากการรับเหมาและ 40(8)เงินได้จากค้าขายหรืออื่นๆที่ไม่เข้า 7 ข้อ โพสต์นี้เลยจะมาแชร์การมองอย่างคร่าวๆในทางปฏิบัติว่าเราจะแยกได้ยังไง


40(2) การรับจ้าง การรับจ้างที่เข้าประเภทนี้ จะเป็นการทำงานที่ใช้แค่ แรง เท่านั้นและไม่เข้าข่ายวิชาชีพ (ทนาย สถาปัต วิศวะ บัญชี หมอ อะไรแบบนี้) เช่น ค่านายหน้า, ค่าพริตตี้, ต่าเน็ตไอดอลรีวิวสินค้า, ค่าที่ปรึกษา, ฟรีแลนซ์เขียนเว็บ, รับจ้างเขียนบล็อค, ฟรีแลนซ์ทั่วไป สังเหตุมั้ยครับว่ามันจะอารมณ์แบบ คยเดียวก็ทำงานได้เสร็จ


40(6) วิชาชีพ -  ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ครับซึ่งเราต้องมองก่อนว่าเป็นงานที่ ถ้าไม่เรียนจบในสายนั้นๆมาจะทำได้มั้ย ถ้าไม่ได้ก็จะเข้าข้อนี้เลย และถ้าเข้าข้อนี้ข้ออื่นๆก็ไม่ต้องพิจารณาครับ



40 (7) การรับเหมา และ 40(8) ทั่วไป ที่เอาสองข้อนี้มาไว้ด้วยกันเพราะคล้ายกันมาก และบ่อยมากที่คนจะแยกไม่ออกว่าเงินได้หรือจ่ายนั้นเป็นประเภทไหนแน่ สำหรับสอบข้อนี้มักเป็นการว่าจ้างให้ทำ โดยประเภทที่ 7 ผู้รับจ้างต้องมีทั้ง แรง และวัสดุเครื่องมือที่จำเป็น แต่ข้อ 8 มักจะเป็นในเชิงของ ธุรกิจ พานิชย์ โดยไม่มีวัสดุเครื่องมือมาเกี่ยวข้อง แต่จะไม่ถึงขั้นที่คนเดียวทำเสร็จ อาจจะมีทีมหรือมีสถานที่ตั้งของกิจการ



ในโพสต์ได้ทำแผนภาพคร่าวๆให้ในการพิจารณาหวังว่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจนะครับ

รวมหลักสูตร เรียนบัญชี (Accounting) ในอเมริกา (ฉบับคร่าวๆ) by P’Mary Jojo

พอดีผมเห็นบทความของพี่ Mary Jojo เขียนไว้เกี่ยวกับการเรียนบัญชีในอเมริกา แล้วเห็นมีหลายคนสนใจเลยนำมาให้อ่านกันเผื่อเป็นแนวทางครับ ขอบคุณพี่ Mary Jojo ที่อนุญาตให้นำมาแบ่งปันมากๆครับ



รวมหลักสูตร เรียนบัญชี (Accounting) ในอเมริกา (ฉบับคร่าวๆ)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาชีพนักบัญชี ก็คล้ายๆวิชาชีพบางสายงาน เช่น พยาบาล หมอ ทนายความ ที่มันแบ่งเป็นความสามารถเฉพาะทางย่อยไปอีกนะคะ ไม่ใช่หลักสูตรครอบจักรวาล หรือเก่งทุกarea ยกเว้นจะไปลงเรียนเพิ่มมันทุกarea ตย.เช่น หมอ ก็มีหมอเฉพาะทาง หมออายุรศาสตร์ หมอสู หมอผ่าตัดยังแบ่งเป็นผ่าตัดส่วนไหนของร่างกาย ผ่าตัดเพื่อสุขภาพรึผ่าเพื่อเสริมความงาม บัญชีก็เช่นกัน แบ่งเป็นเฉพาะทางไปอีก เช่น ทำภาษี audit bookkeeping payroll ก็ว่ากันไป เวลาที่คุณคิดว่าอยากเป็นนักบัญชี จะเรียนอะไร ยังไง ก็ต้องมาดูเป้าหมายก่อนค่ะ ว่าคุณต้องการอะไร อยากทำบัญชีด้านไหน จะได้แพลนถูก แต่ถ้ายังเลือกไม่ได้ ให้ลงเรียนวิชาพื้นฐานไปก่อน และค้นหาตัวเองให้เจอ ยิ่งเจอเร็วยิ่งดีกับตัวเอง
Degree & certificate ของบัญชีมีเยอะค่ะ จะแบ่งเป็นข้อย่อยๆให้ อย่าลืมว่า ลงทุนไปมากได้มาก ลงทุนน้อยได้น้อยนะคะ ถ้าลงเรียนแค่คอร์สสั้นๆ เอาแค่ certificate ก็จะไปเทียบรายได้ หรือโอกาสในการหางานเท่ากับคนที่จบตรี จบโท ไม่ได้นะคะ
ไม่เคยมีพื้นฐานบัญชีเลย ก็เรียนบช.ได้ ไม่เก่งเลขก็เรียนได้ ขอแค่ บวกลบคูณหาร เป็น ที่เหลือ คอมคิดให้เราค่ะ
1) certificate เป็นคอร์สสั้นๆ เรียนไม่วิชา ใช้เวลาไม่กี่เดือน เช่นเทอมเดียว (3-4ด) ก็ได้ใบเซอร์ไปหางานได้ค่ะ เช่น bookkeeping, payroll, tax preparer, accounting assistant เป็นต้น
คอร์สพวกนี้สามารถหาเรียนได้ตาม community college ค่ะ ราคาจะไม่แพง ส่วนมากเรียนแค่ 1-2เทอม ก็จบ มีอีกที่คือ HR block เรียน tax จบแล้วสมัครงานกับเค้าได้เลย
2) associate degree in accounting เรียน 60 semester units ค่ะ เปิดสอนตาม community college ถ้าลงเรียน full time ใช้เวลา 2ปี จบแล้วหางานได้เลยเช่นกัน และสามารถต่อยอดไปเรียนต่อจนจบ ป.ตรีค่ะ
3) bachelor degree in business/accounting เรียน 120 semester units ค่ะ เปิดสอนตาม university จะเริ่มลงเรียนจากปี1เลยก็ได้ แต่จะลง2ปีแรกที่ community college ก็ได้ แล้ว transfer มาเรียนต่ออีก 2ปี วิธีนี้จะประหยัดเงินกว่า และเราสามารถมี associate degree มากอดรอก่อนได้ (แต่associate degreeที่ได้ อาจไม่ใช่ AS accounting อาจเป็น AS business เพราะวิชาที่จะใช้โอน จะเป็นพื้นฐานbusinessค่ะ กรุณาตรวจสอบรายวิชากับสถาบันที่คุณจะเรียน)
ข้อควรระวังสำหรับคนที่จะ transfer ให้เทียบคลาสที่จะลงเรียนให้ดี ว่าต้องเรียนอะไรที่ต้นทาง ที่ปลายทางยอมรับเทียบโอน เงื่อนไขอะไรยังไง ต้องคุยกับ counselor ให้ดีนะคะ ลงผิด เสียเวลาและเสียเงินเปล่าๆ
การเรียน CC vs university เคยเขียนแชร์แล้ว ลองหาอ่านดูค่ะ
ป.ตรี บางมหาลัยจะมีเมเจอร์ให้เลือก เช่น accounting (general), accounting information system (ไม่แน่ใจว่าที่ไทยเรียกบัญชีคอมรึเปล่า), cooperate accounting (เรียนfinance กับ accounting)
4) master degree (30 semester units) อันนี้จะเริ่มเฉพาะทางละ เช่น master in accountancy or master in taxation เป็นต้น มักเรียนกัน 1-2ปี แล้วแต่หลักสูตรค่ะ ไม่แนะนำให้เรียน MBA ธรรมดา เพราะมันกว้างไป เวลาสมัครงาน คุณจะสู้คนที่เรียนเฉพาะทางไม่ได้
ปกติแล้วต้องสอบเอาคะแนน GRE/GMAT และสำหรับคนที่จบตรีจากนอกเมกา ต้องสอบ toefl or ielts (รายละเอียดเช็คตรงสถาบันที่คุณจะเรียน)
คนที่จบตรีมาจากไทย หรือจบตรีมาจากไหนก็แล้วแต่ ไม่ว่าคุณจะจบเอกอะไรมา ก็สามารถมาต่อยอดเรียนโทบช.ได้ค่ะ ถ้าจบตรีอย่างอื่นมา ต้องลงเรียนวิชาบช.เพิ่ม
5) phd in accounting ก็มีค่ะ แต่เราไม่เคยศึกษารายละเอียด
มาว่าด้วยเรื่อง license ต่างๆของ accounting บ้าง มีหลายตัวให้เลือกนะคะ เช่น CMA, CISA, enroll agent เป็นต้น แต่ที่คนรู้จักอย่างกว้างขวางและนายจ้างให้ความสำคัญมากกว่า มีโอกาสมากกว่า คือ CPA
Qualification ของ CPA ให้หาอ่านรายละเอียดในรัฐที่คุณจะสอบนะคะ แต่หลักๆเลย คือต้องมีวุฒิขั้นต่ำป.ตรี และต้องมีอย่างน้อย 150 semester units คุณอาจสงสัยว่า อ้าว จบป.ตรี เรียนแค่120unitเอง แล้วจะเอา 30unit มาจากไหน อันนี้มีให้เลือกค่ะ เช่น 1) ต่อโทค่ะ 30unit พอดี 2) เรียน minor อะไรก็ได้ ตอนเรียนป.ตรี 3) เรียนอะไรเพิ่มก็ได้ แต่อย่าลืมว่าก่อนจะใช้คำว่า "เรียนอะไรก็ได้" คือคุณได้ลงวิชาบังคับที่ต้องมีครบหมดแล้วนะคะ จะไปเรียนเพิ่มใน community college ก็ได้ ประหยัดเงินกว่า
รายละเอียดหลักสูตร ค่าเรียน จิปาถะ คุณต้องเช็คเองจากท้องที่ที่คุณอยู่ เวลาค้นนะคะ
- google หาที่เรียนก่อน เช่น หา community college ใกล้บ้าน
- จากนั้นเข้าไปในเวปของคอลเลจ แล้วหาหัวข้อ "degree and certificate accounting"
- อยากสมัครเรียน เอาอะไรบ้าง? ต้องสอบอะไรบ้าง? จะเทียบวุฒิจากไทยทำไง? ----> qualification แต่ละสถาบันต่างกัน ตอบให้ไม่ได้ค่ะ คุณต้องเช็คตรงกับสถาบันที่คุณสนใจโดยตรงค่ะ เค้าจะให้คำตอบที่ดีที่สุดกับคุณค่ะ
- พอได้คอร์สที่สนใจ ก็เช็คค่าเทอม เข้าไปในหัวข้อ "tuition and fee" ค่ะ
คนที่อยากได้งานกับ big 4 accounting firm ต้องจบขั้นต่ำ ป.ตรี และ qualify to be a cpaค่ะ คือถ้าจบตรี ก็ต้องมี 150unitแล้ว ไม่งั้นต้องจบโท
สำหรับ Big4 นะคะ จบตรีกับจบโท อาจstart เงินเดือนไม่เท่ากัน แต่มันไม่ต่างมาก แล้วมันจะไปสูสีกันหลังจากทำงานไปสักพัก (เห็นว่า 1-2ปี) สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การมี cpa licenseค่ะ
ขอคร่าวๆก่อนตามนี้นะคะ หวังว่าจะพอเริ่มจับทางได้ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอาชีพอะไร จะเรียนอะไรดี บัญชีก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เราเคยคำนวนเล่นๆ ค่าเทอมทั้งหมดที่เรียนไป ทำงานไม่ถึงปี ก็ได้ทุนคืนค่ะ เราเรียนสถาบันของรัฐ ไม่แพง และได้งานรอก่อนจบ ไม่ต้องเตะฝุ่นหางาน ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับเราค่ะ
*****ฝากนะคะ คนที่คิดแค่คิดว่า จะเรียนอะไรดี ที่เรียนง่าย จบเร็ว หางานง่าย --> there is no such thing without your effort ค่ะ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆถ้าไม่พยายามค่ะ *****
ใครอ่านถึงตรงนี้แล้วมีคำถามเพิ่มถามได้ค่ะ ถามตรงนี้เลยนะคะ "งดตอบหลังบ้าน" เพราะต้องตอบคำถามคล้ายๆกันหลายรอบๆ ตอบตรงนี้ คนอื่นได้อ่านด้วย
(งดตอบคำถามที่แสดงให้เห็นว่าคุณยัง"ไม่ได้อ่าน" - ขอบคุณค่ะ)

10/5/61

นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


.
ถ้าพูดถึงการจดจัดตั้ง นิติบุคคลแล้วนั้น หลายท่านคงพอทราบว่าเราสามารถเลือกได้หลักๆ ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท แต่ทราบไหมครับว่านิติบุคคลที่ต่างประเภทกันนี้ ก้มีหน้าที่ที่ต้อง จัดทำงบการเงิน ที่ต่างกันไป โพสต์นี้เลยจะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นนี้กันครับ

.
ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่า ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามกฏหมายบ้านเรา มีใครบ้าง.. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, บริษัทจํากัด, มหาชนจำกัด, นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ซึ่งประเภทหลังๆเราๆมักจะไม่ได้คุ้นชิน หรือนิยมมากนักเพราะเสมือนๆ เป็นไม้ต่อของการจดนิติบุคคลเริ่มแรกที่ เจ้าของกิจการมักจะเลือกจดกัน ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท ที่เรานิยมก็มีหน้าที่จ้องจัดทำบัญชีกันด้วย

.
พอทราบแล้วว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำบัญชี ..แล้วบัญชีประเภทใดที่เราต้องจัดทำกันบ้าง ผมขออนุญาตแนบตารางจาก กรมพัฒนาธุรกิจฯ ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของกิจการที่ต่างกัน ก็จะมีหน้าที่ทำงบการเงินที่ต่างกัน

.
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ จัดทำงบฯ มากที่สุดคือ บริษัทมหาชน จำกัด นั่นก็เป็นเพราะ หลายๆบริษัทมหาชน ได้อยู่ในตลาดหุ้นนั่นเองครับ หมายความว่า งบการเงินมีผู้ใช้ เช่นคนเล่นหุ้นเอามาวิเคราะห์ นายแบงค์เอามาดูเพื่อพิจรณาการปล่อยกู้ หรือแม้กระทั่งแบงค์ชาตินำมาเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลของประเทศเรา เห็นมั้ยครับว่า งบฯ มีความหมายต่อทั้งตัวกิจการเองและบุคคลภายนอกมากมายในมิติของ บริษัทมหาชน


.
ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่เจ้าของกิจการมักพิจรณาเริ่มจดทะเบียนนั้น จะต้องทำหลักๆคือ งบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล) ,งบกำไรขาดทุน(แสดง รายได้ค่าใช้จ่าย = กำไรหรือขาดทุน) เท่านั้นครับ ส่วนหมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลเปรียบเทียบนั้น จพถูกฝังอยู่ในงบทั้ง 2 แบบข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทจำกัด ต้องยื่น งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งโดยปกติแล้ว งบนี้ก็คือการนำ กำไรหรือขาดทุน (จากงบกำไรขาดทุน) มาบวกเข้าในส่วนทุนของกิจการนั่นเอง หรือพูดง่ายๆว่า งวดนี้เจ้าของรวยขึ้นเท่าไหร่ นั่นเองครับ


.
จะเห็นว่าการเป็นนิติบุคคลประเภทต่างๆ ก็มีหน้าต่างกันในการยื่นงบการเงิน และต้องจัดทำเพราะเป็นกฏหมาย ดังนั้นการหาที่ปรึกษาด้าน บัญชีภาษี หรือพนักงานบัญชีที่เหมาะสม คงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เจ้าของกิจการต้องพิจรณาด้วยนะครับ ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือนนะจ้ะ

8/5/61

Big4 และการเติบโตในธุรกิจ ให้คำปรึกษา




Ref:
https://www.wsj.com/articles/how-did-the-big-four-auditors-get-17-billion-in-revenue-growth-not-from-auditing-1523098800


เมื่อช่วงเดือน เมษายน 2018 มีบทความของ Wall Street Journals ที่บรรยายเกี่ยวกับการที่ Big4 มีรายได้จากธุรกิจให้คำปรึกษา(Conusulting) มากกว่างานสอบบัญชี (Assurance-Auditing)


จากบทความเราจะเห็นว่า Big-4 ที่ประกอบด้วย PwC/ EY/ KPMG และ Deloitte มีหลายได้จากการรวมกันของทั้ง Global ในบริการให้คำปรึกษา เพิ่มขึ้นราวๆ 44% ในขณะที่งานบริการด้านการสอบบัญชี หรือให้ความเชื่อมั่นนั้นเพิ่มเพียง 3% ..น่าคิดนะครับว่า การเพิ่มขึ้นจากรายได้ของบริการให้คำปรึกษานี้ จะกระทบต่อคุณภาพของงานสอบบัญชีมั้ย


เพราะลองนึกภาพว่า 1 บริษัทที่ให้บริการทั้ง ทางด้านให้คำปรึกษา เช่น วางระบบ IT/ วางแผนภาษีข้ามชาติ หรือแม้กระทั่งวางแผนการจ้างพนักงาน(HR) ก็ต้องมีอีกหน้าหนึ่ง ในการตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งคำถามที่คาใจของหลายฝ่ายคือ คุณภาพของงานสอบบัญชี รวมถึงความเป็นอิสระของผู้สอบด้วย เพราะ สิ่งที่ต้องมาพร้อมกับการบริการให้ลูกค้าหลายๆอย่าง ก็คือ ค่าจ้าง ที่เป็นเม็ดเงินไม่น้อย



ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปในเหตุการณ์สำคัญๆ ของสำนักงานสอบบัญชีระดับโลก ชื่อของ Arthur Andersen คงลอยมาเป้นอันดับต้นๆ จากเหตุการณ์ฉาวระหว่างบริษัท และบริษัท Enron แต่จะมีใครรู้ครับว่าภายใต้ รายได้ระหว่างสองบริษัทนี้ รายได้ที่ Arthur Andersen ได้รับจากการให้บริการสอบบัญชีกลับน้อยกว่า ให้บริการให้คำปรึกษาด้วยซ้ำไป ($27millions & $25millions)



หลายๆหน่วยงานในโลกได้มีการพิจรณา การจัดตั้งบริษัทแยกต่างห่าง หรือ Audit-Only firm เพื่อให้มีการคงคุณภาพ และมีความเป้นอิสระไว้ครับ แต่อย่างไรก็ตามการตั้งขึ้นมาของ สำนักงานที่ให้บริการสอบบัญชีอย่างเดียวนั้นอาจจะ มีข้อเสียด้วยเช่น อาจมีข้อมูลที่จำกัดมากขึ้นและทำให้การสอบบัญชีในลูกค้ารายใหญ่ๆ ระดับโลกไม่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว


อย่างไรก็ตามในมิติของพนักงานบัญชี หรือสำนักงานบัญชีบ้านเรานั้นผมคิดว่า เราสามารถหาช่องทางทำเงิน และขยายฐานลูกค้าได้จากการ ให้คำปรึกษา เพราะงานให้คำปรึกษานี้ ต่างกับงานออดิทหรืองานสอบบัญชี ที่มี รายละเอียด (customize) ที่มากกว่า ลึกกว่า และทำเงินได้มากกว่านั่นเอง