การตีด้อยค่า และความฉ้อฉลของผู้บริหาร..จากเครื่องมือทางการบัญชี
หลายคนคงได้ยินการที่ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบทางด้านบัญชี มักใช้กลเม็ดทางการบัญชี เป็นศรีธนญชัย ในการตกแต่งตัวเลขมาหลายกรณี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่ค่อยโด่งดังเหมือน กรณีอื่นๆที่จะยกมาเล่าให้ฟังสั้นๆในวันนี้ก็คือการใช้ การตั้งการด้อยค่า ตามมาตรฐานเบอร์ 36 ...
ปกติแล้วในกิจการ หรือในงบดุล(ขอใช้ชื่อเก่า) ในฝั่งสินทรัพย์นั้นถ้ามี ข้อบ่งชี้ ที่มูลค่าที่น่าจะได้ (ไม่ว่าจะขายสินทรัพย์ หรือใช้งานมัน) น้อยกว่า มูลค่าตามบัญชี .... เราก็จะมีการพิจรณาตั้งค่าเผื่อกันปกติ ตามกิจวิสัย
แล้วมันเป็นเครื่องมือ ใช้ในการตกแต่งได้อย่างไร ...
ลองคิดดูในกรณีที่กิจการ (ยิ่งพวกบริษัทในตลาดฯ) ที่มักปล่อยกู้กันในบริษัทในเครือ หรือบริษัทลับแล ที่ตั้งอยู่ไหนไม่รู้ มีตัวหรือมีแค่กระดาษจดทะเบียนหรือปล่าวก็ไม่รู้ โดยที่ผู้บริหารของ บริษัทใหญ่ รู้เห้นเป็นใจ มีสายอำนาจอยู่ในบริษัทที่มาขอกู้นั้นๆ
เมื่อบริษัทใหญ่ปล่อยกู้ไป
Dr. ลูกหนี้เงินกู้ XXX
Cr. เงินสด XXX
วันดีคืนดี ก็นึกอยากจะตั้งหนี้สงสัยจะสูญ หรือร้ายกว่านั้นก็ไม่สงสัยมันละ ก็ตั้งเป็นหนี้สูญมันเลย โดยที่ทึกทักข้อบ่งชี้ ว่าไอ้เงินให้กู้ก้อนี้เนี่ยมัย สูญแน่ๆ โดยชักแม่น้ำทั้งแปดมาพูด
Dr. หนี้สงสัยสูญ YYY
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญ YYY
หรือ
Dr. หนี้สูญ YY
Cr.ลูกหนี้เงินกู้ YY
สุดท้ายแล้ว ผู้ถือหุ้นคนอื่นก็ไม่รู้อะไร เพราะปล่อยกู้แบบเนียนๆ และตัดสูญแบบเนียนๆ ในงบก็ไม่มีให้แกะรอย มิหนำซ้ำผู้สอบบัญชีหลายท่านนน ยังไม่ทึกทักอีก ว่าไอ้ที่ตั้งตัดหนี้สูญนี่ มันมีมูลเหตุที่เหมาะสมไหม ผลประโยชน์เลยไม่ต้องเดาว่าไปไหน นอกจากไอ้บริษัทที่มีสาย กับผู้บริหารบริษัทแม่
ยังมีอีกหลายช่องทางในการ นำเงินจากบริษัทแม่โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาด ยักย้ายไปโดยไม่สมควร ดังนั้นแล้วไม่ต้องสงสัยว่าทำไม หลายต่อหลายเศรษฐี ถึงตั้งใจปลุกปลั้นบริษัทในมือตัวเอง เพื่อให้เข้าตลาด แบ่งคนอื่นมาร่วมเป็นเจ้าของ...รับความเสี่ยง ด้วยกันนั่นเอง
13.07.2017
13/7/60
11/7/60
ขั้นสอง #2 สู่CPA : การบริหารเวลาในการอ่าน เมื่อมีงานประจำ
EP2 การบริหารเวลา - Time management
มาต่อกันเลยครับสำหรับวิธีการเตรียมตัวขั้นต่อไปหลังจากที่เรา กำหนดเวลาว่าเราจะ(ตั้งใจ)สอบให้ได้ภายใน x ปีและภายใต้การสอบแต่ละครั้งนั้น เราจะสมัครสอบวิชาใดบ้าง
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคน พอเรากำหนดวิชาที่จะตั้งใจในการสอบแต่ละครั้งได้แล้วนั้น เราก็จะทราบดีว่า เรามีเวลาเท่าไหร่นับจากวันนี้ถึงวันสอบ เพื่อให้เราได้เตรียมตัวอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาที่พบสำหรับชาวออดิทก็คือ จะเอาเวลาที่ไหนไปอ่าน หรือ จะวางแผนยังไงในเมื่อการทำงานของเรา ไม่ใช่ลักษณะแบบต่ายตัว เช่นตอกบัตร 8 โมงเช้า และงานเลิก 5โมงเย็น นั่นจึงเป็นปัญหาหลักๆ และผมเองก็เผชิญสิ่งนี้เช่นกันครับ
สำหรับผมนั้น ผมมองว่าเราจะไปฝืนตัวเองให้อ่านหนังสือดึกๆไม่ได้หรอกครับ (ผมง่วงและเหนื่อย และเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงเป็นเช่นกัน หลังเลิกงานไม่อยากทำอะไรแล้ว) แต่สิ่งที่ผมทำคือ การบริหารเวลาที่มีอยู่น้อยนิด ให้มันเกี่ยวข้องกับการสอบมากที่สุด ....อย่างไรนะหรอ
1. ตื่น : ทุกๆเช้าผมจะตื่นตอนประมาณ 5.45am ครับเพื่อจะได้มีเวลาว่างสักพักในตอนเช้าโดย 5.45 - 6.00 ผมก็จะเล่น Facebook เหมือนคนทั่วๆไปมั้งครับที่เล่นกันในตอนเช้า แต่พอ 6.00น ผมจะวางมือและไปหากาแฟร้อนกิน + ล้างหน้าที่บ้านครับ เพื่อให้ผมตื่นตัว(วิธีนี้ผมคิดว่าต่างกันไปในแต่ละคน โดยหาเถอะครับว่าทำอะไรแล้วเราจะสามารถตื่นได้) ต่อจากนั้นผมจะอ่านหนังสือ ในส่วนที่เป็น "เนื้อหา" เช่น ในวิชากฏหมายผผมก็จะอ่านหลักกฏหมายส่วนที่ต้องใช้การท่องจำเป็นหลัก หรือในวิชาบัญชี ผมก็จะอ่านหลักการที่ต้องอาศัยการท่องจำ โดยจะแยกการทำโจทย์ หรือวิเคราะห์ ไว้ช่วงเย็นหลังเลิกงานแทน เพราะตอนเช้าผมพบว่าตัวเอง ทำโจทย์หรือวิเคราะห์อะไรได้ช้ากว่าตอนเย็น และตอนเย็นผมไม่สามารถอ่านเนื้อหา ตัวอักษรมากๆได้เพราะ ผมง่วง
ส่วนของ "เนื้อหา" ที่อาศัยการท่องจำ ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าผมหมายถึงอะไร ผมขอยกตัวอย่าง สมมุตว่าผมกำลังอ่าน วิชาการบัญชี1 ในส่วนของเนื้อหา ลูกหนี้การค้าในส่วนของ หนี้สงสัยจะสูญ (มาตรฐานฯ 101) ผมก็ใช้เวลาในช่วงเช้านี้ท่องและอ่าน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การตั้งหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for doubtful account)ว่ามีการตั้งกี่รูปแบบ เช่นการตั้งจากยอดขาย หรือการตั้งจากยอดลูกหนี้, การตัดหนี้สงสัยจะสูญหรือ การได้หนี้สูญรับคืน ว่ามีกี่รูปแบบหลักๆเช่น เป็นไปตามกรมสรรพากร หรือไม่เป็นไปตามกรมสรรพากร อะไรอย่างนี้เป็นต้นครับ โดยส่วนนี้ผมจะท่องเป็นส่วนมาก และยังไม่ทำโจทย์ในช่วงเช้านี้ ทำไมผมต้องท่องก่อนก็เพราะว่าผมเชื่อว่า คนเราจะประยุกต์กับสถานการณ์ในโจทย์ได้ คุณต้องแม่นก่อนน่ะครับ ....Aristotle ก็เคยบอกไว้ว่า You can start thinking only you have memory. แต่ผมมี idol เป็น Jack ma นะ
2. ระหว่างเดินทางไปทำงาน : ผมมักออกจากบ้านช่วง 8.30น หรือ 9.00น แล้วแต่ความใกล้ไกลของลูกค้าที่ไปทำการตรวจสอบครับ โดยในช่วงนี้ผมใช้วิธีการ "ฟังคลิป" ระหว่างการเดินทาง โดยผมทำการดาวน์โหลดไฟล์เสียง ของอาจารย์ที่สอนติว (บริษัทผมมีไฟล์การสอนติวทั้งวิชา กฏหมายและบัญชี) ใส่ลงในมือถือครับ และเปิดใส่หูวนไประหว่างทางไปทำงาน พบว่ามันจำได้จริงๆครับ และหลังจากที่เพื่อนๆฟังคลิปเสียงจากที่อาจารย์ติวเสร็จ หรือเพื่อนบางท่านไม่ได้มีคลิปดังกล่าว สามารถใช้วิธี "อัดเสียงตัวเอง" ลงไปได้ครับ เพราะผมเจอปัญหาที่ว่า เราจะจำ ข้อกำหนด ตัวบทกฏหมาย ยังไงให้มันหมด โดยเฉพาะวิชา กฏหมาย2 ซึ่งคงรู้กันดีว่ามีตัวกฏหมายเยอะมากในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี สิ่งที่ผมทำคืออัดเสียงในส่วนที่ต้องท่องจำหนักๆลงในมือถือ เช่น มาตรา 65ทวิ ประกอบด้วย 65ทวิ วงเล็บ ....ก็พูดไปครับ เอาเป็นภาษาที่ตัวเองเข้าใจ เพราะเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่จำ
ลองสังเกตุสิครับว่า ช่วงนี้ตามห้างต่างๆจะเปิดเพลง พรปีใหม่ ....ผมมักจะฮึมฮัม เพลงนี้บ้างบางทีเพราะมันติดหู ฉันใดฉันนั้น เปิดเสียงตัวเองใส่หูทุกวัน มันก็ต้อง ฮึมฮัม ได้บ้างแน่นอนครับ
3. ระหว่างทำงาน : ผมว่าเรารู้กันอยู่แล้วครบว่า บางครั้ง ออดิทเรามักจะ "ว่างมาก" เพราะอยู่ในช่วงที่งบการเงินถูกตรวจสอบเสร็จแล้ว โดยเฉพาะเดือน ห้า ถึง เจ็ด ช่วงนั้นซึ่งเป็นช่วงใกล้สอบ รอบที่2 ของปี ดังนั้นโอกาสทองของเราครับ ในระหว่างที่ออกตรวจลูกค้า ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำเสร็จทันเวลา และไม่มีงานคั่งค้างเหลืออยู่ (ผมว่าเราต้องจัดลำดับความสำคัญให้งานมาก่อนนะครับ) ผมก็มักจะเอาไฟล์เสียงโหลดลง Dropbox เพื่อเปิดใส่หูฟังในคอมพิวเตอร์ระหว่างวัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตาม คอนเส็บที่กล่าวไว้ในข้อที่ 2 และผมดาวโหลด ไฟล์ เช่นหนังสือ ตำรา ชีทเรียน หรือแม้กระทั่ง มาตรฐานการบัญชี ไว้ใน Dropbox ของผมครับ เพื่อทำการเปิดมาอ่านได้ระหว่างวันโดยไม่เป็นการให้คนอื่นมองว่าเราหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน มันก็จะดูน่าเกลียดเกินไป
ผมว่าวิธีนี้ไม่ได้เบียดบังเวลางานเลยครับ เพราะออดิทเราเป็นอาชีพที่มีทั้ง การทำงานที่หนักหน่วง งานที่ไม่มีเวลากำหนด แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ผิดหรอครับถ้าเราบริหารเวลา ยามเราว่างหรือ มีปริมาณงานที่น้อยกว่าช่วงหนักๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตัวเอง (สอบได้ CPA) และบริษัท (พนักงานมีความรู้) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ....ไม่มีใครพูดว่า เรามีเวลาว่างอ่านหนังสือ หรอกครับ ดังนั้นเราต้องพลิกทุกอณูให้สอดคล้องกับเป้าหมายให้มากที่สุด
4. หลังเลิกงาน : ส่วนตัวผมหลังเลิกงาน ผมจะพยายามทำให้งานเสร็จไม่เกิน 6 โมงเย็น สำหรับช่วงปกติ และไม่เกิน สามทุ่ม สำหรับช่วงพีค (ถ้าทำได้ และผมทำได้นะ) โดยถ้าช่วงไหนพีคหรือปริมาณงานมันเยอะมากๆ ผมจะแก้ไขระหว่างวันโดย พกข้าวกลางวันไปกิน เพื่อทำงานได้มากขึ้น หรือใช้เวลาตอนกลางวันนั้นแหละ เปิดคลิปที่อัดไว้ในคอมฯ หรือไฟล์ตำราที่ดาวโหลดไว้ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผมได้เวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชม ต่อวันครับ และระหว่างวันก็ตั้งใจทำงานเพื่อที่ให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปอ่านหนังสือต่อ เพราะถ้าคุณเลิกดึกมากเกินไป ผลลัพธ์คือ เราไม่มีทางอ่านหนังสือต่อได้หรอกครับ เราก็ง่วง เหนื่อย เป็นปกติของธรรมชาติ
พอปิดคอม เลิกงาน ผมจะหาร้านกาแฟ ใกล้ๆออฟฟิตลูกค้านั้นๆ ไปฝังตัวหลีกหนีการจราจรที่น่ารัก น่าชังงงง ของมหานครแห่งนี้ ในการ 1.ฟังคลิปเสียงของอาจารย์ต่างๆที่บริษัทผมแจกให้พนักงาน หรือ 2.ฝึกโจทย์สำหรับวิชาต่างๆ (หลังจากที่ผม ฟังคลิปเรียนเสร็จแล้ว) ...ผมฟังคลิปติวสอนทุกวิชาเลยครับจากที่บริษัทผมให้มา(ผมซื้อหนังสือเพิ่มเติมเองบ้าง และลงคอร์สวิชาการสอบบัญชี 2 ครับ) เพราะผมคิดว่าอาจารย์ต่างๆมีเทคนิคและวิธีการที่เก็บมาจากประสบการณ์ ซึ่งทำให้เราย่นเวลาในการอ่านเองไปได้เยอะ โดยเฉพาะวิชา กฏหมายและ การสอบบัญชี ที่ค่อนข้างหนักไปทางเนื้อหาที่มากเหลือเกิน โดยระหว่างการฟังคลิปผมจะทำการ จดโน้ตย่อ หรือถ้าวิชาไหนมีชีท ก็ทำการเขียนลงไปในชีทเหมือนตอนเรียนมหาลัยนั่นแหละครับ และพอเราเรียนจบ ผมก็ทำการฝึกฝนโจทย์ ใครจะหาที่เรียนสามารถอินบ้อคมาถามได้ ผมได้แต่แนะนำและคุณเพื่อนๆไปตัดสินใจเอาเองครับ อย่ามองว่ามันเปลืองเงินเลยครับเพราะบางที เรา Credit เงินสด ออกไป แต่เรากำลัง Debit สินทรัพย์ใส่ตัวเองอยู่ก็เป็นได้
โดยวิชาการบัญชี 1+2 ผมใช้หนังสือที่รวบรวมโจทย์ของ อาจารย์ สศ (ไปหากันดูเองครับว่าใคร ผมว่ามีคนเดียวนะที่แต่งหนังสือขายและรู้จักกันแพร่หลาย) โดยเราต้องตั้งเป้าว่าวันนี้ต้องทำบทนี้ให้จบ อย่า! ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่าน x ชั่วโมง เพราะเชื่อเถอะว่าเพื่อนๆจตั้งตารอให้หมดเวลาและเดินกลับบ้านไปพร้อมความรู้สึก บอกตัวเองว่า วันนี้ทำได้ดี อ่านหนังสือไปแล้ว ทั้งที่จริงแล้วการตั้งเป้าว่าอ่านจบบทไหนๆบ้างจะมีประสิทธิผลมากกว่าครับ เพราะมันจะสะท้อนการก้าวหน้าในการอ่านที่แท้จริง
วิชากฏหมายผมอ่านจาก ชีทสรุปหลักกฏหมายของอาจารย์ พกว (หาเอาเองครับว่าใคร อิอิ) โดยอ่านตามที่อาจารย์ท่านบรรยายและ ฝึกโจทย์เก่าไปมากๆครับ เพราะผมคิดว่าข้อสอบมันออกมาจนพรุน ทุกประเด็นแล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ในการสอบแต่ละครั้งเท่านั้นเอง
วิชาการสอบบัญชี 1 ซึ่งออกสอบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบต่าง ตรงส่วนนี้ผมว่าเราชาวออดิทต้อง อาศัยสิ่งที่ทำงานมาในการตอบครับ เพราะประสบการณืเราจะบอกเองว่า ตรงจุดหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไรดี
วิชาการสอบบัญชี 2 ซึ่งมักออกเกี่ยวกับการเขียนหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีฯ ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้หาคลิปติวมาฟังเพราะจะช่วยสรุป (ผมลงเรียนคอร์สสดในวิชานี้วิชาเดียวครับ) หน้ารายงานในแบบต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือถ้าไม่อยากเรียนผมเห็นเพื่อนบางคน ใช้วิธีดาวโหลด มาตรฐานการสอบบัญชีจากเว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งฟรี และค่อนข้างตรง มาอ่านเองครับ บวกกับ ดาวโหลดหน้ารายงานของจริงซึ่งหาได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆมาดู เพราะมันจะคล้ายคลึงกันแทบทุกที่ ลองดาวโหลดมาเปรียบเทียบกันดูนะครับผม (ในเว็บของสภาวิชาชีพบัญชี จะบอกเกี่ยวกับขอบเขตการสอบ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะในแผ่นนั้น จะบอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อๆก็ดาวโหลดมาอ่านได้ตามนั้นเลยครับ เหมือนเรามีสารบัญไว้ให้ฟรีๆ อยู่แล้ว)
*ตรงนี้สำหรับใครที่มี อุปนิสัยต่างกัน ก็ลองปรับใช้ดูนะครับ เคยมีลูกค้าของผมท่านนึง ใช้เวลาหลังเลิกงานนั่งต่อไปในออฟฟิตของตัวเองนั่นแหละ ในการอ่านหนังสือสอบ ปโท ของเขา ผมว่าก็เป็นเทคนิคที่เวิคทีเดียว
5.กลับถึงบ้าน : ผมกลับถึงบ้านประมาณ สี่ทุ่ม ถึงห้ามทุ่มแล้วแต่วัน ซึ่งผมถือว่าช่วงนี้คือการพักผ่อน หรือถ้าจะอ่าน จะอ่านเฉพาะของเก่า ในส่วนเนื้อหาที่เราแม่นแล้ว เพราะสมองเหนื่อยแล้วครับ จากการพาญพบ การทำงาน การทบทวนที่ร้านกาแฟ มาทั้งวัน ดังนั้นจุดนี้ผมมัก เล่น Faacebook, IG หรือ ทบทวนเฉพาะสิ่งที่ตนเองพอแม่นๆแล้ว เพื่อไม่เป็นการลืม แต่จะไม่แตะเนื้อหาใหม่ๆเด็ดขาด และผมจะเข้านอนไม่เกิน เที่ยงคืน เพื่อให้ลุกไหวในตอนเช้าครับ
สรุป
1. ขอย้ำว่าต้องรู้ครับว่าเราจะสอบอะไร เมื่อไหร่ ไม่งั้นจะไม่มีทางบังคับตัวเองให้อ่านได้แน่นอน
2. ตื่นนอน / เดินทาง / ระหว่างทำงาน / หลังเลิกงาน มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น หาให้เจอครับ
3. รู้ขอบเขต > หาอาวุธ (หนังสือ คลิปติว)
4. อ่าน > เข้าใจ > ท่อง > ฝึกแบบฝึกหัด
5. ทำข้อ 4 อีกอย่างน้อยสามรอบ
เดี๋ยวมาต่อนะครับ มาแน่ๆ อดใจหน่อยนะครับ พอดีช่วงนี้ พีค ครับคงรู้กันดี ^^
ขอบคุณครับ
มาต่อกันเลยครับสำหรับวิธีการเตรียมตัวขั้นต่อไปหลังจากที่เรา กำหนดเวลาว่าเราจะ(ตั้งใจ)สอบให้ได้ภายใน x ปีและภายใต้การสอบแต่ละครั้งนั้น เราจะสมัครสอบวิชาใดบ้าง
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคน พอเรากำหนดวิชาที่จะตั้งใจในการสอบแต่ละครั้งได้แล้วนั้น เราก็จะทราบดีว่า เรามีเวลาเท่าไหร่นับจากวันนี้ถึงวันสอบ เพื่อให้เราได้เตรียมตัวอ่านหนังสือ ซึ่งปัญหาที่พบสำหรับชาวออดิทก็คือ จะเอาเวลาที่ไหนไปอ่าน หรือ จะวางแผนยังไงในเมื่อการทำงานของเรา ไม่ใช่ลักษณะแบบต่ายตัว เช่นตอกบัตร 8 โมงเช้า และงานเลิก 5โมงเย็น นั่นจึงเป็นปัญหาหลักๆ และผมเองก็เผชิญสิ่งนี้เช่นกันครับ
สำหรับผมนั้น ผมมองว่าเราจะไปฝืนตัวเองให้อ่านหนังสือดึกๆไม่ได้หรอกครับ (ผมง่วงและเหนื่อย และเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงเป็นเช่นกัน หลังเลิกงานไม่อยากทำอะไรแล้ว) แต่สิ่งที่ผมทำคือ การบริหารเวลาที่มีอยู่น้อยนิด ให้มันเกี่ยวข้องกับการสอบมากที่สุด ....อย่างไรนะหรอ
1. ตื่น : ทุกๆเช้าผมจะตื่นตอนประมาณ 5.45am ครับเพื่อจะได้มีเวลาว่างสักพักในตอนเช้าโดย 5.45 - 6.00 ผมก็จะเล่น Facebook เหมือนคนทั่วๆไปมั้งครับที่เล่นกันในตอนเช้า แต่พอ 6.00น ผมจะวางมือและไปหากาแฟร้อนกิน + ล้างหน้าที่บ้านครับ เพื่อให้ผมตื่นตัว(วิธีนี้ผมคิดว่าต่างกันไปในแต่ละคน โดยหาเถอะครับว่าทำอะไรแล้วเราจะสามารถตื่นได้) ต่อจากนั้นผมจะอ่านหนังสือ ในส่วนที่เป็น "เนื้อหา" เช่น ในวิชากฏหมายผผมก็จะอ่านหลักกฏหมายส่วนที่ต้องใช้การท่องจำเป็นหลัก หรือในวิชาบัญชี ผมก็จะอ่านหลักการที่ต้องอาศัยการท่องจำ โดยจะแยกการทำโจทย์ หรือวิเคราะห์ ไว้ช่วงเย็นหลังเลิกงานแทน เพราะตอนเช้าผมพบว่าตัวเอง ทำโจทย์หรือวิเคราะห์อะไรได้ช้ากว่าตอนเย็น และตอนเย็นผมไม่สามารถอ่านเนื้อหา ตัวอักษรมากๆได้เพราะ ผมง่วง
ส่วนของ "เนื้อหา" ที่อาศัยการท่องจำ ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าผมหมายถึงอะไร ผมขอยกตัวอย่าง สมมุตว่าผมกำลังอ่าน วิชาการบัญชี1 ในส่วนของเนื้อหา ลูกหนี้การค้าในส่วนของ หนี้สงสัยจะสูญ (มาตรฐานฯ 101) ผมก็ใช้เวลาในช่วงเช้านี้ท่องและอ่าน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การตั้งหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for doubtful account)ว่ามีการตั้งกี่รูปแบบ เช่นการตั้งจากยอดขาย หรือการตั้งจากยอดลูกหนี้, การตัดหนี้สงสัยจะสูญหรือ การได้หนี้สูญรับคืน ว่ามีกี่รูปแบบหลักๆเช่น เป็นไปตามกรมสรรพากร หรือไม่เป็นไปตามกรมสรรพากร อะไรอย่างนี้เป็นต้นครับ โดยส่วนนี้ผมจะท่องเป็นส่วนมาก และยังไม่ทำโจทย์ในช่วงเช้านี้ ทำไมผมต้องท่องก่อนก็เพราะว่าผมเชื่อว่า คนเราจะประยุกต์กับสถานการณ์ในโจทย์ได้ คุณต้องแม่นก่อนน่ะครับ ....Aristotle ก็เคยบอกไว้ว่า You can start thinking only you have memory. แต่ผมมี idol เป็น Jack ma นะ
2. ระหว่างเดินทางไปทำงาน : ผมมักออกจากบ้านช่วง 8.30น หรือ 9.00น แล้วแต่ความใกล้ไกลของลูกค้าที่ไปทำการตรวจสอบครับ โดยในช่วงนี้ผมใช้วิธีการ "ฟังคลิป" ระหว่างการเดินทาง โดยผมทำการดาวน์โหลดไฟล์เสียง ของอาจารย์ที่สอนติว (บริษัทผมมีไฟล์การสอนติวทั้งวิชา กฏหมายและบัญชี) ใส่ลงในมือถือครับ และเปิดใส่หูวนไประหว่างทางไปทำงาน พบว่ามันจำได้จริงๆครับ และหลังจากที่เพื่อนๆฟังคลิปเสียงจากที่อาจารย์ติวเสร็จ หรือเพื่อนบางท่านไม่ได้มีคลิปดังกล่าว สามารถใช้วิธี "อัดเสียงตัวเอง" ลงไปได้ครับ เพราะผมเจอปัญหาที่ว่า เราจะจำ ข้อกำหนด ตัวบทกฏหมาย ยังไงให้มันหมด โดยเฉพาะวิชา กฏหมาย2 ซึ่งคงรู้กันดีว่ามีตัวกฏหมายเยอะมากในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี สิ่งที่ผมทำคืออัดเสียงในส่วนที่ต้องท่องจำหนักๆลงในมือถือ เช่น มาตรา 65ทวิ ประกอบด้วย 65ทวิ วงเล็บ ....ก็พูดไปครับ เอาเป็นภาษาที่ตัวเองเข้าใจ เพราะเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่จำ
ลองสังเกตุสิครับว่า ช่วงนี้ตามห้างต่างๆจะเปิดเพลง พรปีใหม่ ....ผมมักจะฮึมฮัม เพลงนี้บ้างบางทีเพราะมันติดหู ฉันใดฉันนั้น เปิดเสียงตัวเองใส่หูทุกวัน มันก็ต้อง ฮึมฮัม ได้บ้างแน่นอนครับ
3. ระหว่างทำงาน : ผมว่าเรารู้กันอยู่แล้วครบว่า บางครั้ง ออดิทเรามักจะ "ว่างมาก" เพราะอยู่ในช่วงที่งบการเงินถูกตรวจสอบเสร็จแล้ว โดยเฉพาะเดือน ห้า ถึง เจ็ด ช่วงนั้นซึ่งเป็นช่วงใกล้สอบ รอบที่2 ของปี ดังนั้นโอกาสทองของเราครับ ในระหว่างที่ออกตรวจลูกค้า ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำเสร็จทันเวลา และไม่มีงานคั่งค้างเหลืออยู่ (ผมว่าเราต้องจัดลำดับความสำคัญให้งานมาก่อนนะครับ) ผมก็มักจะเอาไฟล์เสียงโหลดลง Dropbox เพื่อเปิดใส่หูฟังในคอมพิวเตอร์ระหว่างวัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตาม คอนเส็บที่กล่าวไว้ในข้อที่ 2 และผมดาวโหลด ไฟล์ เช่นหนังสือ ตำรา ชีทเรียน หรือแม้กระทั่ง มาตรฐานการบัญชี ไว้ใน Dropbox ของผมครับ เพื่อทำการเปิดมาอ่านได้ระหว่างวันโดยไม่เป็นการให้คนอื่นมองว่าเราหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน มันก็จะดูน่าเกลียดเกินไป
ผมว่าวิธีนี้ไม่ได้เบียดบังเวลางานเลยครับ เพราะออดิทเราเป็นอาชีพที่มีทั้ง การทำงานที่หนักหน่วง งานที่ไม่มีเวลากำหนด แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ผิดหรอครับถ้าเราบริหารเวลา ยามเราว่างหรือ มีปริมาณงานที่น้อยกว่าช่วงหนักๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตัวเอง (สอบได้ CPA) และบริษัท (พนักงานมีความรู้) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ....ไม่มีใครพูดว่า เรามีเวลาว่างอ่านหนังสือ หรอกครับ ดังนั้นเราต้องพลิกทุกอณูให้สอดคล้องกับเป้าหมายให้มากที่สุด
4. หลังเลิกงาน : ส่วนตัวผมหลังเลิกงาน ผมจะพยายามทำให้งานเสร็จไม่เกิน 6 โมงเย็น สำหรับช่วงปกติ และไม่เกิน สามทุ่ม สำหรับช่วงพีค (ถ้าทำได้ และผมทำได้นะ) โดยถ้าช่วงไหนพีคหรือปริมาณงานมันเยอะมากๆ ผมจะแก้ไขระหว่างวันโดย พกข้าวกลางวันไปกิน เพื่อทำงานได้มากขึ้น หรือใช้เวลาตอนกลางวันนั้นแหละ เปิดคลิปที่อัดไว้ในคอมฯ หรือไฟล์ตำราที่ดาวโหลดไว้ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผมได้เวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชม ต่อวันครับ และระหว่างวันก็ตั้งใจทำงานเพื่อที่ให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปอ่านหนังสือต่อ เพราะถ้าคุณเลิกดึกมากเกินไป ผลลัพธ์คือ เราไม่มีทางอ่านหนังสือต่อได้หรอกครับ เราก็ง่วง เหนื่อย เป็นปกติของธรรมชาติ
พอปิดคอม เลิกงาน ผมจะหาร้านกาแฟ ใกล้ๆออฟฟิตลูกค้านั้นๆ ไปฝังตัวหลีกหนีการจราจรที่น่ารัก น่าชังงงง ของมหานครแห่งนี้ ในการ 1.ฟังคลิปเสียงของอาจารย์ต่างๆที่บริษัทผมแจกให้พนักงาน หรือ 2.ฝึกโจทย์สำหรับวิชาต่างๆ (หลังจากที่ผม ฟังคลิปเรียนเสร็จแล้ว) ...ผมฟังคลิปติวสอนทุกวิชาเลยครับจากที่บริษัทผมให้มา(ผมซื้อหนังสือเพิ่มเติมเองบ้าง และลงคอร์สวิชาการสอบบัญชี 2 ครับ) เพราะผมคิดว่าอาจารย์ต่างๆมีเทคนิคและวิธีการที่เก็บมาจากประสบการณ์ ซึ่งทำให้เราย่นเวลาในการอ่านเองไปได้เยอะ โดยเฉพาะวิชา กฏหมายและ การสอบบัญชี ที่ค่อนข้างหนักไปทางเนื้อหาที่มากเหลือเกิน โดยระหว่างการฟังคลิปผมจะทำการ จดโน้ตย่อ หรือถ้าวิชาไหนมีชีท ก็ทำการเขียนลงไปในชีทเหมือนตอนเรียนมหาลัยนั่นแหละครับ และพอเราเรียนจบ ผมก็ทำการฝึกฝนโจทย์ ใครจะหาที่เรียนสามารถอินบ้อคมาถามได้ ผมได้แต่แนะนำและคุณเพื่อนๆไปตัดสินใจเอาเองครับ อย่ามองว่ามันเปลืองเงินเลยครับเพราะบางที เรา Credit เงินสด ออกไป แต่เรากำลัง Debit สินทรัพย์ใส่ตัวเองอยู่ก็เป็นได้
โดยวิชาการบัญชี 1+2 ผมใช้หนังสือที่รวบรวมโจทย์ของ อาจารย์ สศ (ไปหากันดูเองครับว่าใคร ผมว่ามีคนเดียวนะที่แต่งหนังสือขายและรู้จักกันแพร่หลาย) โดยเราต้องตั้งเป้าว่าวันนี้ต้องทำบทนี้ให้จบ อย่า! ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่าน x ชั่วโมง เพราะเชื่อเถอะว่าเพื่อนๆจตั้งตารอให้หมดเวลาและเดินกลับบ้านไปพร้อมความรู้สึก บอกตัวเองว่า วันนี้ทำได้ดี อ่านหนังสือไปแล้ว ทั้งที่จริงแล้วการตั้งเป้าว่าอ่านจบบทไหนๆบ้างจะมีประสิทธิผลมากกว่าครับ เพราะมันจะสะท้อนการก้าวหน้าในการอ่านที่แท้จริง
วิชากฏหมายผมอ่านจาก ชีทสรุปหลักกฏหมายของอาจารย์ พกว (หาเอาเองครับว่าใคร อิอิ) โดยอ่านตามที่อาจารย์ท่านบรรยายและ ฝึกโจทย์เก่าไปมากๆครับ เพราะผมคิดว่าข้อสอบมันออกมาจนพรุน ทุกประเด็นแล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ในการสอบแต่ละครั้งเท่านั้นเอง
วิชาการสอบบัญชี 1 ซึ่งออกสอบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบต่าง ตรงส่วนนี้ผมว่าเราชาวออดิทต้อง อาศัยสิ่งที่ทำงานมาในการตอบครับ เพราะประสบการณืเราจะบอกเองว่า ตรงจุดหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไรดี
วิชาการสอบบัญชี 2 ซึ่งมักออกเกี่ยวกับการเขียนหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีฯ ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้หาคลิปติวมาฟังเพราะจะช่วยสรุป (ผมลงเรียนคอร์สสดในวิชานี้วิชาเดียวครับ) หน้ารายงานในแบบต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือถ้าไม่อยากเรียนผมเห็นเพื่อนบางคน ใช้วิธีดาวโหลด มาตรฐานการสอบบัญชีจากเว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งฟรี และค่อนข้างตรง มาอ่านเองครับ บวกกับ ดาวโหลดหน้ารายงานของจริงซึ่งหาได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆมาดู เพราะมันจะคล้ายคลึงกันแทบทุกที่ ลองดาวโหลดมาเปรียบเทียบกันดูนะครับผม (ในเว็บของสภาวิชาชีพบัญชี จะบอกเกี่ยวกับขอบเขตการสอบ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะในแผ่นนั้น จะบอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อๆก็ดาวโหลดมาอ่านได้ตามนั้นเลยครับ เหมือนเรามีสารบัญไว้ให้ฟรีๆ อยู่แล้ว)
*ตรงนี้สำหรับใครที่มี อุปนิสัยต่างกัน ก็ลองปรับใช้ดูนะครับ เคยมีลูกค้าของผมท่านนึง ใช้เวลาหลังเลิกงานนั่งต่อไปในออฟฟิตของตัวเองนั่นแหละ ในการอ่านหนังสือสอบ ปโท ของเขา ผมว่าก็เป็นเทคนิคที่เวิคทีเดียว
5.กลับถึงบ้าน : ผมกลับถึงบ้านประมาณ สี่ทุ่ม ถึงห้ามทุ่มแล้วแต่วัน ซึ่งผมถือว่าช่วงนี้คือการพักผ่อน หรือถ้าจะอ่าน จะอ่านเฉพาะของเก่า ในส่วนเนื้อหาที่เราแม่นแล้ว เพราะสมองเหนื่อยแล้วครับ จากการพาญพบ การทำงาน การทบทวนที่ร้านกาแฟ มาทั้งวัน ดังนั้นจุดนี้ผมมัก เล่น Faacebook, IG หรือ ทบทวนเฉพาะสิ่งที่ตนเองพอแม่นๆแล้ว เพื่อไม่เป็นการลืม แต่จะไม่แตะเนื้อหาใหม่ๆเด็ดขาด และผมจะเข้านอนไม่เกิน เที่ยงคืน เพื่อให้ลุกไหวในตอนเช้าครับ
สรุป
1. ขอย้ำว่าต้องรู้ครับว่าเราจะสอบอะไร เมื่อไหร่ ไม่งั้นจะไม่มีทางบังคับตัวเองให้อ่านได้แน่นอน
2. ตื่นนอน / เดินทาง / ระหว่างทำงาน / หลังเลิกงาน มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น หาให้เจอครับ
3. รู้ขอบเขต > หาอาวุธ (หนังสือ คลิปติว)
4. อ่าน > เข้าใจ > ท่อง > ฝึกแบบฝึกหัด
5. ทำข้อ 4 อีกอย่างน้อยสามรอบ
เดี๋ยวมาต่อนะครับ มาแน่ๆ อดใจหน่อยนะครับ พอดีช่วงนี้ พีค ครับคงรู้กันดี ^^
ขอบคุณครับ
ป้ายกำกับ:
ตรวจสอบบัญชี,
นักบัญชี,
บัญชี,
วิชาชีพบัญชี,
ออดิท,
Accountant,
Auditor,
CPA,
TA
ต่อยอด จาก CPA ....ผู้บังคับหลักประกัน
หลายๆท่านคงสงสัยว่า การได้รับใบประกอบวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือ CPA แล้วนั้น เราสามารถประกอบวิชาชีพอื่นหรือ ต่อยอด จากใบประกอบนี้ได้หรือไม่ ซึ่งนอกเหนือจากการสอบบัญชีแล้ว การเป็นผู้บังคับหลักประกัน ฏ้เป็นอีกหน่ึงอำนาจหน้าที่ที่ CPA สามารถเป็นได้...
ก่อนอืื่นคงต้องทำึวามรู้จักกับ ผู้บังคับหลักประกันกันก่อนว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และ เกี่ยวอะไรกับ CPA
ที่มาที่ไปของผู้บังคับหลักประกัน :
สืบเนื่องจาก กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่กำหนดให้กิจการต้องมี ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อตรวจสอบและประเมิน กำหนดวงเงินหลักประกัน รวมถึงการจัดแจงการจำหน่าย กิจการนั้นๆ
ซึ่งถ้าจะพูดตามภาษาเข้าใจง่าย ก็คือผู้ที่จะมายืนยันว่า กิจการที่จะทำธุรกรรมต่างๆนั้น ที่เกี่ยวข้องกับการที่ต้องมีหลักประกัน ก็ต้องมีคนกลางหรือ บคคลที่3 มายืนยันว่า เออหลักประกันนี้ถูกวัดมูลค่า เหมาะสม และรวมถึงเป็นผู้เดินเรื่อง ถ้าเกิดเหตุที่ต้องจำหน่าย หลักประกันนั้นอีกด้วย
คุณสมบัติของผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้บังคับหลักประกัน” ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1) ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ หรือผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี
2) ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับหลักประกันที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี จากหน่วยงานของรัฐ สมาคม หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อนุญาโตตุลาการ (ขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานศาลยุติธรรม) ผู้เชี่ยวชาญศาล (ด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน) ผู้ประเมินหลัก ผู้ประเมินหลักชั้นวุฒิ ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน
ดังนั้นแล้ว ที่มาที่ไปข้างต้น ก็จะพอเดาได้ว่าเกิดขึ้นจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมี รมว.พาณิชย์เป็นผู้อนุมัติ ใบประกอบผู้บังคับหลักประกันนั่นเอง
หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน
อย่างที่บอกไปส่วนหนึ่งข้างต้น ถึงหน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันคร่าวๆแล้วนั้น ... หน้าที่ตามประกาศของกรม พัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้บอกไว้ตามด้านล่างนี้
สรุปโดยภาพรวมก็คือ CPA เป็นหนึ่งในสาขา อาชีพที่เมื่อคุณๆ ต่อใบอนุญาตครบหรือมากกว่า 3 ปีแล้วนั้นสามารถเป็นผู้บังคับหลักประกันได้ ตามประกาศกรมพัฒ นั่นเอง
ดังนั้นใครที่ว่างๆ หรืออยากหาอาชีพเสริมเพิ่มเติมเพื่อความ น่าเชื่อถือ และไดความรู้ใหม่ๆก็สามารถสมัครเป็นผู้บังคับหลักประกันได้ เพราะไม่ต้องสอบใหม่แต่อย่างใด เพียงเข้าอบรม 2 วิชาตามกรมพัฒฯ กำหนด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมี ข้อจำกัดเช่น ไม่เป็นผู้ล้มละลายเกี่ยวกับทุจริตมาก่อน หรือผู้เป็นข้าราชการประจำก็ไม่มีสิทธิ ถ้าสนใขสามารถหาอ่าน
และติดตามการรับสมัครได้ที่ลิงค์นี้ >> https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1063&filename=index
สวัสดีครับ
3/7/60
ภาษีร้านทอง...
ภาษีร้านทอง...
ปีนี้หลายท่านคงสังเกตุเห็นถึงการ รุก ของกรมสรรพากรต่อความตั้งใจที่จะทำให้การจัดเก็บภาษี เป็นตามไประบบระเบียบมากที่สุด ซึ่งมีหลายต่อหลายเครื่องมือที่เห็นได้ชัดที่ช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ สมใจมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการคลอดกฏระเบียบสนับสนุนการจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างๆ เช่น การจดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การสนับสนุนให้จัดทำบัญชีเล่มเดียว การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเย้ายวนใจผู้ประกอบการมากมายให้กลายร่างจาก บุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล
และธุรกิจที่ค่อนข้างเป็น เป้าหมาย และ ความตั้งใจของท่านๆคงหนีไม่พ้น ... ร้านทอง ร้านยา และร้านค้าออนไลน์
ในมิติของร้านทองนั้น มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ รวมถึงการทำบัญชีอยู่พอสมควร เพราะใน 1 ร้านทองสามารถมองลึกลงไปได้หลายธุรกิจที่ซ้อนกันอยู่ไม่ว่าจะเป็น
1. ซื้อทองจากผู้ขายส่ง และขายให้ผู้บริโภคอย่างเรา
2. ซื้อทองเก่าจากผู้บริโภคอย่างเรา ไปขายให้ร้านขายส่ง
3.รับจำนำทองคำ
4. รับฝากขายทองคำ
5. ให้กู้โดยมีทองคำมาค้ำ
6. อื่นๆ
และยังคงมีอื่นๆอีกที่ซ่อนอยู่ในร้านค้าขายที่ธรรมดาแต่ราคาไม่ธรรมดาแห่งนี้
แค่ลองนึกถึง ขั้นตอนแรก ของการจดทะเบียนนิติบุคคลก็เริ่ม ปวดหัว เพราะแน่นอนว่าผู้ประกอบการก็ต้องอยากอยู่ในเกณฑ์ ธุรกิจขนาดกลางและขาดย่อม หรือ sme แต่นี่คือทองคำ ดังนั้นเมื่อแรกเราโอน ทองคำเข้าสู่ ร้านค้า(นิติบุคคล) แน่นอนว่าฝั่ง ทุนก็ต้องเกิน 5 ล้านบาทตามเกณฑ์ sme แน่นอน
แต่จะว่าไปก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีทางหนีซะทีเดียว เพราะเราสามารถ ตั้งให้ อาเตี่ย อากง อาม่า หรือใครๆเป็น เจ้าหนี้ แก่ร้านทองนั้นๆได้ เสมือ ร้าน ยืม ทอง จาก อาๆทั้งหลายนั่นเอง ...คำแนะนำคือ หาสำนักงานบัญชีเก่งๆ หรือพอจะมีประสบการณ์การทำบัญชีร้านทอง ก็น่าจะช่วยท่านๆได้นะดับหนึ่ง
ความปวดหัวยังไม่จบ ถ้ามองมิติของ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT เพราะทองก็จะถูกคิด VAT ไม่เหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ
ปกติเราซื้อข้าว 107 บาทจะแบ่งเป็น ราคาข้าว 100 บาทและ ภาษี(ซื้อ) 7 บาท
แต่กับทองนั้นไม่ใช่ เพราะร้านทองแต่ละร้านที่ขายทอง รูปพรรณให้แก่ผู้ซื้อต้องนำ ราคาขายรวมค่ากำเหน็จ หักด้วย ราคารับซื้อทองที่สมาคมประกาศ ได้เท่าไหร่ผลลัพธ์จึงมาคิด VAT
เมื่อมีการจดเป็นนิติบุคคล อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การจัดทำบัญชีสินค้าคเหลือ หรือทองคำนั่นเอง เพราะสรรพากรก็อยากให้แจงให้ได้ว่า งวดๆหนึ่งเราขาย ซื้อ แลก ทองคำมีที่มาที่ไปอย่างไร ทั้งทางด้านจำนวน และมูลค้า ซึ่งการจะทำบัญชีสินค้า(Stock) นี้ขึ้นมาก็ต้องสอดคล้องกับบัญชีที่ยื่นในการจ่ายชำระภาษีอีกด้วย
เจ๊เจ้าของร้านหลายคงได้ยินเพียงเท่าน้ถึงกับกุมขมับ ว่าจะจดไม่จดดี เพราะภาระมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็มีข้อดีที่แฝงอยู่ เช่น เป็นการทำให้ร้านมีระบบจัดการที่ดีขึ้น, ระดับการคำนวณอัตราภาษีที่ต่ำลงกว่าบุคคลธรรมดา, ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
สิ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ก็คือ ทางร้านทองควรหาสำนักงานบัญชีดีๆ สักที่ ที่มีประสบการณืในการทำบัยชีร้านทอง เพื่อที่คุณจะได้ คำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารบัญชีและภาษี ผมคิดว่าไม่ควรฝืนว่าจะทำบัญชีด้วยตัวท่านเอง เพราะมันยุ่งยาก ...สู้ดีเอาเวลาไปหาเงินหาทองดีกว่าครับ
ปีนี้หลายท่านคงสังเกตุเห็นถึงการ รุก ของกรมสรรพากรต่อความตั้งใจที่จะทำให้การจัดเก็บภาษี เป็นตามไประบบระเบียบมากที่สุด ซึ่งมีหลายต่อหลายเครื่องมือที่เห็นได้ชัดที่ช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ สมใจมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการคลอดกฏระเบียบสนับสนุนการจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างๆ เช่น การจดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การสนับสนุนให้จัดทำบัญชีเล่มเดียว การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเย้ายวนใจผู้ประกอบการมากมายให้กลายร่างจาก บุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล
และธุรกิจที่ค่อนข้างเป็น เป้าหมาย และ ความตั้งใจของท่านๆคงหนีไม่พ้น ... ร้านทอง ร้านยา และร้านค้าออนไลน์
ในมิติของร้านทองนั้น มีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจ รวมถึงการทำบัญชีอยู่พอสมควร เพราะใน 1 ร้านทองสามารถมองลึกลงไปได้หลายธุรกิจที่ซ้อนกันอยู่ไม่ว่าจะเป็น
1. ซื้อทองจากผู้ขายส่ง และขายให้ผู้บริโภคอย่างเรา
2. ซื้อทองเก่าจากผู้บริโภคอย่างเรา ไปขายให้ร้านขายส่ง
3.รับจำนำทองคำ
4. รับฝากขายทองคำ
5. ให้กู้โดยมีทองคำมาค้ำ
6. อื่นๆ
และยังคงมีอื่นๆอีกที่ซ่อนอยู่ในร้านค้าขายที่ธรรมดาแต่ราคาไม่ธรรมดาแห่งนี้
แค่ลองนึกถึง ขั้นตอนแรก ของการจดทะเบียนนิติบุคคลก็เริ่ม ปวดหัว เพราะแน่นอนว่าผู้ประกอบการก็ต้องอยากอยู่ในเกณฑ์ ธุรกิจขนาดกลางและขาดย่อม หรือ sme แต่นี่คือทองคำ ดังนั้นเมื่อแรกเราโอน ทองคำเข้าสู่ ร้านค้า(นิติบุคคล) แน่นอนว่าฝั่ง ทุนก็ต้องเกิน 5 ล้านบาทตามเกณฑ์ sme แน่นอน
แต่จะว่าไปก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีทางหนีซะทีเดียว เพราะเราสามารถ ตั้งให้ อาเตี่ย อากง อาม่า หรือใครๆเป็น เจ้าหนี้ แก่ร้านทองนั้นๆได้ เสมือ ร้าน ยืม ทอง จาก อาๆทั้งหลายนั่นเอง ...คำแนะนำคือ หาสำนักงานบัญชีเก่งๆ หรือพอจะมีประสบการณ์การทำบัญชีร้านทอง ก็น่าจะช่วยท่านๆได้นะดับหนึ่ง
ความปวดหัวยังไม่จบ ถ้ามองมิติของ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT เพราะทองก็จะถูกคิด VAT ไม่เหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ
ปกติเราซื้อข้าว 107 บาทจะแบ่งเป็น ราคาข้าว 100 บาทและ ภาษี(ซื้อ) 7 บาท
แต่กับทองนั้นไม่ใช่ เพราะร้านทองแต่ละร้านที่ขายทอง รูปพรรณให้แก่ผู้ซื้อต้องนำ ราคาขายรวมค่ากำเหน็จ หักด้วย ราคารับซื้อทองที่สมาคมประกาศ ได้เท่าไหร่ผลลัพธ์จึงมาคิด VAT
เมื่อมีการจดเป็นนิติบุคคล อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การจัดทำบัญชีสินค้าคเหลือ หรือทองคำนั่นเอง เพราะสรรพากรก็อยากให้แจงให้ได้ว่า งวดๆหนึ่งเราขาย ซื้อ แลก ทองคำมีที่มาที่ไปอย่างไร ทั้งทางด้านจำนวน และมูลค้า ซึ่งการจะทำบัญชีสินค้า(Stock) นี้ขึ้นมาก็ต้องสอดคล้องกับบัญชีที่ยื่นในการจ่ายชำระภาษีอีกด้วย
เจ๊เจ้าของร้านหลายคงได้ยินเพียงเท่าน้ถึงกับกุมขมับ ว่าจะจดไม่จดดี เพราะภาระมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็มีข้อดีที่แฝงอยู่ เช่น เป็นการทำให้ร้านมีระบบจัดการที่ดีขึ้น, ระดับการคำนวณอัตราภาษีที่ต่ำลงกว่าบุคคลธรรมดา, ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
สิ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ก็คือ ทางร้านทองควรหาสำนักงานบัญชีดีๆ สักที่ ที่มีประสบการณืในการทำบัยชีร้านทอง เพื่อที่คุณจะได้ คำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารบัญชีและภาษี ผมคิดว่าไม่ควรฝืนว่าจะทำบัญชีด้วยตัวท่านเอง เพราะมันยุ่งยาก ...สู้ดีเอาเวลาไปหาเงินหาทองดีกว่าครับ
ป้ายกำกับ:
ค้าทองคำ,
นักบัญชี,
บัญชี,
ภาษีร้านทอง,
ร้านทอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)