24/1/60

สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA : TA & Dip-TFR

สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA : TA & Dip-TFR





สวัสดีครับ หลังจากที่ผมตั้งกระทู้ก่อนหน้าไปบ้างเกี่ยวกับเทคนิค ส่วนตัวรวมถึง ที่เคยได้ยินมาในกระทู้ก่อนหน้าไป 2 หัวข้อแล้ว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พอดีเพิ่งมีเวลามาเขียนต่อครับเพราะคงรู้กันดีว่าชาว ออดิทอย่างเรา ช่วงนี้ชีวิตมีค่ามากขนาดไหน คือ.... ห้ามป่วยห้ามตายครับ เพราะช่วงนี้ที่เรารู้จักกันดีคือ Year End! หรือ Final Audit นั่นเอง




เอาเป็นว่ากระทู้ที่ผมจะมาต่อวันนี้ก็ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัว วางแผนการสอบ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครับ หรือ CPA แต่หัวข้อนี้อาจจะมีข้อมูลที่ผมไม่มั่นใจว่าจะเรียกเทคนิค หรือปล่าว แต่ความคิดผมคือ มันอาจจะช่วยให้เพื่อนๆหลายท่านมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการสอบครับ เพราะจะพูดเกี่ยวกับการสอบอื่นๆที่สามารถต่อยอด ได้จากการสอบ CPA จึงตั้งชื่อ EP นี้ว่า




EP3 ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ครับผมม




อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า CPA มีหน้าที่ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จากการตรวจสอบซึ่ง CPA ท่านนั้นๆจะใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ซึ่งรวมถึงดุลยพินิจ ในการเลือกใช้วิธีการตรวจสอบครับ แต่ก็ยังมี License หรือ ประกาศยณียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเนื้อหาการสอบ และสามารถใช้ประสบการณ์การตรวจสอบนี้ ไปต่อยอด หรือไปสอบเพิ่มเติมได้นั่นเอง (ไหนๆก็อ่านแล้วนี่เนอะ) ดังนั้นผมจะยกตัวอย่างการสอบสองชนิดที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความรู้ที่ใช้สอบ CPA ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสิ่งแนะนำก็สามารถ คอมเมนท์เพิ่มเติมได้นะครับ ผมก็ยังอยากรู้เพิ่มเติมครับ




1. Tax Auditor - TA






อย่างแรกที่จะมานำเสนอก็คือ Tax Auditor ครับหรือ TA นั่นเอง โดยผมค่อนข้างเชื่อมั่นอย่างสมเกตุสมผล ว่าเพื่อนๆหลายท่านคงคุ้นเคย หรือรู้จัก TA นี้ไม่มากก็น้อย เพราะ License นี้พูดง่ายๆก็สามารถถือได้ว่าเป็น ซับเซ็ต หนึ่งของ CPA ครับถ้ามองในมุม เนื้อหาที่สอบ และหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงิน แต่สำหรับ TA นั้นจะขึ้นอยู่กับทาง กรมสรรพากร เป็นหลักครับ




ส่วนนี้เป็นสิ่งแตกต่างใน ภาพรวมสำหรับ TA / CPA ครับ





Tax Auditor จะทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยต่าจาก CPA ที่ทำการแสดงความเห็นจากการตรวจสอบครับ อย่างไรก็ตามผมมองว่าการตรวจสอบนั้นยังอาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งความรู้ทางบัญชี กฏหมายภาษีอากร และวิธีการตรวจสอบ ซึ่งถ้ามองใน รายวิชาที่ใช้สอบแล้ว TA จะประกอบด้วย 3 วิชาเช่นเดียวกับ CPA ครับ แต่ไม่มีการแตกย่อยแต่ละวิชาเป็น 2 ฉบับ (TA 3 รายวิชา และ CPA 6 รายวิชา) อย่างไรก็ตามเนื้อหาการสอบโดยเฉพาะส่วนของ กฏหมายและภาษีอากร ของ TA นั้นจะมีขอบเขตที่จำกัดอยู่ที่ ห้างหุ้นส่วน ครับ 




เพราะ Tax Auditor สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้เฉพาะ ห้างหุ้นส่วน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) และ มีขนาดเล็กครับ ในขณะที่ CPA จะสามารถเซ็นรับรองแสดงความเห็นได้ทั้ง ห้างหุ้นส่วน และบริษัท ครับดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เนื้อหาการสอบ ของ TA จะค่อนข้างน้อยกว่า CPA ครับ แต่ในมุมมองของผม การสอบ TA ไม่ได้ง่ายกว่า CPA เลยครับ อาจเป็นเพราะตอนที่เราๆเรียนวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย เรามักจะไม่ค่อยได้แตะส่วนของ ห้างหุ้นส่วน เท่าใดนัก นั่นจึงอาจทำให้เกิดความไม่คุ้นชินก็เป็นได้ครับ (ส่วนตัวผมสอบ กฏหมาย1 + 2 ของ CPA ผ่านในรอบเดียว แต่กฏหมายของ TA ผมสอบไป 2 รอบครับ





แต่ในรายวิชาบัญชีที่ใช้ในการสอบ TA นั้นผมมองว่าค่อนข้างเบากว่า CPA อาจเป็นเพราะมีเพียงฉบับเดียวและ ไม่ได้อิงตามมาตรฐานฉบับใหญ่ (TFRS) เต็มรูปแบบดังนั้น เพื่อนๆที่กำลังอ่านวิชาบัญชี หรือมีความตั้งใจจะสอบวิชาบัญชีของ CPA สามารถลงสมัครสอบวิชานี้ของ TA ได้ครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ วิชาบัญชี2 CPA อยู่ เพราะเนื้อหาข้อเขียนของ TA มักจะหรือค่อนข้างแน่ที่จะออก การคำนวณต้นทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบัญชี 2 ของ CPA ครับ  ส่วนวิชาการสอบบัญชีผมมองว่าค่อนข้างเหมือนกัน ยกเว้นหน้ารายงานที่ต่างกันอย่างชัดเจน ลองเสิจหาเอาดูนะครับ ซึ่งถ้ามองแล้วเพื่อนที่สอบ วิชาการตรวจสอบหรือ Audit ของ CPA ก็สามารถที่จะสมัคร TA ในรายวิชานี้ได้เช่นกันเพียงแต่เตรียมตัวเพิ่มเติมในส่วนของหน้ารายงานที่ใข้กับ TA ครับผม





2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR 




อันดับต่อมาที่จะแนะนำก็คือ Diploma in Thai Financial Standard ครับหรือมีขื่อเล่นว่า Dip-TFR เพื่อนๆหลายคนอาจงงว่าทำไมในรูปข้างบนเป็น Dip-IFR นั่นก็เพราะการสอบนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศก่อนหน้าที่จะถูกนำเข้ามาโดยสภาวิชาชีพบัญชีครับ ซึ่งเป็นการสอบที่จัดโดย ACCA นั่นเองโดยประกาศนียบัตรนี้จะไม่เกี่ยวกับ ออดิทครับ (อ้าาววว แล้วมาบอกทำไม) แต่จะใช้ความรู้ด้านการบัญชีที่ลึกซึ้ง (มาก) โดยการสอบ Dip-IFR และ Dip-TFR นั้นมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ ภาษา ที่ใช้ในการสอบนั่นเอง




ประกาศนียบัตรนี้เกี่ยวกับฝั่งผู้ ทำบัญชี นั่นเองโดยการสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐานฉบับเต็ม หรือ TFRS ครับซึ่งเหมาะมากสำหรับ ผู้ทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานฉบับใหญ่ ซึ่งส่วนมากคือ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือ บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือครับ หลายๆคนอาจสงสัยว่าแล้วจะสอบไปทำไม ....คือประโยชน์ของประกาศนียบัตรนี้สามารถรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และเป็นที่ยอมรับและรู้จักกว้างขวางในต่างประเทศครับ โดยผมมองว่าเปรียบเหมือน CPA ที่จะสามารถเซ็นตรวจสอบงบการเงินของ บริษัทมหาชน ได้นั้นจะต้องได้การยอมรับจาก กลต บ้านเราก่อน ดังนั้นในส่วนของผู้ทำบัญชีของบริษัทมหาชน ก็ควรที่จะมีการทดสอบความรู้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสภาวิชาชีพจึงนำการทดสอบนี้มาใช้ในไทยครับ อย่างไรก็ตามในประเทศเรายังไม่มีการบังคับใช้ว่าถ้าจะทำบัญชีในบริษัทมหาชนนั้น จะต้องมีใบประกาศใบนี้ครับ












ถ้าสอบได้จะเกิดอะไรขึ้น ? แน่นอนว่าคุณจะได้รับการยอมรับโดยเฉพาะความก้าวหน้าในสายงานในบริษัทมหาชน หรือบริษัทที่ต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม ครับเพราะความรู้ทางบัญชีที่ถูกใช้ในการสอบ Dip-TFR นี้เรียกได้ว่าหินมากกว่า ลึกมากกว่า และเครียดมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ วิชาบัญชี ของ CPA ครับ และประโยชน์อย่างอื่นคือ คุณสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย 





ประโยชน์อีกมิติหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้างต้นคือ ถ้าคุณสอบในประกาศฉบับนี้ได้คุณจะได้รับการ เชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องครับ *0* มากกว่านั้นคือคุณจะได้ถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมาครับ ^^






ถ้าเพื่อนคนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบวิชาบัญชีของ CPA อยู่พอดีก็อยากจะเชื้อเชิญให้ไปสอบ Dip-TFR กันต่อนะครับ เพราะในอนาคตเราๆท่านๆก็คงต้องยุ่งเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางเงิน ไม่มากก็น้อย และยังเป็นเหมือนตรารับรองว่า ความรู้ทางมาตรฐานฯนั้น มากพอที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ทางบัญชีหนักๆด้วยครับ ซึ่งสำหรับเนื้อหาการสอบก็จะล้อตามมาตรฐานที่ใช้ในการสอบวิชา บัญชีของ CPA ทั้งวิชาบัญชี 1 + 2 ครับแต่จะค่อนข้างลึกลับซับซ้อน และอาศัยความคิดที่หนักกว่า โดยข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองจะมาพร้อมกัน 4 ข้อโดยผู้สอบสามารถเลือกทำ 3 ข้อครับ ซึ่งทั้งหมดคือการสอบแบบ เขียนล้วนๆ โดยปัจจุบันการสอบนี้จัดสอบปีละ 2 ครั้งและมีผู้ผ่านการทดสอบ ไม่ถึง 20 คนทั้งประเทศครับ (ธันวาคม 2559) 




สำหรับกระทู้นี้ผมเรียกว่า แวะมาแนะนำ สิ่งที่เปรียบเสมือนผลพลอยได้จากการอ่าน CPA อันหนักหน่วง เพื่ออาจจะกระตุ้นหรือเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆได้ครับ หัวข้อถัดไปเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ ในสิ่งที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ CPA ในแต่ละรายวิชา




ปล สำหรับใครที่สนสมัครสอบ Tax Auditor สามารถแวะดูข้อมูลได้ที่ (กำลังเปิดรับสมัครรอบ 1/2560) >>>http://www.rd.go.th/publish/16532.0.html


ส่วนการสมัคร Dip-TFR นั้นสามารถเยี่ยมชมได้ที่ เว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีครับหรือ โทรไปสอบถามก็ได้ครับ >>> http://www.fap.or.th/index.php

15/1/60

Benefit of being Auditor : ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) > Part1


ด้านล่างเป็นกระทู้ที่เขียนไว้สักพัก ใน Pantip.com ครับเลยจะเอามาแบ่งปันกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ผมพบเจอ และคิดว่าเป็นข้อดีของสายงานในอาชีพนี้ครับ ยังไงลองกันดู 


อันนี้เป็นลิงค์ Part อื่นๆต่อจาก นี้นะครับผม คอมเมนท์กันได้ฮะ

Part2 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-2.html
Part3 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-3.html
Part4 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-4.html
Part5 > https://whollyhall.blogspot.com/2017/11/benefit-of-being-auditor-cpa-part-5.html

ลิงค์กระทู้เต็มในพันทิปคือ >> pantip.com/topic/35809887 



สวัสดีครับผม ผมเป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพ สอบบัญชี หรือที่คนทั่วๆไป เรียกว่า ออดิท (Auditor)  ส่วนผู้ที่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้จะมีชื่อว่า Certified Public Accountant (CPA) นั่นเองครับ 




แต่เพื่อนบางคนอาจจะงงว่า ออดิท นั้นหมายถึง ผู้ตรวจสอบบัญชี ทุกคนเลยหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่า ออดิทเนี่ยแบ่งเป็น Internal Audit และ External Audit ครับ ซึ่งในส่วนของ Internal Audit จะเป็นคนในบริษัทนั้นๆที่ทำหน้าที่ดูว่า ไอ้ระบบที่ ท่านๆ ในองกรณ์วางไว้เนี่ย ได้รับการปฏิบัติตามมากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงอะไรที่จะเกิดได้บ้าง เพื่อให้บริษัทอยู่ได้อย่าง Smoothly




ส่วน External Audit ก็จะเป็น คนนอก ครับ(ก็ชื่อก็บอกเนอะ) ที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทนั้นๆ เพื่อมาตรวจสอบในมุมของ งบการเงิน เป็นหลัก ซึ่งออดิทประเภทนี้มักจะ วนเวียนมาที่บริษัท สามเดือนครั้ง หกเดือนครั้ง หรือปีละครั้งบ้างก็แล้วแต่ ขึ้นกับหลายๆอย่าง




เอาล่ะครับ เพื่อนๆหลายคนคงพอทราบถึงแง่ของ มุมดาร์ค ของสายงานนี้จากหลายๆแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นคำบ่นหรือเพื่อนที่ทำอาชีพนี้ในเฟซบุ๊ค ,เสียงลือเสียงเล่าอ้าง หรือเห็นการทำงานของพวก "ออดิท" เหล่านี้ที่แวะเวียนมาที่ออฟฟิตตัวเอง ว่าอาชีพนี้นี่คนจะมาทำต้อง ดึก ถึก และห้ามตาย* รวมถึงสภาพการทำงานก็มักจะเลิกกันดึกๆดื่นๆ เรียกได้ว่าวันไหนที่ ออดิทเลิกแล้วยังเห็นพระอาทิตย์ เรียกว่าชีวิตเหมือนได้มงกุฏมิสเวิลในวันนั้น *.*




แน่นอนครับผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบเหตุการณ์ เรียกว่าพ าญพบน่าจะดู Adventure มากกว่า กับเหตุการณ์นั้นๆ 




แต่ในกระทู้นี้ ผมอยากมาเล่าสิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นประโยชน์ในวิชาชีพนี้บ้างครับ เพราะผมคิดว่ามันไม่ได้ด้อยไปกว่าด้าน ดาร์คๆ เหมือนที่หลายๆคนทราบแน่นอน เรามาเริ่มกันเลย! ! ! ! 




1. เงินดีหนิ 


Cr.http://time.com/money/3557545/do-you-have-a-money-related-ethical-dilemma-tell-us-about-it/


ใช่ครับหลายคนพอนึกถึงออดิท นอกจากงานที่หนักหน่วงแล้วในมิติของ งานที่ค่อนข้างได้รับผลตอบแทนดี ก็มักเป็นที่รับรู้ของคนทั่วๆไป ผมยอมรับเลยครับว่าอาชีพนี้ ค่อนข้างเห็นผลตอบแทนที่ ดีกว่า ในระดับเดียวกัน (ผมวัดดูจากคุณวุฒิที่จบมาทางธุรกิจและ วัยที่เท่าๆกันนะครับ) 




ผลตอบแทนนอกจากจะ เริ่มต้น ย้ำว่าเริ่มต้นสำหรับนิสิตจบใหม่(์New Grad) ที่ค่อนข้างสูง กว่าสาขาอื่นในสายงานธุรกิจ เงินเดือนของออดิท ยังเป็นที่ยอมรับในแง่ที่ว่ามีการ เพิ่มขึ้นในแต่ละรอบที่ สูงมากอีกด้วย (แอบกระซิบว่า ปีละไม่ต่ำกว่า 10%-20% ครับ (แต่ปีที่แล้วรอบๆตัวผมเงินเดือนขึ้นมา 30%นะ* )) และการเพิ่มขึ้นจะเพิ่มทุกๆปี (ผมยังไม่เคยปีไหนไม่เพิ่มนะครับ) แม้ปีนั้นบริษัทเพื่อนคุณจะบอกว่า ปีนี้บริษัทผลประกอบการไม่ดี ของดการเพิ่มเงินเดือน ก็ตาม




เงินเดือนนี่ยังจะยิ่งเข้มข้นและ จำนวนจะมีนัยสำคัญ* มากขึ้นถ้าคุณทำงานใน ออดิทเฟิม (สำนักงานตรวจสอบบัญชี) ที่มีชื่อเสียงหรือที่เราเรียกว่า BIG4 (KPMG/ Deloiite/ EY/ PwC) และจะจ่ายดี มากขึ้นไปอีกถ้าคุณทำงานมามากกว่า 10ปี และก้าวสู่ตำแหน่ง หุ้นส่วน หรือ Partner ในบริษัทเหล่านั้น แต่เงินเดือนของเหล่า "พาทเนอร์" จะถูกเก็บเป็นความลับมากๆ และมีการคาดเดากัน(อย่างค่อนข้างแม่นยำ) ว่าสามารถซื้อรถ Toyota Camry ได้ทุกเดือนและอาจมากกว่าเดือนละ 1 คัน...





2. ประสบการณ์ที่เรียนรู้ แทบทุกอณูความเคลื่อนไหวของ "ลูกค้า"

Cr.http://www.investopedia.com/articles/professionals

ใช่ครับ "ออดิท" จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำงบฯ เท่านั้นแต่ในขั้นตอนกว่าจะได้มาเป็นงบนี่น่ะสิครับ ออดิทเราจะต้องทั้ง ทำความเข้าใจกิจการ เพื่อวางแผลว่าเราจะตรวจสอบอย่างไรดี




การวางแผนการตรวจนั้น ออดิทต้องทำความรู้จักใน Core Business หรือลักษณะธุรกิจหลักๆของ ลูกค้า(คนที่มาจ้างเรา) ไม่ใช่เพียงแต่อ่านเอกสาร หรือหนังสือ วีดีทัศน์แนะนำบริษัท แต่เราจะมีการ จัดประชุมกับผู้บริหารระดับบึ้ม ขององกรณ์เพื่อสอบถาม วิถีชีวิตของบริษัท ทั้งที่ผ่านมาแล้ว และแพลนว่ากำลังจะทำอะไร (แน่นอนครับว่าต้องเก็บเป็นความลับขั้นสุด) เพื่ออะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะการบัญชีในปัจจุบันไม่ได้แค่บันทึก รับเงิน จ่ายเงิน ซื้อของ แต่บัญชีในปัจจุบัน จะต้องมีการรับรู้ "สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น" เข้าไปหรือเอาไปบอกไว้ในงบการเงินอีกด้วย เช่น! บริษัทมีคดีความกับลูกค้า แล้วผู้บริหารดูเหมือนบริษัทจะแพ้ ไอ้แบบนี้ออดิท ก็จะเป็นคนรู้ แล้วดูต่อว่าสมควร เปิดเผย อย่างไรดี (คนนอกหรือแม้แต่พนักงานบริษัทเอง ผมว่าอาจไม่มีทางรู้เลยด้วยซ้ำ)



โครงสร้างของบริษัท ออดิทก็ต้องทำความเข้าใจครับ ไม่ว่าจะเป็น ใครใหญ่กว่าใคร การทำงานเป็นอย่างไร จะจ่ายเงินระดับสิบล้านต้องมีใครเซ็นบ้าง หรือรวมถึง เงินเดือนของแต่ละคน! 



ใช่ครับออดิทจะทราบถึงโครงสร้างภาพรวมเหล่านี้ เพื่อมาออกแบบวิธีการตรวจแล้วก็ดูๆว่า ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นจากตรงไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นทุจริต หรือข้อผิดพลาด การที่กิจการต้องเปิดเผยสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งและ ผู้บริหารปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องจัดเตรียมข้อมูลให้ออดิทครับ เพราะมันเป็นข้อตกลงขั้นแรกๆในการที่ออดิทจะตอบรับงานเลย! แม้ว่าผู้บริหารจะบอกว่าข้อมูลนั้นลับแค่นั้น แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการตรวจสอบ ก็ต้องเอาให้ออดิท ยืมมาดู หน่อยเช่น เงินเดือน! เป็นต้น 



เห็นมั้ยครับว่าการที่จะได้มาในข้อมูลแต่ละส่วน ออดิทจะต้อง ติดต่อกับฝ่ายต่างๆแทบจะทั้งองกรณ์ เช่น ผู้บริหารชั้นท้อป, ฝ่ายHR, ฝ่ายกฏหมาย และแน่นอน ฝ่ายการเงินและบัญชี