10/5/61

นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


นิติบุคคลประเภทต่างๆ ต้องทำงบต่างกันยังไง ?


.
ถ้าพูดถึงการจดจัดตั้ง นิติบุคคลแล้วนั้น หลายท่านคงพอทราบว่าเราสามารถเลือกได้หลักๆ ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท แต่ทราบไหมครับว่านิติบุคคลที่ต่างประเภทกันนี้ ก้มีหน้าที่ที่ต้อง จัดทำงบการเงิน ที่ต่างกันไป โพสต์นี้เลยจะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นนี้กันครับ

.
ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่า ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามกฏหมายบ้านเรา มีใครบ้าง.. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, บริษัทจํากัด, มหาชนจำกัด, นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ซึ่งประเภทหลังๆเราๆมักจะไม่ได้คุ้นชิน หรือนิยมมากนักเพราะเสมือนๆ เป็นไม้ต่อของการจดนิติบุคคลเริ่มแรกที่ เจ้าของกิจการมักจะเลือกจดกัน ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท ที่เรานิยมก็มีหน้าที่จ้องจัดทำบัญชีกันด้วย

.
พอทราบแล้วว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องทำบัญชี ..แล้วบัญชีประเภทใดที่เราต้องจัดทำกันบ้าง ผมขออนุญาตแนบตารางจาก กรมพัฒนาธุรกิจฯ ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของกิจการที่ต่างกัน ก็จะมีหน้าที่ทำงบการเงินที่ต่างกัน

.
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ จัดทำงบฯ มากที่สุดคือ บริษัทมหาชน จำกัด นั่นก็เป็นเพราะ หลายๆบริษัทมหาชน ได้อยู่ในตลาดหุ้นนั่นเองครับ หมายความว่า งบการเงินมีผู้ใช้ เช่นคนเล่นหุ้นเอามาวิเคราะห์ นายแบงค์เอามาดูเพื่อพิจรณาการปล่อยกู้ หรือแม้กระทั่งแบงค์ชาตินำมาเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลของประเทศเรา เห็นมั้ยครับว่า งบฯ มีความหมายต่อทั้งตัวกิจการเองและบุคคลภายนอกมากมายในมิติของ บริษัทมหาชน


.
ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่เจ้าของกิจการมักพิจรณาเริ่มจดทะเบียนนั้น จะต้องทำหลักๆคือ งบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล) ,งบกำไรขาดทุน(แสดง รายได้ค่าใช้จ่าย = กำไรหรือขาดทุน) เท่านั้นครับ ส่วนหมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลเปรียบเทียบนั้น จพถูกฝังอยู่ในงบทั้ง 2 แบบข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทจำกัด ต้องยื่น งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งโดยปกติแล้ว งบนี้ก็คือการนำ กำไรหรือขาดทุน (จากงบกำไรขาดทุน) มาบวกเข้าในส่วนทุนของกิจการนั่นเอง หรือพูดง่ายๆว่า งวดนี้เจ้าของรวยขึ้นเท่าไหร่ นั่นเองครับ


.
จะเห็นว่าการเป็นนิติบุคคลประเภทต่างๆ ก็มีหน้าต่างกันในการยื่นงบการเงิน และต้องจัดทำเพราะเป็นกฏหมาย ดังนั้นการหาที่ปรึกษาด้าน บัญชีภาษี หรือพนักงานบัญชีที่เหมาะสม คงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เจ้าของกิจการต้องพิจรณาด้วยนะครับ ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือนนะจ้ะ

8/5/61

Big4 และการเติบโตในธุรกิจ ให้คำปรึกษา




Ref:
https://www.wsj.com/articles/how-did-the-big-four-auditors-get-17-billion-in-revenue-growth-not-from-auditing-1523098800


เมื่อช่วงเดือน เมษายน 2018 มีบทความของ Wall Street Journals ที่บรรยายเกี่ยวกับการที่ Big4 มีรายได้จากธุรกิจให้คำปรึกษา(Conusulting) มากกว่างานสอบบัญชี (Assurance-Auditing)


จากบทความเราจะเห็นว่า Big-4 ที่ประกอบด้วย PwC/ EY/ KPMG และ Deloitte มีหลายได้จากการรวมกันของทั้ง Global ในบริการให้คำปรึกษา เพิ่มขึ้นราวๆ 44% ในขณะที่งานบริการด้านการสอบบัญชี หรือให้ความเชื่อมั่นนั้นเพิ่มเพียง 3% ..น่าคิดนะครับว่า การเพิ่มขึ้นจากรายได้ของบริการให้คำปรึกษานี้ จะกระทบต่อคุณภาพของงานสอบบัญชีมั้ย


เพราะลองนึกภาพว่า 1 บริษัทที่ให้บริการทั้ง ทางด้านให้คำปรึกษา เช่น วางระบบ IT/ วางแผนภาษีข้ามชาติ หรือแม้กระทั่งวางแผนการจ้างพนักงาน(HR) ก็ต้องมีอีกหน้าหนึ่ง ในการตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งคำถามที่คาใจของหลายฝ่ายคือ คุณภาพของงานสอบบัญชี รวมถึงความเป็นอิสระของผู้สอบด้วย เพราะ สิ่งที่ต้องมาพร้อมกับการบริการให้ลูกค้าหลายๆอย่าง ก็คือ ค่าจ้าง ที่เป็นเม็ดเงินไม่น้อย



ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปในเหตุการณ์สำคัญๆ ของสำนักงานสอบบัญชีระดับโลก ชื่อของ Arthur Andersen คงลอยมาเป้นอันดับต้นๆ จากเหตุการณ์ฉาวระหว่างบริษัท และบริษัท Enron แต่จะมีใครรู้ครับว่าภายใต้ รายได้ระหว่างสองบริษัทนี้ รายได้ที่ Arthur Andersen ได้รับจากการให้บริการสอบบัญชีกลับน้อยกว่า ให้บริการให้คำปรึกษาด้วยซ้ำไป ($27millions & $25millions)



หลายๆหน่วยงานในโลกได้มีการพิจรณา การจัดตั้งบริษัทแยกต่างห่าง หรือ Audit-Only firm เพื่อให้มีการคงคุณภาพ และมีความเป้นอิสระไว้ครับ แต่อย่างไรก็ตามการตั้งขึ้นมาของ สำนักงานที่ให้บริการสอบบัญชีอย่างเดียวนั้นอาจจะ มีข้อเสียด้วยเช่น อาจมีข้อมูลที่จำกัดมากขึ้นและทำให้การสอบบัญชีในลูกค้ารายใหญ่ๆ ระดับโลกไม่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว


อย่างไรก็ตามในมิติของพนักงานบัญชี หรือสำนักงานบัญชีบ้านเรานั้นผมคิดว่า เราสามารถหาช่องทางทำเงิน และขยายฐานลูกค้าได้จากการ ให้คำปรึกษา เพราะงานให้คำปรึกษานี้ ต่างกับงานออดิทหรืองานสอบบัญชี ที่มี รายละเอียด (customize) ที่มากกว่า ลึกกว่า และทำเงินได้มากกว่านั่นเอง