14/9/60

ผู้สอบบัญชี สหรัฐอเมริกา : CPA USA



Creditรูปภาพ : http://www.npmestory.com/2014/08/cost-per-action-cpa.html



นอกจากหลายท่านในประเทศไทย จะคุ้นชื่อหรือ คุ้นกับคำว่า ผู้สอบบัญชี หรือ CPA ในวงการบัญชีในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศ (แทบทุกประเทศ) ก็มีกลไกการควบคุม การจัดทำบัญชีในลักษณะเดียวกันคือมี ผู้ทำ และ ผู้สอบ





สหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นแม่ใหญ่ของ วิชาชีพบัญชี และมีองกรณ์ที่มักคุ้นหู้สำหรับนักบัญชีอย่างเราเช่น AICPA สถิตอยู่ ในการเป็นผู้สอบบัญชี ของประเทศอเมริกานั้น ก็มีการกำหนดให้มีการ ฝึกงานเก็บชั่วโมง และจัดสอบคล้ายๆกับประเทศไทย และที่สำคัญคือ คนไทยสามารถกลายเป็น ผู้สอบบัญชีอเมริกาได้


ในสหรัฐฯ นั้นเงื่อนไขของการเข้าสอบ CPA จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ รัฐ นั้นๆที่คุณต้องการไปสอบ อย่างไรก็ตามเงื่อนไข กว้างๆ ที่คล้ายคลึงกันมักจะกำหนดให้ผู้สอบ



1. มีวุฒิการศึกษาด้านบัญชี 


Credit รูป : http://www.limitstogrowth.org/articles/2012/05/25/census-over-half-of-asians-in-us-have-college-degrees-mexicans-only-9-1-percent/




 บางทีกำหนดปตรี บางที่นับชั่วโมงที่เราเรียนมาว่าเข้าเงื่อนไขไหม ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่คนไทยส่วนมากที่ไปเรียน บัญชี เป็นปริญญาโทที่อเมริกา สามารถเข้าสอบ CPA ได้ และนี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะไปเรียน โทบัญชี ที่อเมริกา อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกๆ ปริญญาโทด้านบัญชี สามารถเข้าสอบได้เลย คุณต้องตรวจสอบเงื่อนไข ของแต่ละรัฐอย่างที่บอก

เรียนไทยอย่างเดียว สามารถเข้าสอบได้หรือไม่ ...เท่าที่ผ่านมาผมไม่เคยเจอ และคิดว่าไม่ได้ ถึงแม้ได้ คุณก็สอบไม่ได้เพราะมีวิชาสอบเกี่ยวกับ กฏหมายของอเมริกาอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องเรียน และวิธีการของคนที่เรียนโทจกไทยไป แล้วอยากไปสอบ CPA US ก็คือไปลงเรียนเพิ่มใน วิทยาลัย หรือ College ท้องถิ่นเพื่อให้ครบชั่วโมงที่รัฐนั้นๆกำหนด


อย่างไรก็ตาม อันดับแรกที่แนะนำถ้าคุณมีปริญญาโทจากไทยก็คือ สมัครสอบเลย ถ้าทางรัฐวิเคราะห์ Transcript คุณแล้วให้สอบ นั่นก็แปลว่าสอบได้นั่นเอง


2. ชั่วโมงการฝึกหัดงาน 



credit รูป : http://wapakymca.org/index.php?src=gendocs&ref=HoursofOperation&category=aboutus




 คล้ายกับไทยที่สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดให้ ผู้สอบบัญชีไทยต้องมีการฝึกหัดงานด้านการสอบบัยชี อย่างน้อย 3 ปีและ 3,000 ชั่วโมง ในขณที่อเมริกา ก็มีการกำหนดเช่นกัน และต่างกันในแต่ละรัฐอีก แต่เท่าที่เคยอ่านมา จะน้อยกว่าที่ไทย โดยจะอยู่ที่ประมาณ 1,000hrs หรือประมาณ 1 ปีโดยต้องเป็นการทำงาน หรือฝึกงานโดยมีผู้สอบบัญชีที่อเมริกา กำกับ นั่นเอง


การที่จะหาที่ฝึกงานกับผู้สอบบัญชีในอเมริกาในแต่ละรัฐ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้าเราถือ ปริญญาจากไทย หรือแม้แต่มี CPA Thailand ไปด้วย เพราะปัจจัยที่มากกวก่านั้นคือ ความรู้ทางบัญชีและที่สำคัญคือภาษีในแต่ละรัฐที่ต่างจากไทยแน่นอน รวมถึง ระดับภาษา เพราะอาชีพนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้อง Contact กับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมทีม อยู่มากทีเดียว


การเลือกเรียนในระดับ University มหาลัย หรือ วิทยาลัย College ก็มีส่วนต่างในการได้รับงานต่อ โดยหลายๆบริษัทใหญ่ๆที่มีชื่อเสียง มักรับนิสิต นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยชั้นต้น ยิ่งเป็นมหาลัยในเมืองใหญ่ ยิ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมทำงานในบริษัทใหญ่ไปด้วยเป็นเงาตามตัว ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจไปเรียนต่อ หรือลงคอร์สเพิ่มเติมเพื่อเข้าสอบ CPA US คุณต้องตระหนักถึง จุดหมายปลายทางข้อนี้ด้วย


3.สอบ 4 วิชา 


credit รูป : http://www.universityex.com/buzz/prepping-up-for-cat-2016-last-minute-tips-to-ace-the-exam/



การสอบ CPA US จะตัดเกณฑ์ผ่านที่ 75% ในขณะที่ไทย ทางสภาวิชาชีพกำหนด 60% คือผ่าน แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูจากสถิติ (ผมจำ resourceไม่ได้นะ โทษทีครับ) อัตราการผ่านของไทย ยากกว่ามาก เทียบได้ประมาณ 1% ของนิสิตที่จบใหม่ในแต่ละปี


วิชาที่ใช้สอบมี 4 วิชาสำหรับ CPA US :
> Financial accounting : FAR 
เป็นการทดสอบเกี่ยวกับพวก มาตรฐานการบัญชี (คงคล้ายๆบัญชี 1 /2 ของไทย) โดยอิงจาก US GAAP/ IFRS โดยสอบ 4 ชั่วโมง มีทั้งช้อยท์ และเขียน


> Regulation : REG
มันคือวิชา ภาษี ดีๆนี่เองทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล (ก็คงเป็น กฏหมาย 1 /2 ของบ้านเรา) มีทั้งช้อยท์ และเขียน แต่วิชานี้สอบ 3 ชม เท่านั้น


>Auditing and attestation : AUD
ก็คือวิชาการสอบบัญชี รวมถึง จรรยาบัญด้วยนะ ก็เป็นวิชาที่ต้องอ่านและ ใช้ความรู้จากประสบการณ์ทำงานอยู่พอตัว มีทั้งช้อยท์ และเขียนเช่ยเดียวกัน


> Business : BEC
วิชานี้จะเน้น บัญชีต้นทุนรวมถึง ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจเช่น หุ้น หลักทรัพย์ เป็นช้่อยสะส่วนมาก (75-8-%) แต่การเขียนก็ต้องมีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามผมไม่มั่นใจ ไกด์ไล ในการเขียนวิชานี้นะครับ คุณอาจต้องถามเพื่อนร่วมขชั้น (ถ้าเรียนอยู่เมืองนอก) ว่าต้องเขียนอย่างไรเพราะ วิชานี้ใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจการเขียน (ถ้าเปลี่ยนแล้ว ก็แจ้งกันได้)





ดังนั้นจะเห็นว่า พื้นฐานวิชาการสอบ ไม่ได้ต่างไปจากของ ไทย เราเลยมีแค่วิชา  BEC ที่แยกออกมา (ไทยมี บัญชี กฏหมาย และสอบบัญชี ทั้งสิ้น 3 วิชา) แต่ผมมองว่าไอ้วิชา BEC มันก็ถูกซึมอยู่ในแต่ละวิชาของไทยพอสมควรอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว สำหรับพื้นฐานวิชา บัญชี และสอบบัญชี แต่คงต้อง อ่านเพิ่มเติมสำหรับกฏหมายของฝรั่ง และต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษกันมากๆ



4. การเก็บชั่วโมง ฝึกฝนความรู้ เมื่อเป็นผู้สอบบัญชีแล้ว


ทาง CPA US ก็มีการกำหนด ให้ผู้สอบบัญชี อเมริกา ต้องมีการ อัพเดท อบรม ความรู้ โดยกำหนดที่ 80 Hrs/ 2 years นะ ซึ่งก็เกือบๆ ค้ลายเรา เพราะทางสภาเราเพิ่งจะเพิ่มให้ CPA ไทยต้องอบรมที่ 40 ชั่วโมงต่อปี อย่างไรก็ตามขอยังไม่พูด ณ จุดนี้มาก เพราะมันคงเป็นเรื่อง .จิ้บๆ. ถ้าคุณสามารถสอบผ่าน CPA ทั้งสี่วิชาได้แล้ว




สรุปสิ่งที่อยากแนะนำ
+ ต้องเลือกสถาบัน หลักสูตรในการเรียนต่อ ทั้งปโท หรือเรียนเพื่อเก็บชั่วโมงเพื่อสอบ CPA US ดีๆ เพราะมีผลต่อการหางาน
+ ถ้าคุณแม่นหลักการบัญชี การสอบบัญชีที่ไทยไป ไม่ต้องกลัวเพราะ เนื้อหาที่เราเรียนๆกันโดยเฉพาะ นิสิตที่จบมาใหม่ๆ แทบจะเป็นเนื้อเดียวกันทั้งโลก (อิง IFRS) แต่ต้องเพิ่ม English skill ให้แน่น
+ CPA สหรัฐทำเงินได้ประมาณ 50k-300k USD / year นี่ก็น่าสนใจ แต่ CPA ไทยเราก็ใช่ว่าขะทำเงินได้น้อย ชั่งใจดีๆถ้ามองแค่เรื่องเงิน ว่าคุ้มมั้ย ใช่เป้าหมายเราหรือไม่
+ มีอีกหลายๆประเทศที่เคยเห็นผู้สอบบัญชี เป็นคนไทย เช่น ออสเตรเลีย ที่นิยมไปกัน
+ ถ้าคุณไปได้ ก็อย่าลืมกลับมาพัฒนาประเทศไทยเราด้วย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนะ




Link ที่แนะนำให้เข้าไปดู เช่น Qualification ของแต่ละรัฐ https://nasba.org/products/nasbainternationalevaluationservices


ขอให้โชคดีนะครับ
#WhollyHall
14 September 2017