6/4/60

Professional Judgement กับ Auditor


Professional Judgement กับ Auditor







ดุลยพินิจนั้นเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ มากๆ และ เพิ่มขึ้นมากอย่างเป็นสาระสำคัญในสายวิชาชีพบัญชี เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็น ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีก็ตาม


เราอาจเห็นได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีมีการพัฒนา และปรับใช้หลายฉบับที่อ้างอิงไปถึงสิ่งที่เรียกว่าดุลยพินิจ เช่น การเพิ่มขึ้นของการวัดมูลค่าจาก มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) หรือ การประยุกต์ใช้ Principles base มากกว่าก่อนที่เราใช้ Rule Base กันซะมาก


จึงมีคำถามต่อมาว่า (ผมก็เป็นคนนึงที่เคยสงสัย) ว่าอะไรคือ ดุลยพินิจที่ดี หรือมีตัวอย่างบ้างมั้ยว่า ฉัน ควรทำอย่างไรถึงให้อยู่ในกลุ่มนักบัญชีที่มี ดุลยพินิจเหมาะสม


ICAS ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการบัญชีของประเทศอังกฤษ แต่ปัจจุบันมีพนักงานอยู่ทั่วโลกราวๆ 20,000กว่าคน (ผมอ่านมาจาก google) ก็เคยออก Framework มาให้ นักบัญชีได้รู้ขอบเขต และรวมถึงยกตัวอย่าง แนวทางที่จะทำให้ เราๆท่านๆเข้าสู่ การมีดุลยภินิจที่เหมาะสม



ดุลยพินิจในด้านบัญชีนั้นมิใช่เพียงแค่ในมิติ ของผู้สอบบัญชีเท่านั้น แต่ใน FRamework นี้ยังรวมถึง Preparer & Regulator อีกด้วย




เท่าที่อ่านภาพรวมๆ มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง
> ทั้ง Preparer & Auditor ต้องมี Professional judgement ซึ่งคือการที่สามารถ "อธิบาย" ความเห็นต่อ กากระทำต่องบการเงินได้ โดยยืนอยู่บน หลักการบัญชี


> Regulator ควรมี Judgement โดยยึดข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่ใช่พวก ข้อมูลสีเทาที่ได้มาอย่างลับๆ


> ความรู้ และ ประสบการณ์ของ นักบัญชีมีผลต่อ Professional Judgement มาก


> .การมีคุณธรรม. ของนักบัญชี (Prepare/ Auditor/ Regulator) เป็นข้อกำหนดที่ต้องมีเป็นอย่างแรกของ Framework นี้


> ในเนื้อหายังกล่าวถึง Professional Skepticism (การสงสัยเยี่งผู้ประกอบวิชาชีพ) ถือเป็นส่วนสำคัญของ High Quality Audit



ในบทความยังแถมตัวอย่างการมี Judgement ที่ดีอีกด้วย (ตั้งแต่หน้า 11 ในลิงค์) ในรูปแบบ รูปธรรม เพราะสงสัยคงเข้าใจหัวอก นักบัญชี (โดยเฉาพะคนไทย) ว่าอะไรอะไร ที่อิงกับดุลยพินิจนั้น ฉัน มักไม่รู็จะเริ่มตรงไหนดี ....ลองอ่านกันได้ในลิงค์